Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67691
Title: Mutation and functional analysis of the thyroid hormone receptor β gene in thai families with resistance to thyroid hormone
Other Titles: การตรวจสอบการกลายพันธุ์และการทำหน้าที่ของยีน thyroid hormone receptor β ในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรค resistance to thyroid hormone
Authors: Sarai Pongjantarasatian
Advisors: Kanya Suphapeetiporn
Vorasuk Shotelersuk
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Subjects: Thyroid hormone receptors beta
Thyroid hormone resistance syndrome
Issue Date: 2008
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Resistance to thyroid hormones (RTH) is an autosomal dominant inherited syndrome characterized by a variable degree of reduced tissue sensitivity to thyroid hormone (TH) resulting in elevated serum TH levels, inappropriately normal or elevated serum thyroid stimulating hormone (TSH) levels, and a goiter. It is caused by mutations in the thyroid hormone receptor (TR) β gene. Most mutations resulted in either a decreased T3 binding activity or impaired interaction with one of the cofactors involved in the mediation of TH action. In addition, the mutant TRβ molecules interfere with the function of the normal TRβ, a phenomenon called dominant negative effect (DNE). We described a de novo mutation in a Thai patient with RTH who had a heterozygous missense mutation in exon 9 of the TRβ gene, resulting in a methionine to threonine substitution at codon 313 (p.M313T). This mutation has been previously reported in other populations but never been investigated for its functional significance. We further explored functional properties of this de novo mutant TRβ and compared with other uncharacterized known mutations (I276L, I280S, L330S, G344A, M442T) by using the luciferase reporter gene assay. All except the I276L and G344A had a significant impairment of T3-dependent transactivation activity. In addition, all exhibited a dominant negative effect in the presence of 10-7 M of T3. These findings provide a strong support that interfering with the T3-mediated transcriptional activation of the wild-type TRβ is a major mechanism causing RTH.
Other Abstract: โรคอาร์ทีเอชเป็นโรคที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมในลักษณะเด่นเป็นภาวะที่ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อเป้าหมายต่างๆ ที่มีต่อไทรอยด์ฮอร์โมนลดลง ผู้ป่วยที่เป็นโรคอาร์ทีเอชพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของไทรอยด์ฮอร์โมน ในขณะที่ปริมาณของ thyroid stimulating hormone (TSH) ในซีรั่มอยู่ในระดับปกติหรืออาจมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและมีคอโตร่วมด้วย การกลายพันธุ์ของยีนทีอาร์เบต้าซึ่งมีหน้าที่สร้างตัวรับไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอาร์ทีเอช โดยการกลายพันธุ์ที่พบส่วนใหญ่จะส่งผลทำให้ตัวรับไทรอยด์ฮอร์โมน มีความสามารถในการจับไทรอยด์ฮอร์โมนลดลงหรือสูญเสียความสามารถในการจับกับโปรตีน cofactor ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกลไกการควบคุมการแสดงออกของยีนเป้าหมายโดยไทรอยด์ฮอร์โมน นอกจากนี้ ทีอาร์เบต้าที่ทำหน้าที่ผิดปกตินี้สามารถที่จะไปรบกวนการทำงานของทีอาร์เบต้าที่ปกติได้ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ เรียกว่า dominant negative effect (DNE) ในงานวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยได้รายงานการกลายพันธุ์ที่พบในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคอาร์ทีเอช โดยพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเบสไป 1 อัลลีลในบริเวณ exon 9 ของยีนทีอาร์เบต้าส่งผลให้มีการเปลี่ยนกรดอะมิโนจากเมไทโอนีนไปเป็นทรีโอนีนที่ตำแหน่ง 313 (p.M313T) การกลายพันธุ์นี้พบเฉพาะในผู้ป่วย (de novo) การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งดังกล่าวนี้ได้มีรายงานการกลายพันธุ์มาก่อนหน้านี้ในผู้ป่วยกลุ่มประชากรอื่น แต่ยังไม่ได้ทำการศึกษาถึงการกลายพันธุ์ว่าสามารถทำให้เกิดโรค RTH ได้จริง ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้นำการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง p.M313T มาศึกษาถึงผลของการกลายพันธุ์ต่อการทำงานของนทีอาร์เบต้า ร่วมกับการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งอื่นอีก 5 แบบ (I276L, I280S, L330S, G344A, M442T) ซึ่งมีการรายงานมาก่อนแล้ว แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงผลของการกลายพันธุ์ โดยใช้ luciferase reporter system ทำหน้าที่เป็นตัวรายงานผลของการทำงานของทีอาร์เบต้าดังกล่าว จากการทดสอบการทำงานพบว่า การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งต่างๆ (ยกเว้นการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง I276L และ G344A) มีผลทำให้เกิดการกระตุ้นการแสดงออกของยีนเป้าหมายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การกลายพันธุ์ที่นำมาศึกษาในการทดลองครั้งนี้สามารถยับยั้งการทำงานของทีอาร์เบต้าที่ปกติได้ในสภาวะที่มีความเข้มข้นของไทรอยด์ฮอร์โมนที่ 10-7M จากผลการทดลองนี้ แสดงให้เห็นว่ากลไกการเกิด dominant negative effect เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดโรค RTH
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2008
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67691
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarai_po_front_p.pdf942.61 kBAdobe PDFView/Open
Sarai_po_ch1_p.pdf847.95 kBAdobe PDFView/Open
Sarai_po_ch2_p.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Sarai_po_ch3_p.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Sarai_po_ch4_p.pdf941.6 kBAdobe PDFView/Open
Sarai_po_ch5_p.pdf750.58 kBAdobe PDFView/Open
Sarai_po_back_p.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.