Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69161
Title: การวิเคราะห์ข้อมูลอุณหภูมิและความเค็มที่ผิวน้ำทะเลจากทุ่นสำรวจสมุทรศาสตร์ประกอบรูปแบบการไหลเวียนของกระแสน้ำในอ่าวไทยจากแบบจำลองคณิตศาสตร์
Other Titles: Analysis of sea surface temperature and salinity from oceanographic bouys with circulation patterns in the Gulf of Thailand from mathematical model
Authors: สมยศ หล่อวิทยากร
Advisors: อัปสรสุดา ศิริพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: absorn@sc.chula.ac.th
Subjects: น้ำทะเล
ความเค็ม
อ่าวไทย
ทุ่นสมุทรศาสตร์
อุณหภูมิมหาสมุทร
Seawater
Salinity
Thailand, Gulf of
Oceanographic buoys
Ocean temperature
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบการไหลเวียนของกระแสน้ำและการแจกแจงของอุณหภูมิและ ความเค็มที่ผิวหน้าน้ำทะเลในอ่าวไทย โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์และข้อมูลจากทุ่นสำรวจสมุทรศาสตร์ โดยที่แบบจำลองคณิตศาสตร์จะใช้ข้อมูลนำเข้าที่สำคัญ คือ กระแสลมที่ได้จากทุ่นสำรวจสมุทรศาสตร์, กระแสลมที่ได้จากแผนที่ อากาศ และระดับน้ำขึ้นน้ำลงที่ได้จากการคำนวณโดยแบบจำลองคณิตศาสตร์ ซึ่งค่าของกระแสน้ำที่ได้จากการคำนวณ โดยแบบจำลองคณิตศาสตร์ได้ถูกนำมาตรวจสอบความถูกต้องโดยทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลกระแสน้ำที่ได้จากทุ่นสำรวจสมุทรศาสตร์ในอ่าวไทย พบว่าค่ากระแสน้ำที่ได้จากการคำนวณให้ผลใกล้เคียงกันกับค่ากระแสน้ำที่วัดได้จริงที่ สถานีปลาทอง และให้ผลที่ไม่ดีในบริเวณใกล้ชายฝั่ง ซึ่งประกอบไปด้วยสถานีเกาะช้าง, ระยอง, เกาะสีชัง, หัวหิน, เกาะเต่า และสงขลา ต่อจากนั้นได้นำข้อมูลอุณหภูมิและความเค็มที่ได้จากทุ่นสำรวจสมุทรศาสตร์ทุก ๆ 6 ชั่วโมงของแต่ละทุ่นมาทำ การเฉลี่ยเป็นรายสัปดาห์ และนำค่าที่เฉลี่ยแล้วมาใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในโปรแกรมซัฟเฟอร์ เพื่อทำการเขียนเส้นคอนทัวร์ อุณหภูมิและความเค็ม จากผลการศึกษา พบว่ากระแสน้ำในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กระแสน้ำมีทิศทางไหลเข้าสู่อ่าวไทยทาง ด้านฝังตะวันตก วนตามเข็มนาฬิกาแล้วไหลออกทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย ส่วนในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กระแสน้ำมีทิศทางไหลเข้าสู่อ่าวไทยทางด้านฝังตะวันออก วนทวนเข็มนาฬิกาแล้วไหลออกทางฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย แต่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนฤดูมรสุม คือ ในเดือนเมษายนและเดือนตุลาคม พบว่าลักษณะการไหลเวียนของกระแสน้ำในอ่าวไทย มีทิศทางที่ไม่แน่นอน และผลจากการวิเคราะห์รูปแบบการแจกแจงของอุณหภูมิและความเค็มที่ผิวหน้าน้ำทะเลในอ่าวไทย ตลอดปี พ.ศ. 2537 พบว่าค่าอุณหภูมิมีค่าอยู่ในช่วง 26.5⁰ซ ถึง 31.4 ⁰ซ โดยที่อุณหภูมิมีค่าสูงในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 30.3 ⁰ซ และอุณหภูมิมีค่าต่ำสุดในเดือนมกราคม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ประมาณ 28.0 ⁰ซ ส่วนค่าความเค็มมีค่าอยู่ในช่วง 23.0 %๐ ถึง 33.0 %๐ โดยที่ค่าความเค็มจะมีค่าสูงในช่วงเดือน มีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 31.7 %๐ และค่าความเค็มมีค่าต่ำสุดในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม โดยที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดประมาณ 29.0 %๐ และนอกจากนี้ยังพบว่าการไหลเวียนของกระแสน้ำกับการแจกแจง ของอุณหภูมิและความเค็มที่ผิวหน้าน้ำทะเลในอ่าวไทยไม่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
Other Abstract: The aim of this research is to study the circulation pattern, temperature distribution and salinity of the sea surface in the Gulf of Thailand, using a mathematical model and data from oceanographic bouys. The mathematical model requires the essential inputs such as wind data from oceanographic bouys, wind data from weather chart and tidal elevation at the open boundary computed by a mathematical model. The current values computed from the mathematical model are verified by comparison with the measurements of current from oceanographic bouys deployed in the Gulf of Thailand. The values obtained from circulation are near the actual measurements taken at Plathong station and poor results are obtained from coastal station such as Ko Chang, Rayong, Ko Sichang, Hua Hin, Ko Tao and Songkhla station. Temperature and salinity data from each bouy are taken at 6 hours' interval. After that, a weekly average is computed. Then, these values are input into surfer program to plot the temperature and salinity contours. The results of study show that during southwest monsoon, the current enters the gulf from the west, making a clockwise circulation, and leaves the gulf through the east. During northeast monsoon, the current enters the gulf from the east, making a counterclockwise circulation and leaves the gulf through the west. During the transition monsoon in April and October the circulation in the Gulf of Thailand is very fluctuated. Analyses of the gulf sea surface temperature distribution and salinity through the year 1994 reveal that the temperature ranges from 26.5 °C to 31.4 °C; maximum temperature occurs from April to May with an average of 30.3 °C; minimum temperature occurs in January with an average of 28.0 °C; salinity ranges from 23.0 %๐ to 33.0 %๐ where the maximum occurs from March to June with an average of 31.7 %๐ and the minimum occurs from August to October with an average of 29.0 %๐ ; the Gulf of Thailand sea surface circulation, temperature distribution and salinity are not related to each other.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69161
ISBN: 9743310878
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somyod_lo_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ967.35 kBAdobe PDFView/Open
Somyod_lo_ch1_p.pdfบทที่ 11.04 MBAdobe PDFView/Open
Somyod_lo_ch2_p.pdfบทที่ 22.86 MBAdobe PDFView/Open
Somyod_lo_ch3_p.pdfบทที่ 3980.85 kBAdobe PDFView/Open
Somyod_lo_ch4_p.pdfบทที่ 48.38 MBAdobe PDFView/Open
Somyod_lo_ch5_p.pdfบทที่ 51.46 MBAdobe PDFView/Open
Somyod_lo_ch6_p.pdfบทที่ 6785.09 kBAdobe PDFView/Open
Somyod_lo_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก706.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.