Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68564
Title: ตัวแทนโดยปริยาย
Other Titles: Implied agency
Authors: สิรินธร อินทรสังขนาวิน
Advisors: ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Prasit.Ko@Chula.ac.th
Subjects: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ตัวแทน
กฎหมายปิดปาก
สิทธิยึดหน่วง
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับตัวแทนโดยปริยาย ตามที่บัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมทังศึกษา วิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาหลักกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า ตัวแทนโดยปริยายนั้นมีความแตกต่างกับตัวแทนเชิดทั้งในด้านลักษณะและผลทางกฎหมายกล่าวคือ ตัวแทนโดยปริยายนั้นตัวการได้แสดงถึงความพอใจและยอมรันการแสดงออกของตัวแทนโดยปริยาย แม้ตัวการจะไม่ได้แต่งตั้ง หรือแสดงความยินยอมโดยตรง แต่ความรับผิดชอบผูกพันระหว่างตัวการและบุคคลนภายนอกให้นำมาตรา 820 มาใช้บังคับ เนื่องจากตัวการมีความยินดี ยอมรับซึ่งเป็นการยอมรับอย่างปริยายในการแสดงออกของตัวแทน ส่วนกรณีตัวแทนเชิดนั้น ตัวการไม่ได้แสดงออกถึงความพอใจ หรือความยินดีในการกระทำของด้วยการกับตัวแทนเชิด เป็นแต่เพียงการเช็ดที่ทำให้บุคคลภายนอกผู้สุจริตเข้าใจผิดหรือหลงเชื่อ ตัวการจึงถูกกฎหมายปิดปากมิให้โต้เถียงว่าบุคคลนั้นไม่ใช่ตัวแทนของตน (agency by estoppel) ตัวการในกรณีตัวแทนเชิดนั้น จึงต้องรับผิดตามมาตรา 821 ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้น เพราะกฎหมายบัญญัติ ( by operation of law ) จึงไม่ใช้มาตรา 820 บังคับ นอกจากนั้น ในเรื่องขอบเขตของอำนาจตัวแทนโดยปริยายกฎหมายตัวแทนของไทยไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องอำนาจโดยปริยาย (implied authority) โดยชัดแจ้ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำหลักกฎหมายทั่วไปมาปรับใช้ด้วย นอกจากนั้น ในเรื่องของหลักเกณฑ์ทั่วไปในเรื่องของสัมพันธ์ สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบระหว่างตัวการ ตัวแทน และบุคคลภายนอกนั้น สามารถนำมาใช้กับตัวแทนโดยปริยายเพียงเท่าที่ไม่ขัดกันหลักกฎหมายตัวแทน เช่น มาตา 810, 812 หรือ 820 เป็นต้น ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า เพื่อให้หลักกฎหมายเกี่ยวกับตัวแทนโดยปริยายสามารถใช้ได้อย่างสมเจตนารมย์ของหลักกฎหมาย ในเรื่องลักษณะและการเกิดของตัวแทนโดยปริยายและตัวแทนเชิดนั้น มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนั้น จึงควรตีความและปรับใช้กฎหมายในสองเรื่องนี้ให้ตรงกับลักษณะ และ ไม่ควรถือว่า ตัวแทนเชิดเป็นตัวแทนโดยปริยายประเภทหนึ่ง นอกจากนั้น ในเรื่องผลทางกฎหมายของตัวแทนโดยปริยายนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องควรจะกำหนดให้ชัดเจนว่าเป็นเช่นไร
Other Abstract: This thesis is aimed at studying and analyzing the criteria in determining an implied agency as stipulated in the Civil and Commercial Code. It also analyzes related problems by comparing Thai and foreign laws regarding an implied agency. From the studies, it was found that an implied agency is different from an agency by estoppel both in description and legal consequence. For an implied agency, the principal shows his consent and obligation for any action committed by an implied agency even though he does not appoint the implied agent or expressly give consent to it. But Section 820 will be applied with regard to the obligation and bond between the third person and the principal because as the fact the principal is willing to accept the agent with implied acceptance. เท the case of an agency by estoppel, the principal does not express consent or approve the action of agency by estoppel. The principal merely ignores to disclose the facts to the innocent third person that an agency estoppel performs an action on his behalf. The law, thus, does not allow the principal to argue that the person is not his agent. With regard to an agency by estoppel, a principal will consequently be liable under Section 821. Section 820 is not applied to this case because it must be applied under the operation of law. Besides, in connection with the authority of an implied agency, there is no clear-cut mention of an implied authority in Thai legislation. However, the general principal of law shall be applied in this case. Concerning the relationship, rights, duties and obligations between a principal, an agency and a third person, the provision of law of an agency can be applied as if it does not against the theory and principle of law on agency, such as Section 810, 812 or 820 etc. As an implied agency and an agency by estoppel are different in nature and in order to comply with the spirit of the provision of an implied agency. I would like to suggest that it is necessary to interpret and apply these two kinds of agency separately and correctly. An agency by estoppel must not be regarded as a kind of implied agency. Moreover, the lawyers must realize the legal status of an implied agency clearly, including rights, duties and obligations of all parties concerned.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68564
ISBN: 9743338594
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirinthon_in_front_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Sirinthon_in_ch0_p.pdf724.2 kBAdobe PDFView/Open
Sirinthon_in_ch1_p.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open
Sirinthon_in_ch2_p.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Sirinthon_in_ch3_p.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open
Sirinthon_in_ch4_p.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Sirinthon_in_ch5_p.pdf802.39 kBAdobe PDFView/Open
Sirinthon_in_back_p.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.