Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69361
Title: | ผลของการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหืด |
Other Titles: | Effects of balloon - blowing breathing exercise on pulmonary function and respiratory muscle strength in school – age children with asthma |
Authors: | กฤษณา บุญล้ำ |
Advisors: | วรรณพร ทองตะโก สุวิมล โรจนาวี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Wannaporn.T@Chula.ac.th Suwimon.R@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งและเปรียบเทียบผลของการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งกับการฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง ที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหืด กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยเรียนโรคหืด อายุ 7–12 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้รับการฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ 2 ได้รับการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่ง จำนวน 15 คน ทั้งสองกลุ่มฝึกหายใจ 5 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และตัวแปรด้านอาการของโรคหืด วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปรระหว่างก่อน และหลังการทดลอง โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยข้อมูลด้านสรีรวิทยาได้แก่ น้ำหนักตัว ส่วนสูง อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองและระหว่างกลุ่ม ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจพบว่า กลุ่มที่ฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่ง มีค่าเฉลี่ยปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าเฉลี่ยอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด ค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มที่ฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง มีค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า กลุ่มที่ฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งมีค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่มที่ฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับตัวแปรด้านอาการของโรคหืด พบว่า คะแนนการควบคุมโรคของทั้งสองกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองแต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม สรุปผลการวิจัย การฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ช่วยพัฒนาสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ รวมถึงช่วยให้สามารถควบคุมโรคหืดได้ดียิ่งขึ้น |
Other Abstract: | The purposes of this study were to determine the effects of balloon blowing breathing exercise and to compare the effects of balloon-blowing and sustained maximal inspiration (SMI) breathing exercise on pulmonary function and respiratory muscle strength in school-age children with asthma. Thirty school-age children with asthma aged 7 - 12 years old who were visited at the outpatient examination room, Phramongkutklao Hospital divided into 2 groups; sustained maximal inspiration breathing group (SMI; n=15) and balloon-blowing breathing group (BB; n=15). Participants in each group were administered to complete breathing exercise 5 times per week for 8 weeks. Physiological data, pulmonary function, respiratory muscle strength, and asthma symptoms variables were analyzed during Pre- and Post-test. The researcher collected physiological data, variables, including pulmonary function, respiratory muscle strength, and asthma symptoms. The dependent variables between pre-test and post-test were analyzed by a paired t-test. Independent t-test was used to compare the variables between groups. Differences were considered to be significant at p < .05. The results indicated that after 8 weeks, there were no significant difference in physiological data such as body weight, height, resting heart rate, systolic blood pressure, and diastolic blood pressure when compared with pre-test and between group. In addition, the BB group increased FVC, FEV1, PEF, MVV, MIP, and MEP compared to pre-test (p<.05) while the SMI group increased MVV, MIP, and MEP compared to pre-test (p<.05). Moreover, the BB group had significantly higher MEP than the SMI group (p<.05). The asthma control scores were significantly increased in the both groups when compared with pre-test (p<.05), but there was no significant difference in asthma control scores between group. In conclusion, the present findings demonstrated that the 8 weeks of balloon-blowing breathing exercise had beneficial effects in school-age children with asthma by improving pulmonary function, respiratory muscle strength, and asthma control. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69361 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1084 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.1084 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6078304439.pdf | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.