Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6818
Title: | การเปรียบเทียบการใช้ตัวเลขเพื่อระบุจำนวนเมื่อมีสิ่งเร้าต่างกันและความเร็วในการเขียนเลขไทยและเลขอารบิค : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | A comparison of numeral usage to indicate numbers under different stimulus conditions and of speeds in writing Thai and Arabic numerals |
Authors: | อัจฉรา ชีวพันธ์ ศิริมาส ไทยวัฒนา |
Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | ตัวเลข |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการใช้ตัวเลขเพื่อระบุจำนวนเมื่อมีสิ่งเร้าต่างกันและความเร็วในการเขียนเลขไทยและเลขอารบิค สมมติฐานในการวิจัย คือ การใช้ตัวเลขในการระบุจำนวนมีความแตกต่างกันเมื่อมีสิ่งเร้าต่างกัน และความเร็วในการเขียนเลขไทยและเลขอารบิคแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 180 คน ซึ่งสุ่มมาจากโรงเรียนประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) โรงเรียนพญาไท โรงเรียนวัดยานนาวา โรงเรียนสตรีจุลนาค โรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล และโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ ในการทดสอบครั้งที่ 1 ผู้ทำการทดสอบให้ผู้รับการทดสอบในแต่ละโรงเรียนเข้ารับการทดสอบพร้อมกันทั้ง 30 คน ทำการทดสอบแบบทดสอบ 3 ชุด คือ แบบทดสอบการเติมตัวเลขโดยเสรี 1 ชุด ใช้ เร้าด้วยเลขไทย 1 ชุด และใช้เร้าด้วยเลขอารบิค 1 ชุด ส่วนในการทดสอบครั้งที่ 2 ผู้ทำการทดสอบให้ผู้รับการทดสอบเข้ารับการทดสอบทีละคน เพื่อทดสอบความเร็วในการเขียนเลขไทยและเลขอารบิค ตั้งแต่ศูนย์ถึงเก้า โดยที่แต่ละจำนวนให้เขียนภายในเวลา 20 วินาที หลังจากที่ผู้รับการทดสอบเสร็จสิ้นการทดสอบครั้งที่สองนี้แล้วผู้ทำการทดสอบให้ผู้รับการทดสอบตอบแบบสอบถามอีก 1 ชุด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ผู้รับการทดสอบใช้ตัวเลขอารบิคในการระบุจำนวนมากกว่าเลขไทยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (2) ผู้รับการทดสอบใช้ตัวเลขอารบิคในการระบุจำนวนในแบบทดสอบทั้ง 3 ชุดนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (3) ผู้รับการทดสอบใช้เลขอารบิคเพื่อระบุจำนวนในแบบทดสอบที่เร้าเสรีมากที่สุดคือ มากกว่าในแบบทดสอบที่เร้าด้วยเลขไทยและมากกว่าในแบบทดสอบที่เร้าด้วยเลขอารบิคอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (4) ผู้ทำการทดสอบใช้เลขอารบิคเพื่อระบุจำนวนในแบบทดสอบที่เร้าด้วยเลขไทยน้อยกว่าการใช้เลขอารบิคเพื่อระบุจำนวนในแบบทดสอบที่เร้าด้วยเลขอารบิคอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (5) ผู้รับการทดสอบมีคะแนนการเขียนเลขไทยและเลขอารบิคตั้งแต่หนึ่งถึงเก้าแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .001 ส่วนเลขศูนย์ไทยกับเลขศูนย์อารบิคไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .001 (6) ผู้รับการทดสอบมีคะแนนเฉลี่ยของการเขียน เลขไทยตั้งแต่ศูนย์ถึงเก้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และคะแนนเฉลี่ยของการเขียนเลขอารบิคตั้งแต่ศูนย์ถึงเก้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เช่นกัน |
Other Abstract: | The purposes of the present research were to compare usages of numeral to indicate number under different stimulus conditions and to compare speeds in writing Thai and Arabic Numerals. There were two hypotheses for this research. The first hypothesis was that the numeral usages varied with different stimulus conditions. The second hypothesis was that speeds in writing Thai and Arabic numerals were different. The samples for this study were different. The sample for this study were 180 fourth grade pupils from six primary schools located in Bangkok. They were Chulalongkorn University Demonstration School (Elementary), Phya Thai School, Wat Yannawa School, Stree Chulanak School, Saint Gabriel School, and Saint Joseph Convent School. For the first test 30 subjects from each school were tested together. All of them had to do 3 activities. They were to fill in the blanks, first, with numerals freely. Then, with Thai numerals as stimuli, and finally, with Arabic numerals as stimuli. In the second test the subjects were tested individually. They were to write Thai numerals (๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙) and Arabic numerals (1 2 3 4 5 6 7 8 9) one numeral at a time for as long as 20 seconds. After finishing the tests, the subjects answered a guestionaire. The results of the tests were as follows : (1) For indicating number the subjects used Arabic numerals significantly more often than Thai numerals (p<.01) (2) The subjects’ use of Arabic numerals to indicate number in the three tests were significantly different (p<.01). (3) The subjects used Arabic numerals in the free-fill condition significantly more often than in the Thai – numerals – as – stimuli condition and the Arabic-numerals – as –stimuli condition. The subjects used Arabic numerals to indicate number in the Thai – numerals – as – stimuli condition significantly less often than in the Arabic – numerals – as – stimuli condition (p<.01) (5) The speed in writing Thai numerals from one to nine one at a time was significantly slower than that of Arabic numerals (p<.001) (6) There was no significant difference, however, between speeds in writing Thai zeroes and Arabic zeroes (p>.01). The speeds in writing different Thai numerals, from zero to nine, as well as different Arabic numerals, from zero to nine, were significantly different (p<.01). |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6818 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Achara(nume).pdf | 5.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.