Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69000
Title: สมบัติต้านแบคทีเรียและการแข็งตัวของเลือดของผ้าฝ้ายกอซคาร์บอกซีเมทิลเลตเคลือบด้วยซิลเวอร์
Other Titles: Antibacterial and hemostatic properties of silver-coated carboxymethylated cotton gauze
Authors: วรรณพร พินดวง
Advisors: สิริวรรณ กิตติเนาวรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ผ้าฝ้าย -- ผลกระทบจากแสง
กรดคาร์บอกซิลิก
Cotton fabrics -- Effect of light on
Carboxylic acids
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการดัดแปรผ้าฝ้ายกอซด้วยวิธีคาร์บอกซีเมทิลเลชันที่ระดับการแทนที่ต่างๆกัน หลังจากนั้นนำมาเคลือบด้วยสารซิลเวอร์ และทำการอบแห้งด้วยการฉายแสงยูวีที่ความเข้มแสงที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นนำผ้าที่ผ่านการเคลือบมาศึกษาการต้านแบคทีเรีย การแข็งตัวของเลือด และศึกษาสมบัติทางกายภาพ ทางด้านความต้านทานต่อแรงดันทะลุ การดูดซับน้ำเกลือ และความขาว จากผลการต้านเชื้อแบคทีเรีย ผ้าฝ้ายกอซและผ้าฝ้ายกอซที่ดัดแปรด้วยวิธีคาร์บอกซีเมทิลเลชันที่ ระดับการแทนที่ต่างๆกันที่ยังไม่ได้เคลือบด้วยสารซิลเวอร์ ไม่แสดงผลการต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิดคือ E. coli และ S. aureus แต่เมื่อทำการเคลือบสารซิลเวอร์ลงบนทั้งผ้าฝ้ายกอซและผ้าฝ้ายกอซดัดแปรทั้งที่ฉายแสงและไม่ฉายแสงยูวีแสดงสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งสองได้เป็นอย่างดี ส่วนผลของการแข็งตัวของเลือด ผ้าฝ้ายกอซที่ดัดแปรด้วยวิธีคาร์บอกซีเมทิลเลชันที่ระดับการแทนที่ต่างๆกัน พบว่า ผ้าฝ้ายกอซดัดแปรที่มีระดับการแทนที่สูงขึ้นให้ผลการแข็งตัวของเลือดเร็วขึ้น และเร็วกว่าของผ้าฝ้ายกอซที่ไม่ได้ดัดแปร แต่เมื่อนำผ้าฝ้ายกอซดัดแปรที่ระดับการแทนที่ต่างๆมาเคลือบด้วยสารซิลเวอร์และ ฉายแสงยูวีที่ระดับความเข้มแสงต่างกัน พบว่าการฉายแสงยูวีที่ระดับความเข้มแสงที่ 300 และ 500 มิลลิจูลต่อตารางเซนติเมตร ให้ผลการแข็งตัวของเลือดเร็วขึ้น แต่เมื่อฉายแสงยูวีที่ความเข้มแสง 700 มิลลิจูลต่อตารางเซนติเมตร การแข็งตัวของเลือดช้าลง สำหรับผลของความต้านทานต่อแรงดันทะลุ สรุปได้ว่าผ้าฝ้ายกอซที่ผ่านการดัดแปรมีค่าความต้านทานต่อแรงดันทะลุมากกว่าผ้าฝ้ายกอซที่ไม่ได้ดัดแปร ทั้งนี้เพราะเกิดจากการหดตัวของผ้าฝ้ายกอซในขั้นตอนการดัดแปร และเมื่อนำผ้าฝ้ายกอซที่ดัดแปรมาเคลือบด้วยสารซิลเวอร์และผ่านการฉายแสงยูวี มีผลทำให้ความต้านทานต่อแรงดันทะลุดีขึ้นไปอีก ส่วนผลของการดูดซับน้ำเกลือ ผ้าฝ้ายกอซดัดแปรที่ระดับการแทนที่สูงขึ้น ให้ผลการดูดซับน้ำเกลือที่ดีขึ้น แต่เมื่อนำผ้าฝ้ายกอซดัดแปรมาเคลือบด้วยสารซิลเวอร์ ผลการดูดซับน้ำเกลือลดลงเล็กน้อย ส่วนผลของ ค่าดัชนีความขาว ผ้าฝ้ายกอซดัดแปรที่ผ่านการเคลือบด้วยสารซิลเวอร์มีค่าดัชนีความขาวน้อยกว่า ผ้าฝ้ายกอซที่ไม่ได้ดัดแปร เมื่อฉายแสงยูวีที่ความเข้มแสงสูงขึ้น ค่าดัชนีความขาวยิ่งลดต่ำลง
Other Abstract: This research was to modify cotton gauze by carboxymethylation to obtain the different degrees of substitution (DS), and then the modified cotton gauze was treated with silver agent and dried under UV irradiation at different intensities. After that, antibacterial activity, blood clotting and physical properties, e.g. bursting strength, saline absorption and whiteness, of all the modified and/or treated cotton gauzes were examined. For antibacterial results, cotton gauze and the modified cotton gauze by carboxymethylation with different DS values without treating with silver agent did not show any antibacterial activity against S. aureus and E. coli. In contrast, when the cotton gauze and the modified cotton gauze with different DS values were treated with silver agent and then exposed or not exposed to UV irradiation, they all showed good antibacterial activity. For the hemostatic or blood clotting results, carboxymethylated cotton gauze with a higher DS value showed faster blood clotting, compared to the unmodified cotton gauze. The carboxymethylated cotton gauze treated with silver agent and dried under UV irradiation at intensity either 300 or 500 mJ/cm² showed much faster blood clotting than the untreated carboxymethylated cotton gauzes. But the silver treated carboxymethylated cotton gauze exposed to UV at intensity of 700 mJ/cm² showed slower blood clotting rate than those exposed to lower intensity UV irradiation. For the bursting strength result, it could be concluded that the carboxymethylated cotton gauzes with different DS valued showed higher bursting strength than the unmodified cotton gauze. This was due to the shrinkage of the cotton gauze during the modification. For saline absorption, the carboxymethylated cotton gauze with different DS values showed better saline absorption than the unmodified cotton gauze. For the whiteness result, the unmodified cotton gauze had the highest whiteness index compared with the carboxymethylated cotton gauze and silver treated carboxymethylated cotton gauze.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69000
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5472088923.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.