Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6770
Title: ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และการตรวจเต้านมด้วยตนเองของพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
Other Titles: Knowledge, attitude regarding breast caner and breast-self examination of nurses in King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: สุวภัทร ลี้พูลทรัพย์
Advisors: อานนท์ วรยิ่งยง
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Arnond.V@Chula.ac.th, varnond@netserv.chula.ac.th
Wiroj.J@Chula.ac.th, wjiamjar@hotmail.com
Subjects: เต้านม -- มะเร็ง
เต้านม -- การตรวจ
พยาบาล
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และพบว่าเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสตรีที่เป็นมะเร็งทั่วโลก การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม กับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพหญิงที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทั้งหมด โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ช่วงเวลาเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548-มกราคม 2549 ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลส่วนใหญ่มีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง คิดเป็น 92.8% โดยผู้ที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน 42.7% สาเหตุของผู้ที่ไม่ตรวจเต้านมด้วยตนเองส่วนใหญ่เพราะคิดว่าไม่มีความผิดปกติของเต้านม 73.6% แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจคัดกรอง ส่วนใหญ่ได้รับจากการเรียนการสอนในวิชาเรียน ระดับปริญญาและปริญญาโทด้านการพยาบาล รองลงมาคือ โปสเตอร์/แผ่นพับ ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับโรงมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็น 71.8% และ 66.7% ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ระดับความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (P>0.05) ระดับทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P<0.05) และระดับความรู้มีความสัมพันธ์กับระดับทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้พบว่า ช่วงอายุมีความสัมพันธ์ต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่สถานภาพสมรสและแผนกที่ทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จากผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และทัศนคติในทางบวกเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และการตรวจเต้านมด้วยตนเองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และแหล่งความรู้นั้นส่วนใหญ่ได้จากการเรียนการสอนในวิชาเรียน ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้ในด้านสุขภาพควรเริ่มตั้งแต่ในวัยเรียน และเน้นในด้านของทักษะการตรวจเต้านมอย่างถูกต้อง
Other Abstract: Breast cancer is a common public health problem. It's the highest leading cause of global cancer death among women. The study is cross-sectional descriptive design aimed at studying the relationship between the various social background, knowledge, attitude regarding breast cancer and breast-self examination behavior. The samples consisted of all nurses in King Chulalongkorn Memorial Hospital. Data were collected by a structured questionnaires developed by the researcher between December 2005-January 2006. Frequency, percentage, arithmetic mean and chi-square test were used in data analysis. The result of the study revealed that majority of nurses practiced breast-self examination (BSE) (92.8%) but only 42.7% practice regularly on monthly basis. The major reason for not practicing BSE was no abnormal feeling on breast (73.6%). Most of nurses had received the information about BSE from their nurse class and poster/brochure. The majority of the nurses had moderate level of knowledge and attitude about breastcancer and breast screening. The study showed that there was significant relationships between knowledge, BSE practice and attitude (P<0.05). Age was also statistically associated with BSE practice. However, there was no relationship between marital status, work area and BSE practice. Knowledge and attitude about breast cancer and breast screening were related to BSE practice, and main source of information about BSE was from the nurse class. Creating awareness about health and proper BSE practice among nurses should thus start since their years in the nurse class.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6770
ISBN: 9741422318
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwapat_Le.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.