Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6739
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบโครงงานเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการทำงานกลุ่ม และความตระหนักในการพึ่งตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Development of the project approach for mathematics instructional model to enhance learning process, group process and self reliance awareness of elementary education students
Authors: ลัดดา ภู่เกียรติ
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Email: ไม่มีข้อมูล
Suwatana.S@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
โครงงานคณิตศาสตร์
การพึ่งตนเอง
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ (2) สำรวจความต้องการของนักเรียนในการเรียนรู้และการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (3) สร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์แบบโครงงานเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ กระบวนการทำงานกลุ่มและความตระหนักในการพึ่งตนเองของนักเรียน และ (4) ศึกษาคุณภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์แบบโครงงาน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ (1) ระยะการวิจัยเชิงสำรวจสภาพปัญหา และความต้องการของครู จำนวน 475 คน และนักเรียน 578 คน (2) ระยะการสร้างและศึกษาคุณภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์แบบโครงงาน (3) ระยะการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบโครงงานเพื่อศึกษาประสิทธิผล โดยครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา จำนวน 11 คน เป็นผู้จัดกิจกรรมให้แก่กลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 364 คน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์มีความคิดเห็นว่าเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สำคัญในการสอนวิชาคณิตศาสตร์คือ เพื่อพัฒนานักเรียนให้สามารถ (1) คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น (2) นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และ (3) คิดคำนวณได้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในปัจจุบันมีความหลากหลายทั้ง (1) การทำงานกลุ่มเพื่อเรียนรู้แบบร่วมมือ (2) การอธิบาย ยกตัวอย่างบนกระดาน และ (3) การใช้เกม สำหรับด้านการวัดและประเมินผลเน้นการวัด (1) ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน (2) ทักษะการคิดคำนวณ และ (3) ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาโดยการใช้แบบทดสอบ การสังเกต ผลงาน แบบฝึกหัด การให้นักเรียนประเมินตนเอง และประเมินความก้าวหน้า ที่ผ่านมาครูรับรู้ว่าจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีความสำเร็จค่อนข้างสูงเพราะมีปัจจัยสำคัญคือ (1) ครูมีความเอาใจใส่ ตั้งใจ ช่วยเหลือและร่วมมือกับนักเรียนอย่างใกล้ชิดและจริงจัง(2) ครูใช้สื่อการสอน และ (3) ครูหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์มีทั้งที่เป็นปัญหานักเรียน ปัญหาครูและการบริหารจัดการคือ นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาไม่ได้เพราะอ่านหนังสือไม่ออกและขาดการฝึกฝน ครูยังสอนเน้นเนื้อหามากว่าเน้นผู้เรียนและยังขาดการใช้สื่อ อุปกรณ์และกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาระนามธรรมของคณิตศาสตร์ได้ง่าย ทั้งการบริหารจัดการของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ครูมีภาระงานอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นทำให้เวลาในการวางแผนเตรียมการสอนและสื่อการตรวจงานเพื่อพัฒนานักเรียนและการประเมินเพื่อปรับปรุงพัฒนาการสอนของตนเองลดลง ความต้องการที่สำคัญของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์คือให้มีการพัฒนาความรู้ ทักษะ และเทคนิคในการสอนให้แก่ครูโดยการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และเพิ่มหนังสือตำราและคู่มือให้ครูได้ศึกษาเข้าใจต้นแบบและพัฒนาตนเอง 2) นักเรียนมีความต้องการเรียนรู้ในเรื่องที่แปลกใหม่ ทั้งที่เป็นความรู้รอบตัว ปรากฏการณ์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์และความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี กิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนต้องการมากคือ การทัศนศึกษา การสำรวจชุมชน และการลงมือปฏิบัติ สิ่งที่นักเรียนต้องการให้ครูคณิตศาสตร์ทำมากที่สุดคือ (1) อธิบายให้เข้าใจชัดเจน และสอนวิธีเรียนลัด (2) จัดกิจกรรมสนุกแบบมีสาระ และ (3) ใจดี มีเหตุผลและเป็นกันเองกับนักเรียน 3) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์แบบโครงงานที่สร้างขึ้นมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้คือ (1) กระบวนการเรียนรู้ (2) กระบวนการทำงานกลุ่ม (3) ความตระหนักในการพึ่งตนเอง กระบวนการจัดกิจกรรมแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ (1) วางแผนปฏิบัติการ (2) ดำเนินงานตามแผนฯ และเรียนรู้ขณะปฏิบัติงาน (3) ประเมินผลงานและบทเรียน และ (4) นำเสนอผลงานและบทเรียน ในการดำเนินงาน 4 ระยะนี้ มีกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งหมด 12 กิจกรรม 4) ผลการทดลองใช้พบว่า รูปแบบมีประสิทธิผลคือ ครูทั้ง 11 คนสามารถวางแผนดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียน 364 คน ได้ในเวลา 1 เดือนตามแผนและเกิดผลงานคือ นักเรียนสามารถทำโครงงานตามที่นักเรียนสนใจจนสำเร็จได้จำนวนทั้งสิ้น 74 โครงงาน โครงงานที่นักเรียนทำมี 4 ประเภทคือ การสำรวจ การจัดการ การประดิษฐ์ และการทดลอง ผลการประเมินพัฒนาการของนักเรียนทั้งโดยตนเองและครูพบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทั้งด้านกระบวนการเรียนรู้กระบวนการทำงานกลุ่ม ความตระหนักในการพึ่งตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคุณครูทั้ง 11 คน พอใจกับประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและเห็นว่าทำได้ไม่ยาก และนักเรียนสนุกกับการเรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานและการทำงานของตนเอง คุณครูพอใจกับประสบการณ์การทำงานที่เป็นระบบเป็นทีม มีเครื่องมือในการวางแผน มีสื่อ มีแบบวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน และการจัดการเรียนการสอนของตนเองอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานในวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป
Other Abstract: The objectives of this study were (1) to survey state, problems and needs of teachers in Mathematics instruction management (2) to survey students, needs in learning and Mathematics learning (3) to construct a Mathematical instructional model using project learning for developing students learning process, group process and self reliance and (4) to study quality and effectiveness of the model. The research procedure was divided into 3 phases. Firstly, a survey study was conducted to assures state, problems and needs of 475 teachers and 578 students. Secondly, the model was constructed and studied its quality. Thirdly, the model was experimented by employing 11 Mathematics elementary teachers and 364 students. Research findings: 1) The Mathematics teachers perceived goals and learning outcomes of the Mathematics subjects were to develop students, ability (1) to think, to do and to solve problems (2) to apply knowledge in their daily lives and (3) to compute. There were a variety of Mathematics instructions such as (1) collaborative learning and working in-groups, (2) explaining example on the board and (3) using games. The measurement and evaluation emphasized on (1) content knowledge, (2) computational skills and (3) problem solving skills. The measurement instruments were tests, observations, students' reports, exercises and self-evaluation and formative evaluation. The teachers perceived that, students' learning achievement and attitude thought the Mathematics learning of the student were high. The factors affecting the success of the student were high. The factors affecting the success of the student were (1) teachers' attention and willingness to help students (2) using teaching media and (3) teacher's inquiring of new knowledge continuously. Problems in Mathematics instructional management covered student problems, teacher problems and management problems. The student problems were the inability to solve problems because of weakness in reading and lack of practice. Teacher problems were the emphasis on teaching content more than the learning process, and the lack of activities and media to help student understanding the abstractness Mathematics content. The school management had problems in managing teachers' work load. Consequently the teachers did not have enough time to plan lessons, to develop media, and to correct students' papers for formative evaluation. The Mathematics teachers needed to the increase their knowledge, skills and teaching techniques through training, field trips and studying new textbooks and teacher manuals. 2) Students needed to learn new things in the real life, natural phenomena, science and computer and technology. The students needed learning activities such as field trips, community survey and real practice. The students wanted the Mathematics teachers to (1) explain the content concretely (2) arrange fun activities in learning the Mathematics content and (3) be kind and reasonable. 3) The developed model aimed at 3 learning outcomes. They were to develop (1) learning process (2) group process and (3) self-reliance. The instructional process was divided into 4 phases. They were (1) planning an action plan (2) instructing according to the plan and learning while instructing (3) evaluating the outputs and lesson learn and (4) presenting outputs and lesson learn. The processes in the model, composed of 12 activities. 4) Results from the experiment indicated that the developed model was effectively. The 11 teachers were able to plan and conduct the instructional activities according to the model for the 364 students within 1 month of the plan. The students were able to develop 74 projects. The projects consisted of 4 types: survey, management, invention and experiment. The evaluation results indicated that the students progressed in their learning process, group process, self-reliance and learning achievement. Furthermore, the 11 teachers satisfied the good experience of running the activities. They thought that it's not difficult and the students enjoyed the learning experience and was proud of their working and results. Moreover, the teachers satisfied the good experience of working together in teams and the availability of the instrument and the planning of teaching material and evaluation for the students. The concrete system in planning doing and checking the instruction supports them to be able to continue the use of the model in the future.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6739
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladda(develo).pdf33.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.