Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69687
Title: | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากกระบวนท่ารำอาทมาฏ ดาบพระนเรศวร |
Other Titles: | The creation of a dance from arthamart dance sequence in Kingnaresuan 's sword |
Authors: | ฐิตารีย์ คำภีร์ |
Advisors: | นราพงษ์ จรัสศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Naraphong.C@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากกระบวนท่ารำอาทมาฏ ดาบพระนเรศวร” ผู้วิจัยได้รับแรงบันดาลใจจากกระบวนท่ารำอาทมาฏ ดาบพระนเรศวร ซึ่งมีระเบียบวิธีการวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และการทดลองเชิงสร้างสรรค์ โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสำรวจข้อมูลจากการสังเกตการณ์ การสัมมนา เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน รวมถึงประสบการณ์ตรงของผู้วิจัย โดยศึกษาเพื่อนำไปสู่รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากกระบวนท่ารำ อาทมาฏ ดาบพระนเรศวร ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการสร้างสรรค์สามารถจำแนกตามองค์ประกอบทางด้านนาฏยศิลป์ 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง แบ่งเป็น 4 องก์ ได้แก่ คลุมไตรภพ ตลบสิงขร ย้อนฟองสมุทร และหนุมานเชิญธง 2) คัดเลือกนักแสดง ผู้วิจัยคัดเลือกจากผู้ที่มีทักษะนาฏศิลป์ไทยดั้งเดิม นาฏศิลป์สมัยใหม่และศิลปะการป้องกันจากกระบวนท่ารำอาทมาฏ ดาบพระนเรศวร 3) ลีลาการเคลื่อนไหว มีแนวคิดการออกแบบลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายจากนาฏยศิลป์ไทย และนาฏยศิลป์สมัยใหม่ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนท่ารำอาทมาฏ ดาบพระนเรศวร 4) อุปกรณ์ประกอบการแสดงให้ความสำคัญ และได้รับอิทธิพลจากรูปแบบดาบดั้งเดิม 5) เสียงประกอบการแสดง ใช้เครื่องดนตรีไทย 3 ชิ้น ได้แก่ กลองศึก ปี่ใน โหม่ง และเสียงสังเคราะห์ที่แสดงถึงความฮึกเหิมจนถึงความศักดิ์สิทธิ์ 6) เครื่องแต่งกาย ใช้เครื่องแต่งกายแบบชุดไทยประเพณีดั้งเดิม และเครื่องแต่งกายในสังคมปัจจุบัน 7) พื้นที่ในการแสดง ใช้พื้นที่สี่เหลี่ยมแบบเรียบง่ายเพื่อสะดวกในการเปลี่ยนแปลงแบบรูปของการแสดง 8) แสง ใช้สีของแสงเพื่อแสดงอารมณ์และบรรยากาศตามบทการแสดง นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดของหลักการสร้างสรรค์ผลงาน 4 ประการ ได้แก่ 1) แนวคิดชื่อกระบวนท่ารำอาทมาฏ ดาบพระนเรศวร 2) แนวคิดความหลากหลาย 3) แนวคิดสัญลักษณ์ 4) แนวคิดปัญหาทางสังคม ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้ เป็นไปตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของผู้วิจัยทุกประการ อีกทั้งยังประประโยชน์เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | This research is part of the research on “The creation of dance inspired by king naresuan the great’s artamart sword movement sequences. The research methodology is the qualitative research and creative experiment by studying from document, interview, information technology, surveying data from observation, seminar, artist benchmarking including direct experience of the researcher. The study will contribute to the creation of dancing art from the creation of dance from arthamart in king naresuan sword. The result of the research has found that the format of the creation of dance can be classified into 8 categories according to Dancing Art as follow: 1) The acting performance is divided into 4 acts namely klumtriphob, talobsingkhon, yonfongsabue and hanumanchuanthong 2) Casting, the researcher select the performers who have skills in traditional thai dance, modern dance and the defense art dance from arthamart in king naresuan sword 3) Grace and motion, the idea to design the grace and motion of the body derived from the traditional thai dance and modern dance by giving the important to the dance from arthamart in king naresuan sword 4) Show props are giving the important and influenced by the traditional sword style 5) The sound for the acting performance are 3 thai musical instruments including war drum, soprano oboe, bell and voice synthes which showing arrogant and holiness 6) Costume, the use of traditional thai costume and modern thai costume 7) The display area, the use of simply square area for convenience in changing the type of the acting performance 8) Light, the use of color of light to express emotion and atmosphere according to role playing, in addition, there are also 4 concepts of creative principles which are 1) The concept of names of dancing posture are according to the dance from arthamart in king naresuan sword 2) The concept of diversity 3) The concept of symbolic 4) The concept of social problems, whereas, the results of this research are in accordance with the target and objective of the researcher in all aspects. Moreover, the results of this research also provide benefits as a guideline for creating of dancing art in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ศิลปกรรมศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69687 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1340 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.1340 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6086804135.pdf | 8.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.