Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6747
Title: | ประสิทธิผลของการสอนวิชา 418201 เทคโนโลยีการศึกษาด้วยระบบคู่สัญญา : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Effectiveness of the teaching of 418201 educational technology course with contract system |
Authors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง |
Email: | Onjaree.N@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | ระบบการเรียนการสอน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความรับผิดชอบ สัญญาการเรียน การพัฒนาการศึกษา นักศึกษา--ทัศนคติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เทคโนโลยีทางการศึกษา การเรียน การสอน |
Issue Date: | 2536 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลของการสอนวิชา 418201 เทคโนโลยีการศึกษาในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่เรียนด้วยระบบคู่สัญญา และความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อกระบวนการสอน และประสบการณ์ในการเรียนด้วยระบบคู่สัญญา (2) เปรียบเทียบองค์ประกอบดานภูมิหลังและลักษณะของนิสิตที่เลือกเรียนและไม่เลือกเรียนด้วยระบบคู่สัญญา และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตต่อระบบคู่สัญญา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตครุศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 418201 เทคโนโลยีการศึกษากลุ่มที่ 2 ในภาคต้น ปีการศึกษา 2535 จำนวน 75 คน ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นนิสิตที่สมัครใจเรียนด้วยระบบคู่สัญญา จำนวน 48 คน และกลุ่มที่สองเป็นนิสิตที่สมัครใจไม่เรียนด้วยระบบคู่สัญญา จำนวน 27 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test z] ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตที่เรียนด้วยระบบคู่สัญญา ทำสัญญาระบุว่าต้องการเกระ A จำนวน 46 คน ต้องการเกรด B จำนวน 2 คน และมีนิสิต จำนวน 23 คน (ร้อยละ 47.92) ได้เกรดตามสัญญา และมีนิสิต จำนวน 25 คน (ร้อยละ 52.08) ไม่ได้เกรดตามสัญญา 2. นิสิตมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบคู่สัญญาในระดับมาก 6 เรื่อง 3 อันดับแรก คือ (1) การให้โอกาสตัดสินใจเลือกเรียนด้วยระบบคู่สัญญาหรือวิธีปกติ (mean = 4.05) (2) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเรียนด้วยระบบคู่สัญญา (mean = 4.00) และ (3) การให้เวลาตัดสินใจก่อนเซ็นสัญญา (mean = 3.79) 3. นิสิตที่เรียนด้วยระบบคู่สัญญาและไม่เรียนด้วยระบบคู่สัญญามีองค์ประกอบด้านภูมิหลังใกล้เคียงกัน ทั้งเพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสม และความสนใจ นิสิตที่เรียนด้วยระบบคู่สัญญาเป็นนิสิตวิชาเอกดนตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.50 ขณะที่นิสิตไม่เรียนด้วยระบบคู่สัญญา เป็นนิสิตวิชาเอกอังกฤษ และฝรั่งเศส มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 25.93 4. นิสิตกลุ่มที่เรียนด้วยระบบคู่สัญญามีลักษณะที่แสดงถึงความรับผิดชอบในระดับมาก รวม 26 ลักษณะ นิสิตกลุ่มที่ไม่เรียนด้วยระบบคู่สัญญา มีลักษณะที่แสดงถึงความรับผิดชอบ รวม 13 ลักษณะ จากลักษณะความรับผิดชอบ 41 ลักษณะ พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะความรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ รวม 13 ลักษณะ 5. นิสิตทั้ง 2 กลุ่ม มีแบบการเรียนแบบอเนกมัยมากที่สุด (ร้อยละ 33.33 และร้อยละ 37.04) จากลักษณะการเรียนรู้ 32 ลักษณะ พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญรวม 9 ลักษณะ 6. นิสิต จำนวน 43 คน (ร้อยละ 91.49) บอกว่าระบบคู่สัญญาดี เพราะระบบคู่สัญญาทำให้ความกระตือรือร้นสนใจในการเรียนวิชานี้มากขึ้นเพื่อทำตามสัญญาที่ให้ไว้และเป็นการบังคับตนเอง ทำให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น และนิสิต จำนวน 38 คน (ร้อยละ 80.85) บอกว่าเมื่อมีโอกาสจะเลือกเรียนด้วยระบบคู่สัญญาอีก |
Other Abstract: | The purposes of this research were to (1) study effectiveness of the teaching of 418201 Educational Technology Course through learning achievement of students learning with contract system and satisfaction of students upon teaching process and experiences of learning with contract system (2) compare characteristics of students learning with contract system and without contract system and (3) obtain students' opinions concerning contract system. The samples were 75 second-year-undergraduate students of the Faculty of Education registered in 418201 Educational Technology Course, group two, in the second semester of 1992 academic year. The subjects were divided into two groups. The first group consisted of 48 students preferred to study with contract system and the second group consisted of 27 students preferred to study without contract system. The collect data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. The results revealed that: 1. Forty-six students learned with contract system preferred Grade A and two students preferred Grade B. Twenty-three (47.92%) of the students gained preferable grade and twenty-five (52.08%) of the students did not gain the preferred grade. 2. The students highly satisfied teaching process with contract system in six items. The first three items were (1) an opportunity to choose to learn with or without contract system (mean = 4.05) (2) contract system made a change (mean = 4.00) and (3) a sufficient time to make a choice to sign contract (mean = 3.79). 3. The students in both groups were similar in gender, age, GPAX, and interests. The students in contract system group were mostly Music Education major students (37.50%) and the other group were English and French major students (25.93%). 4. The students in contract system group had 26 responsibility characteristics in higher level and the students without contract system group had 13 characteristics. The two groups differed significantly in their characteristics on 13 of the 41 areas of responsibility. 5. Most students in both groups had divergent learning style (33.33% and 37.04%). Nine out of 32 learning characteristics were significantly different between the two groups. 6. Forty-three (91.49%) of the students indicated that contract system maintain their learning interests, control, and responsibility throughout the course. Thirty-eight (80.85%) of the students had a tendency to choose to study with contact system whenever possible. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6747 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Onjaree(eff).pdf | 10.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.