Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69877
Title: แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต
Other Titles: Residential design guideline under digital technology key drivers : case study of one unit of residential condominium
Authors: นรมณ อุไรเลิศประเสริฐ
Advisors: เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคตในหลากหลายแขนง รวมถึงที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน บทความนี้จึงมุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในปัจจุบันและอนาคต รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลโดยใช้วิธีการถอดความ (Coding data) จากบทความทางอินเทอเน็ต งานวิจัย บทความวิชาการ โดยผู้วิจัยพิจารณาคำ วลี และประโยค ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคปัจจุบัน และอนาคต จากนั้นนำมาจัดหมวดหมู่ (Categories) เพื่อกำหนดตัวแปรเบื้องต้นสำหรับตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 5 ปัจจัยคือ 1) Service 2) Control 3) Visualize 4) Personalize 5) Communicate และจำแนกประเภทของกิจกรรมสำหรับการอยู่อาศัยออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) กิจกรรมทางชีวภาพ 2) กิจกรรมทางการผลิต 3) กิจกรรมทางการปฏิสัมพันธ์ 4) กิจกรรมทางนันทนาการ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงผ่าน 3 องค์ประกอบของกิจกรรมได้แก่ 1) กริยาขั้นตอน 2) เครื่องมือ 3) พื้นที่  เพื่อศึกษาช่องว่างและนำเสนอแนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยก่อนและหลังการบูรณาการภายใต้แนวคิดของตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล ศึกษาโดยใช้กรณีศึกษากลุ่มกิจกรรมที่เกิดขึ้นในอาคารชุดพักอาศัยหนึ่งยูนิต ทั้งหมด 17 กิจกรรม ทำการจำแนกองค์ประกอบของกิจกรรมตามกริยาขั้นตอน เครื่องมือ และพื้นที่ จากนั้นวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง เมื่อนำตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีเข้าไปแทนหรือเสริมในองค์ประกอบเดิม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้เกิดลักษณะการเปลี่ยนของที่อยู่อาศัยในเชิงขั้นตอนและกายภาพ 3 ลักษณะได้แก่ 1. ลักษณะลดลง 2. ลักษณะเพิ่มขึ้น 3. ลักษณะไม่เปลี่ยนแปลง การทำงานของตัวขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีเชิงขั้นตอนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ 1. ทำงานส่งผลโดยตรงต่อกิจกรรม ประกอบด้วยตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล 3 ปัจจัยคือ Control Visualize และService 2. ทำงานส่งผลทางอ้อมต่อกิจกรรม ประกอบด้วยตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล Personalize และCommunicate ทางด้านกายภาพการออกแบบที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มการใช้งานพื้นที่เพิ่มขึ้นทางด้านผนัง (แนวตั้ง) และเพดาน (แนวนอน) การใช้งานพื้นที่ลดลงทางด้านพื้น (แนวนอน) ประมาน 40 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการสร้างแนวทางการพัฒนาการการออกแบบที่อยู่อาศัยภายใต้ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต
Other Abstract: The objectives of this research are study transformation of the design guideline for residential under the digital technology key drivers. Data collecting of digital technology key drivers conducted through articles and documents are specified into 5 categories which are 1) Service 2) Personalize 3) Control 4) Visualize 5) Communicate. Residential activities are classified into 4 categories which are 1) Basic 2) Production 3) Movement 4) Recreation. The analysis of changes is conducted through 3 elements of activity: 1) Verb of procedure 2) Tool 3) Physical space. To explore the gap and represent residential design guideline before and after integration of digital technology key drivers. The study using case study of one unit of residential condominium and 17 groups of daily activities. Analyzing using classify of activities process and spatial change under digital key drivers integration. The study indicated that digital technology key drivers effect in process and spatial change of residential design comprise of 3 characters 1) Reduced 2) Increased 3) Remained. The process of digital technology key drivers work comprise of 2 types 1) Directly affect the activities by 3 digital technology key drivers: Control Visualize and Service. 2) Indirectly affect on the operation of activities by 2 digital technology key drivers: Personalize and Communicate. The trend of spatial changes in residential design are increased in wall area (Vertical side) and ceiling area (horizontal side), in addition reduce approximately 40 percent in floor area (horizontal side). The results of the study are part of the data to support the development of a residential design under the digital technology key drivers in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69877
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1375
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1375
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973354425.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.