Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68344
Title: การใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตของนักศึกษา อาจารย์ และผู้บริหารสถาบันราชภัฎอุดรธานี
Other Titles: Uses of internet by students instructors and administrators of Rajabhat Institute Udon Thani
Authors: เสกสรร สายสีสด
Advisors: ณรงค์ ขำวิจิตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตในการศึกษา
ความพอใจ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตของนักศึกษา อาจารย์ และ ผู้บริหารสถาบันราชภัฏอุดรธานี เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการ สอน เพื่อศึกษาข้อจำกัด ปัญหาอุปสรรคในการแสวงหาประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตของนักศึกษา อาจารย์ และ ผู้บริหาร สถาบัน'ราชบัฏอุดรธานี เพื่อเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตของนักศึกษา อาจารย์ และ ผู้บริหาร โดยการสำรวจประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา จำนวน 361 คน อาจารย์ 78 คน และผู้บริหาร จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในด้านสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองและ ประหยัดเวลาในการค้นคว้ามากที่สุด อาจารย์ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้านฐานข้อมลทางการศึกษาที่กว้างขวางและหลากหลายมากที่สุด ส่วนผู้บริหารใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้านการใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้และศึกษาด้วยตนเองมากที่สุด ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการใช้พบว่านักศึกษามีปัญหาด้านจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอินเทอร์เน็ตมีใช้ไม่เพียงพอมากที่สุด สำหรับอาจารย์เห็นว่าสภาพปัญหาในการใช้อินเทอร์เน็ตคือ ไม่สามารถเข้าใช้ระบบอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลามากที่สุด ผู้บริหารเห็นว่าสภาพปัญหาด้านไม่สามารถ เข้าใช้ระบบอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลามากที่สุด ส่วนข้อเสนอแนะพบว่านักศึกษามีข้อเสนอด้านการเพิ่มเครื่อง คอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้อย่างสะดวกมากที่สุด อาจารย์มีข้อเสนอแนะและความต้องการในระดับมากที่สุดเกี่ยวกับเรื่องการจัดเจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระบบบริการให้ใช้งานได้ตลอดเวลา ผู้บริหารมีข้อเสนอแนะและความต้องการในระดับมาก ได้แก่ การขยายช่องกว้างสัญญาณให้สามารถทำงานได้คล่องตัวยิ่งขึ้น สำหรับการทดสอบสมมุติฐานพบว่า นักศึกษา อาจารย์ และผู้บริหารมีการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างกัน กลุ่มที่ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในระดับสูงคือ กลุ่มอาจารย์ ส่วนนักศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์มีการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตแตกต่างกับคณะวิทยาการจัดการและคณะวิทยาศาสตร์มีการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตแตกต่างกับคณะวิทยาการจัดการ
Other Abstract: The purpose of this study use to fine out how students, teachers, and administrators of Rajabhat Institute Udon Thani used the Internet in order to study their opinions about bringing Internet in to teaching and learning, to study about limits and obstacles of their acquiring advantages from the Internet, and to compare Internet uses among students, teachers and administrators subjects of the study were 361 students, 78 teachers and 10 administrators. The finder were students used the Internet for self study and time saving in for information the most teachers used the internet for it' s wide range of teachers used the Internet for it' s wide range of educational databases the most, and administrators used the internet for learning and self study the most. For problems and obstacles, students found that there were not enough computers for using Internet. Teachers and administrators it was a problem that the internet service could not be accessed all the time the most. For suggestions, students suggested to increase the number of computers for the Internet service. Teachers suggested and wanted the most there should have been technicians to improve the system in order that the Internet could be accessed all the time. Administrators suggested and wanted the most that the institute should have broaden the wider of the signal band in order to use the Internet better. For hypothesis testing, the findings were: there were no differences in using internet among students, teachers and administrators. The group that used the Internet at the highest level was teachers. Students from the Faculty of Humanities and Social Sciences were different from students from Faculty of Management Science in how they used the Internet, and students from the Faculty of Science were different from students from the Faculty of Management Sciences.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การหนังสือพิมพ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68344
ISBN: 9743337768
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Seksun_sa_front_p.pdf941.08 kBAdobe PDFView/Open
Seksun_sa_ch1_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Seksun_sa_ch2_p.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open
Seksun_sa_ch3_p.pdf879.46 kBAdobe PDFView/Open
Seksun_sa_ch4_p.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Seksun_sa_ch5_p.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Seksun_sa_back_p.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.