Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6807
Title: | การวิเคราะห์เนื้อเรื่องจากแบบรับฟ้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | A content analysis of complaint forms completed by second graders of Chulalongkorn University Demonstration School |
Authors: | สุปราณี จิราณรงค์ |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) |
Subjects: | การวิเคราะห์เนื้อหา ภาษาไทย -- การใช้ภาษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) -- นักเรียน การฟ้อง |
Issue Date: | 2537 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความถี่ของพฤติกรรมในการใช้แบบรับฟ้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปัที่ 2 2. เพื่อวิเคราะห์เนื้อหารสาระจากแบบรับฟ้องที่นักเรียนบันทึก 3. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาไทยของนักเรียนจากการบันทึกพฤติกรรมลงในแบบรับฟ้อง 4. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้แบบรับฟ้องในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หนึ่งห้องเรียน จำนวน 39 คน ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนชาย 21 คนและนักเรียนหญิง 18 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินไปตลอดภาคปลายของปีการศึกษา 2534 โดยให้นักเรียนบันทึการฟ้องลงในแบบรับฟ้องที่จัดไว้ให้ นอกจากนี้ยังได้สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้แบบรับฟ้องในชั้นเรียน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย ผลการวิจัยมีข้อสรุป ดังนี้ 1. ในด้านความถี่ของพฤติกรรมในการใช้แบบรับฟ้อง 1.1 ความถี่ของพฤติกรรมการฟ้องในแต่ละสัปดาห์ตลอดช่วง 16 สัปดาห์ อยู่ในช่วง 11 ถึง 88 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยมีความถี่ของการฟ้อง ประมาณ 40 ครั้งต่อสัปดาห์ 1.2 ความถี่ของพฤติกรรมการฟ้องในช่วง 8 สัปดาห์แรก มีการแปรผันมากกว่ 8 สัปดาห์หลัง 1.3 ความถี่การฟ้องของนกเรียนชายและนักเรียนหญิงมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน 2. ในด้านเนื้อหาสาระของการฟ้อง 2.1 สาระที่ฟ้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเพื่อนมากกว่าเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง 2.2 สาระที่ฟ้องเกี่ยวกับตนเอง นักเรียนฟ้องในเรื่องเกี่ยวกับถูกเพื่อนทำร้ายร่างกายมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การถูกเพื่อนแกล้งด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การทำร้ายร่างกาน การถูกเพื่อนใช้วาจาว่ากล่าวและการถูกเพื่อนทำกับสิ่งของ 2.3 สาระที่ฟ้องเกี่ยวกับเพื่อน นักเรียนฟอ้งในเรื่องของพฤติกรรมของเพื่อนโดยทั่ว ๆ ไปมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การถูกเพื่อนทำร้ายร่างกาย การถูกเพื่อนแกล้งด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การทำร้ายร่างกาย การถูกเพื่อนทำกับสิ่งของและการถูกเพื่อนใช้วาจาว่ากล่าว 3. ในด้านลักษณะข้อผิดพลายของการใช้ภาษาไทย 3.1 นักเรียนมีข้อผิดพลาดเรื่องการแต่งประโยคมากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องการสะกดการัตน์ เรื่องการใช้คำและเรื่องการเว้นวรรคตอน 3.2 ในเรื่องของการแต่งประโยค นักเรียนมีข้อหิดพลาดเรื่องการขาดคำ และกลุ่มคำที่จำเป็นในประโยคมากที่สุด รองลงมาคือ เรืาองมีคำและกลุ่มคำเกินในประโยคและเรียงคำหรือกล่มคำผิดลำดับ 3.3 ในเรื่องการสะกดการันต์ รักเรียนมีข้อผิดพลานเรื่องการใช้พยัญชนะต้นผิดมากทีสุด รองลงมาคือ ใช้วรรณยุกต์ผิด ใช้สระผิด เขียนผิดทั้งคำ ใช้ตัวสะกดผิดและใช้ตัวการันต์ผิด 3.4 ในเรื่องการใช้คำ นักเรียนมีข้อผิดพลาดเรื่องการใช้คำผิดความหมายมากที่สุด รองลงมาคือใช้คำฟุ่มเฟือยและใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน 3.5 ในเรื่องการเว้นวรรคตอน นักเรียนมีข้อผิดพลาดเรื่องการเว้นวรรค ในที่ไม่ควรเว้นมากที่สุด รองลงมา คือ การไม่เว้นวรรคในที่ควรเว้น 4. ในด้านความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้แบบรับฟ้อง นักเรียนส่วนใหญ่ (97%) เป็นด้วยกับการใช้แบบรับฟ้องช่วยในการบริหารชั้นเรียนเพราะทำให้ครูได้ทราบพฤติกรรมของนักเรียนทั้งห้องในเวลาและสถานที่ต่าง ๆ กัน |
Other Abstract: | The objectives of this research were as follows: 1. to studt the frequency of using complint forms; 2. to analyse the content of the complaint forms completed by the students; 3. to analyse Thai language errors made by each student in recording student behavior on the forms; 4. to study the students' opinions on the use of complaint forms in the classroom. The sample were a class of 39 second graders, consisting of 21 boys and 18 girls. Data were collected from complaint forms completed by the students in the second semester of the 1991 school year. The students' opinions on the use of complaint forms in the classroom were also collected. Content analysis and descriptive statistics were used in analyzing the data. The findings as follows: 1. As regards to the frequency of using the complaints forms. 1.1 Over a 16-week period, the frequency of complaining behaviour ranged from 11 to 88 times a week, with an average of 40 times a week. 1.2 The frequency of complaining during the first eight weeks varied morethan that during the last eight weeks. 1.3 The boys' complaining frequency was comparable to the girls. 2. As regards to content of the complaints. 2.1 The content of the complaints was more related to their classroom than to the students themselves. 2.2 As for complaints related to the students themselves, they were mostly related to physical attacks by classmates, followed respectively by bullying in ways other than physical attacks, verbal abuse and damage to personal belongings. 2.3 As for complaints related to classmates, they were mostly about classmates' behaviour in general, followed respectively by physical attacks, bullying in ways other than physical attacks, damage to personal belongings and verbal abuse. 3. O errors in the use of Thai. 3.1 The majority of errors involved syntax, followed respectively by error in spelling, word usage and spacing. 3.2 On syntax, errors mostly involved omissionn of words essential to the grammaticality of sentences. They were followed respectively by errors involving superfluous words and wrong word order. 3.3 On spelling, errors mostly involved incorrect use of syllable-initial consonants. They were followed respectively by incorrect use of tone marks and vowels, misspelling of entire words and incorrect use of syllable-final and muted syllable-final consonants. 3.4 There were instances of wrong words, superfluous words and use of a colloquil style in writing. 3.5 On spcacing, students world out put a space where no space should be put, and world, conversely, fail to put a space where one was required. 4 As for the students' opinions on th ecomplaint forms, most (97%) agreed with the use of complaint forms to help with classroom management, as the teacher would be informed of the entire class's behaviour at different times and different places. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6807 |
ISBN: | 9746335073 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supranee(cont).pdf | 13.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.