Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67906
Title: | วิวัฒนาการของการสอนซอด้วง |
Other Titles: | Development of teaching Saw Duang |
Authors: | ธวัช ศรีศุภจินดารัตน์ |
Advisors: | ขำคม พรประสิทธิ์ |
Advisor's Email: | Kumkom.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ซอด้วง -- การศึกษาและการสอน ครูดนตรี -- ไทย เครื่องสาย -- ไทย Sō̜ dūang -- Study and teaching -- Thailand Bowed stringed instruments -- Study and teaching -- Thailand Music teachers -- Thailand |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยวิวัฒนาการของการสอนซอด้วง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสอนซอด้วงของศิลปินต้นแบบทั้ง 3 ท่าน ศึกษาท่านั่ง ท่าจับซอด้วง การเตรียมเครื่องดนตรีก่อนการบรรเลง การสอนสีสายเปล่าซอด้วง การไล่เสียงซอด้วงและศึกษาบทเพลงสำหรับฝึกหัดสีซอด้วง อาจารย์เบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ ท่านั่งบรรเลงนั่งพับเพียบทางด้านซ้ายซึ่งมีผลต่อระดับซอและคันชัก ตำแหน่งการวางซอด้วงจะวางบนต้นขาเพื่อจะได้เสียงที่ดังกังวานใส มือซ้ายที่จับคันซอด้วงจับไม่ต้องเกร็งเพื่อจะได้ไม่เมื่อยล้า ส่วนมือขวาที่จับคันชักใช้นิ้วนางรั้งหางม้าไว้ เมื่อบรรเลงเพลงเร็วๆ คันชักจะไม่หลุดจากมือ การตั้งเสียงจะตั้งเสียงสายทุ้มก่อนแล้วจึงตั้งเสียงสายเอก หย่องซอใช้ก้านไม้ขีดไฟ การหัดสีสายเปล่าให้หัดสีสายทุ้มคันชักออก สายเอกคันชักเข้า การหัดไล่เสียงต้องไล่เสียงสายเปล่าสายทุ้มจนถึงเสียงตัวลาสายเอกครบทั้ง 9 เสียง บทเพลงที่สอนใช้เพลงโหมโรงไอยเรศ อาจารย์เฉลิม ม่วงแพรศรี เริ่มมีการใช้การวิเคราะห์ผลการเรียนการสอน ท่านั่งบรรเลงมีท่านั่งพับเพียบขวาและท่านั่งขัดสมาธิ ตำแหน่งการวางซอจะวางบนต้นขาเพื่อจะได้เสียงซอที่ดังกังวานใส มือที่จับคันซอด้วงแน่นจะทำให้มือไม่ไหลลงมาทำให้เสียงซอเพี้ยน ส่วนมือที่จับคันชักซึ่งจับแน่นเกินไปทำให้ข้อมือขาดความคล่องตัว การตั้งเสียงจะตั้งเสียงสายทุ้มก่อนแล้วจึงตั้งเสียงสายเอก หย่องซอใช้ไม้ไผ่ตัดให้ได้ขนาด การหัดสีสายเปล่าให้หัดสีสายทุ้มอย่างเดียวก่อน การหัดไล่เสียงให้ฝึกไล่เสียงทีละสายเริ่มจากสายทุ้มก่อน บทเพลงที่สอนเป็นบทเพลงสั้นๆ ลูกทำนองห่างๆ และมีวรรคที่มีทำนองซ้ำกัน อาจารย์วรยศ ศุขสายชล มีการใช้การวิเคราะห์ผลจากการเรียนการสอนเต็มรูปแบบ และมีการนำเอารูปแบบการสอนดนตรีสากลมาประยุกต์ใช้ในการสอนดนตรีไทยด้วย ท่านั่งบรรเลงมีท่านั่งพับเพียบซ้ายและท่านั่งเก้าอี้ ตำแหน่งการวางซอจะวางบริเวณช่วงต่ำกว่าเอวหรือบนต้นขาก็ได้ตามความถนัดของผู้เรียน ส่วนมือที่จับคันทวนซอและคันชักจับแบบไม่เกร็งเป็นธรรมชาติจะทำให้เล่นดนตรีได้นานไม่เกิดความเมื่อยล้า การตั้งเสียงจะตั้งเสียงสายเอกก่อนแล้วจึงตั้งเสียงสายทุ้ม หย่องซอใช้ไม้เนื้ออ่อนที่เล็บจิกเป็นรอยได้ การหัดสีสายเปล่าให้หัดสีสายใดก่อนก็ได้ทีละสาย การหัดไล่เสียงต้องไล่เสียงสายเปล่าสายทุ้มจนถึงเสียงตัวซอลสายเอก รวม 8 เสียง บทเพลงที่สอนเป็นบทเพลงสั้นๆ ที่คุ้นหูผู้เรียนและในบทเพลงต้องไม่มีเสียงตัวลาสายเอก |
Other Abstract: | The objective of this research is to study the teaching methods of saw-duang by three highly-regarded artists. The research scope deals with sitting positions, ways of holding saw-duang, and instrument preparations before playing. First, the research findings show that teaching methods by Ajarn Benjarong are as follows: the sitting position is on the floor, folding the legs to the left. the saw-duang is placed on the upper part of the left thigh in order to make the projection of the sound loud and clear. The hands holding the saw-duang must be at ease. This prevents them from aching. The thumb of the hand that holds the bow must seize the horsehair to prevent it from slipping out. As for tuning, the second string is tuned first. A matchstick is used as the bridge. As for scale practice, drawing the bow on the second string, which has four tones, is practiced first and is followed by the first string which has five tones. The song usually used in teaching is "Aiyaret Overture". Secondly, teaching methods by Ajarn Chalerm, who started analyzing the results of teaching and learning, are as follows: a player may be seated on the floor either with cross-legged or with legs folded to the right side position. The saw-duang must be held firmly to prevent the hands from sliding down and causing incorrect tunes. As for tuning, the second string is tuned first, followed by the first string. A piece of bamboo is used as the bridge. Scale practice begins with the second string and then the first string. Songs used in teaching are short songs that usually showed repetitions of the melodies. Thirdly, as for Ajarn Worayot, not only has he taken the results of his teaching and his students' learning into account for his teaching development, he has also applied teaching methods of Western music to the teaching of Thai classical music. According to him, a student may sit on the floor folding the legs to the left or sit on a chair. The saw-duang may be placed on the thigh or on the knee. The body and the bow should be held in a comfortable way. The first string is tuned first and is followed by the second string. Scale practice is done on every pitch except "la" of the first string. Songs that the student is accustomed to and that do not have the "la" pitch of the first string are used for e'tude |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67906 |
ISBN: | 9745324329 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tawat_sr_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 896.71 kB | Adobe PDF | View/Open |
Tawat_sr_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 921.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Tawat_sr_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 5.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tawat_sr_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tawat_sr_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Tawat_sr_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 806.9 kB | Adobe PDF | View/Open |
Tawat_sr_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.