Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69374
Title: ผลการออกกำลังกายแบบตารางก้าวเดินต่อความสามารถในการทรงตัวและการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดปกติหรือบกพร่องเล็กน้อย
Other Titles: Effects of square stepping exercise on balance and cognitive function in the normal or mild cognitive impairment elderly
Authors: มโนชา พร้อมมูล
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Thanomwong.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายแบบตารางก้าวเดินต่อความสามารถในการทรงตัวและการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดปกติหรือบกพร่องเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดปกติหรือบกพร่องเล็กน้อย มีอายุระหว่าง 60-75 ปี จำนวน 40 คน ได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ได้รับการออกกำลังกายแบบตารางก้าวเดิน 40 นาทีต่อครั้ง 5ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยผู้วิจัยฝึกให้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และกลุ่มตัวอย่างจะต้องฝึกด้วยตนเองที่บ้าน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยก่อนและหลังการทดลองทำการทดสอบตัวแปรด้านความสามารถในการทรงตัวและตัวแปรด้านการรู้คิด จากนั้นนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired-t test) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent-t test) ผลการศึกษาพบว่า 1. ความสามารถในการทรงตัวและการรู้คิดของกลุ่มทดลองภายหลังออกกำลังกายแบบตารางก้าวเดินดีกว่าก่อนการออกกำลังกายแบบตารางก้าวเดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และหลังการทดลองกลุ่มควบคุมมีความสามารถในการทรงตัวและการรู้คิดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ความสามารถในการทรงตัวและการรู้คิดของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบตารางก้าวเดินสามารถเพิ่มความสามารถในการทรงตัวและการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดปกติหรือบกพร่องเล็กน้อยได้  
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate and compare effects of square stepping exercise on balance and cognitive function in the normal or mild cognitive impairment elderly. Forty volunteered with the normal or mild cognitive impairment elderly older adults aged 60-75 years olds. They were randomized into control group (20 subjects) and experimental group (20 subjects). The control group was engaged with normal daily life. The experimental group was participated square stepping exercise for 40 minutes per day, 2 days a week for 8 weeks by researcher. After that, they were exercised by themselves for 3 days a week. Assessment was performed at baseline and after exercise program. Balance and cognitive function were statistically analyzed using paired-t test for study effects of square stepping exercise within group and using independent-t test for compare between groups. The finding revealed that 1. After square stepping exercise, balance and cognitive function had significantly improved from pre-test (p< .05). The control group had significantly decreased in every variables when compared to pre-post test (p< .05). 2. Balance and cognitive function had significantly more improved when compared with control group (p< .05). The results of this research indicated that square stepping exercise can improve balance and cognitive function in the normal or mild cognitive impairment elderly.  
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69374
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1116
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1116
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6178408139.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.