Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68544
Title: Physico-chemical and mechanical properties and controlled release in coated pellets of mixing films between ethylcellulose and ammonio methacrylate copolymer in organic and aqueous dispersion systems
Other Titles: คุณสมบัติทางเคมีกายภาพและเชิงกล และการควบคุมการปลดปล่อยในเพลเลทเคลือบของฟิล์มผสมระหว่างเอธิลเซลลูโลส และแอมโมนิโอเมธาคริเลต โคโพลิเมอร์ทั้งในระบบตัวทำลายอินทรีย์ และในระบบชนิดกระจายตัวในน้ำ
Authors: Suparpun Chungcharoenwattana
Advisors: Poj Kulvanich
Naruporn Sutanthavibul
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Subjects: Pellets
Copolymers
Plasticizers
Ethylcellulose
Methyl methacrylate
Organic solvents
Aqueous polymeric coatings
Issue Date: 1999
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The properties of single film and mixed film of ethylcellulose and ammonio methacrylate copolymer type B prepared in organic system (ethylcellulose and EudragitⓇRS100) and aqueous dispersion system (Surelease and EudragitⓇ RS30D) were investigated. The effect of type and amount of plasticizers on their physico-chemical and mechanical properties of film as well as on the release of the drug from propranolol hydrochloride pellets coated with these single film and blended films were observed. The propranolol hydrochloride pellets were prepared by extrusion-spheronization technique and were coated by a Wurster type fluidized bed technique. The surface appearances and the mechanical properties of single polymer and polymer blends were affected by the various types and amounts of plasticizers. For the organic system, dibutyl phthalate could improve appearances and mechanical properties of ethylcellulose and the polymer blends with higher portion of ethylcellulose while triethyl citrate could improve appearances and mechanical properties of BudgetⓇ Rs100 and the polymer blends with higher portion of Eudragit Ⓡ RS100. All of the triethyl citrate-plasticized films prepared from aqueous dispersion system produced soft and tough films with smooth surface. An increase in amount of plasticize could produce good properties of both surface appearances and mechanical properties. The different type and amount of plasticizers could also modify the drug release characteristics. The incorporation of EudragitⓇRS100 in the blended films improved the smoothness of the coating surface but the incorporation of EudragitⓇ RS5OD did not improve the surface appearances of the blended films. Nevertheless, the mixtures of two polymers in both systems could retard drug release characteristics when compared to the pure film of EudragitⓇRS type. The interaction between two polymers prepared from aqueous dispersion system was revealed by the IR spectra whereas the X-ray diffractograms could not detect any interaction of two polymers in aqueous dispersion system.
Other Abstract: ศึกษาคุณสมบัติของฟิล์มเดี่ยวและฟิล์มผสมระหว่างเอธิลเซลลูโลสและแอมโมนิโอเมธาคริเลต โคโพลิเมอร์ ชนิด บี ในระดับตัวทำละลายอินทรีย์ (เอธิลเซลลูโลส กับ ยูดราจิด อาร์ เอส 100 ) และในระบบชนิดกระจายตัวในน้ำ (ชัวร์ลีส กับ ยุดราจิตชด อาร์ เอส 30 ดี) รวมทั้งอิทธิพลของชนิดและปริมาณของพลาสติกไซเซอร์ต่อคุณสมบัติทางเคมีกายภาพและเชิงกลของฟิล์ม และผลต่อลักษณะการปลดปล่อยตัวยาจากโพรพราโนลอลไฮโดรคลอไรด์เพลเลทที่เคลือบด้วยฟิล์มเดี่ยวและฟิล์มผสมเหล่านี้ เตรียมโพรพราโนลอลไฮโดรคลอไรด์เพลเลทโดยใช้เทคนิคเอ็กซ์ทรูชัน-สเพียรช์โรไนซ์เซซัน แล้วนำมาเคลือบฟิล์มโดยใช้เทคนิคการเคลือบแบบฟลูอิดไดซ์เบดชนิดพ่นจากด้านล่าง พบว่าชนิดและปริมาณที่แตกต่างกันของพลาสติกไซเซอร์มีอิทธิพลต่อลักษณะพื้นผิวและคุณสมบัติเชิงกลของฟิล์มเดี่ยวและฟิล์มผสม ในระบบตัวทำละลายอินทรีย์ ไดบิวทิล ทาเลททำให้ฟิล์มของเอธิลเซลลูโลสและฟิล์มผสมที่มีสัดส่วนของเอธิลเซลลูโลสอยู่มากกว่ามีลักษณะพื้นผิวและคุณสมบัติเชิงกลที่ดี ในขณะที่ไตรเอธิล ซิเทรดทำให้ฟิล์มของยูดราจิด อาร์ เอส 100 และฟิล์มที่มีสัดส่วนของยูดราจิด อาร์ เอส 100 อยู่มากกว่ามีลักษณะพื้นผิวและคุณสมบัติเชิงกลที่ดี ส่วนฟิล์มผสมทั้งหมดที่เตรียมจากระบบชนิดกระจายตัวในน้ำ และมีไตรเอธิล ซิเทรดเป็นพลาสติกไซเซอร์สามารถทำให้เกิดฟิล์มที่นุ่มและยืดหยุ่นได้ดีรวมทั้งทำให้ฟิล์มมีลักษณะเรียบมากขึ้น ในการเพิ่มปริมาณของพลาสติกไซเซอร์ สามารถทำให้เกิดลักษณะพื้นผิวและคุณสมบัติเชิงกลที่ดีขึ้น นอกจากนี้ชนิดและปริมาณที่แตกต่างกันของพลาสติกไซเซอร์ยังสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะและอัตราเร็วของการปลดปล่อยยา การเติมยูดราจิด อาร์ เอส 100 ลงในฟิล์มผสมจะทำให้พื้นผิวมีลักษณะที่เรียบขึ้น แต่การเดิมยูดราจิด อาร์ เอส 30 ดีในฟิล์มผสมไม่ได้ช่วยทำให้เกิดลักษณะพื้นผิวที่ดีขึ้นอย่างไรก็ตามฟิล์มผสมที่ได้ระหว่างโพลิเมอร์ 2 ชนิดทั้งในระบบตัวทำละลายอินทรีย์ และในระบบชนิดกระจายตัวในน้ำสามารถทำให้อัตราการปลดปล่อยของยาช้าลงเมื่อเปรียบเทียบกับฟิล์มเดี่ยว ๆ ที่เตรียมจากยูดราจิด อาร์เอส (แอมโมนิโอเมธาคริเลต โคโพลิเมอร์ ชนิด บี) ผลจากอินฟราเรดสเปคตรัมแสดงให้เห็นว่าเกิดปฏิกิริยาระหว่างโพลิเมอร์ 2 ชนิดนี้เตรียมจากระบบชนิดกระจายตัวในน้ำ แต่จากลักษณะของเอ็กซ์เรย์ดิฟแฟรคโทรแกรมไม่สามารถตรวจสอบการเกิดปฏิกิริยาใด ๆ ระหว่างโพลิเมอร์ 2 ชนิดในระบบชนิดกระจายตัวในน้ำ
Description: Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 1999
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68544
ISBN: 9743328971
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suparpun_ch_front_p.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Suparpun_ch_ch1_p.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Suparpun_ch_ch2_p.pdf989.56 kBAdobe PDFView/Open
Suparpun_ch_ch3_p.pdf11.98 MBAdobe PDFView/Open
Suparpun_ch_ch4_p.pdf639.64 kBAdobe PDFView/Open
Suparpun_ch_back_p.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.