Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69832
Title: ข่าวปลอมทางการเมืองบนเฟซบุ๊กในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562
Other Titles: Political fake news on Facebook during 2019 Thai general election
Authors: วิศรุต วงษ์น้อม
Advisors: พิรงรอง รามสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะที่โดดเด่นของข่าวสารปลอมทางการเมืองบนเฟซบุ๊กในช่วงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 (2) ปัจจัยที่นำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริง และ (3) กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนักการเมืองและพรรคการเมือง โดยใช้วิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology) คือ การวิเคราะห์เนื้อหาข่าวสารที่น่าสงสัยว่าจะเป็นข่าวปลอมทางการเมืองที่ปรากฏบนเพจทางการเมืองทั้งสองกลุ่มจำนวน 12 เพจ ได้แก่ (1) กลุ่มเพจที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและพรรคพลังประชารัฐ (Pro-military) และ (2) กลุ่มเพจที่สนับสนุนนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจและพรรคอนาคตใหม่ (Pro-democracy) และใช้วิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) คือ การสัมภาษณ์ผู้ติดตามเพจทั้ง 27 คน ผลการศึกษาลักษณะที่โดดเด่นของข่าวสารปลอมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 โดยการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า ข่าวปลอมทางการเมืองในช่วงการเลือกตั้งเป็นข่าวสารปลอมที่ถูกจัดว่าเป็นการโจมตีนักการเมืองและพรรคการเมืองและมีวิธีการนำเสนอที่ทำให้ผู้ติดตามเพจทางการเมืองเข้าใจผิด (Misleading) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาผ่านกรณีศึกษาทั้งสองคือ (1) กรณีของพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาและพรรคพลังประชารัฐ นั้นที่เกี่ยวข้องกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นข่าวสารปลอมทางการเมืองด้วยการสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการออกนโยบายสาธารณะโดยข่าวปลอมดังกล่าวถูกจัดประเภทเป็นคลิกเบท (Click Bait) ที่มีรูปแบบการนำเสนอคล้ายกับสำนักข่าวกระแสหลัก (Imposter) และมีเนื้อหาที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยสมบูรณ์ (Fabrication) (2) กรณีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และพรรคอนาคตใหม่ จะเป็นข่าวสารทางการเมืองที่เป็นทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) และที่ผูกโยงเรื่องราวทางการเมืองเช่น the storyline to major political events such as changes in political regime, mass political conflicts, and interference attempt in the election by the US government ที่มาจาการผู้เขียนบทความที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง (fictitious personas) ทั้งนี้ การสัมภาษณ์เชิงลึกชี้ให้เห็นสถานการณ์และแรงจูงใจที่นำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้แก่ (1) การแบ่งขั้วทางการเมือง (Political Polarization) (2) การเปิดรับและติดตามเพจทางการเมือง (3) ความสะดวกในการตรวจสอบบนแพลตฟอร์มออนไลน์ (4) ความรู้และประสบการณ์เดิม นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์ผู้ติดตามเพจแสดงให้ถึงปัจจัยที่เป็นกลไกที่นำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน คือ การเลือกเปิดรับสื่อ และ อคติเพื่อยืนยันความเชื่อเดิม (Confirmation Bias) อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวยังเป็นอุปสรรคที่เข้ามาลดทอนคุณค่าของการตรวจสอบข้อเท็จจริงเช่นเดียวเนื่องจากผู้ติดตามเพจจะเลือกตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความเชื่อเดิมมากกว่าการเสาะหาความจริงเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด (Misperception) เกี่ยวกับนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ถูกพาดพิงบนข่าวปลอม
Other Abstract: The research aims to study (1) salient attributes of political fake news on Facebook during Thailand’s general election in 2019, (2) factors leading to fact-checking, and (3) the process of verifying information regarding politicians and political parties. A content analysis methodology was conducted to analyze political news contents suspicious of validity posted on 12 Facebook pages of (1) the pro-military group supportive of General Prayuth Chan-o-cha and Palang-pracharat Party and (2) the anti-military group supportive of Mr. Thanathorn Juangroongruangkij and Future Forward Party. A qualitative methodology was also applied by using in-depth interview on 27 Facebook-page followers. The results showed that most fake news surfaced during the election was intended to discredit both opposing politicians and political parties and mislead the news followers. Further examination revealed the followings. (1) In the case of General Chan-o-cha and The Palang-pracharat Party; the fake news involved the issuance of public policies and appeared in a form of clickbait fabricated and presented in a way similar to mainstream news agencies’ (Imposter). (2) In the case of Mr. Juangroongruangkij and his Future-forward Party, the fake news was produced by fictitious personas as Conspiracy Theory in association with political narratives of major political events such as changes in political regime, mass political conflicts, and an attempt by the US government at interfering with the election. In addition, the outcomes of the in-depth interview indicated situations and motivations that brought about information verification which included (1) Political Polarization, (2) selective exposure to and following political Facebook page, (3) The convenience of online information verification, and (4) background knowledge and experience. The outcomes of the in-depth interview further revealed these determinants associated with the fact-checking process that lead to party identification rather than demystification of misconceptions about politicians and political parties mentioned in the news, selective exposure to media and bias confirmation. As a consequence, these determinants acted as hindrances undermining the significance of fact-checking.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69832
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.880
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.880
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084681928.pdf6.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.