Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69931
Title: การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21
Other Titles: Development of technology utilization model to enhance health literacy for elderly at the learning resource center of the 21st century
Authors: ศรีไพร โชติจิรวัฒนา
Advisors: พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาความต้องการรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21  2) สร้างและศึกษาคุณภาพรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21  3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21  4) นำเสนอรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21    วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย  1) ศึกษาความต้องการรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพฯ จากผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 434 คน   2) สร้างและศึกษาคุณภาพรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพฯ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจเครื่องมือวิจัยและประเมินรูปแบบ จำนวน 7 คน  3) ศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพฯ กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้รูปแบบการใช้เทคโนโลยี คือ ผู้สูงอายุชมรมหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง  เขตสะพานสูง  กรุงเทพมหานคร  และผู้สูงอายุศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงวัย ตำบลบางโฉลง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 20 คน และ  4) รับรองรูปแบบเทคโนโลยีฯ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบจำนวน 7 คน ผลการศึกษา พบว่า    1) ผู้สูงอายุต้องการให้มีศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.69) และในด้านเทคโนโลยี ผู้สูงอายุต้องการใช้โปรแกรมในสมาร์ตโฟนหาความรู้สุขภาพเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.97)    2) รูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพในศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ กลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ การจัดการ การจัดพื้นที่ สาระและเนื้อหา สื่อเทคโนโลยีส่งเสริมการเรียน และเครื่องมือประเมิน  และมีการเรียน 3 ระยะ คือ เตรียมความพร้อมและวางแผนการเรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมิน   3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการใช้เทคโนโลยีฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยการรู้สุขภาพของผู้สูงอายุหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลประเมินความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบเท่ากับร้อยละ 70 โดยพิจารณาจากเกณฑ์ 4 ด้านได้แก่ คะแนนพัฒนาการการรู้สุขภาพเพิ่มขึ้น คะแนนพฤติกรรมการเรียนในระดับดี คะแนนสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับดี และค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระดับมาก    4) ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คนเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70
Other Abstract: The objective was to 1) study the needs for technology utilization model to promote health literacy in the learning resource center for the elderly in the 21st century, 2) create technology utilization model to promote health literacy in the learning resource center for the elderly, 3) study the results of the use of technology utilization model to promote health literacy in the learning resource center for the elderly, and 4) present the technology utilization model to support health literacy in the learning resource center for the elderly. This was a research and developmental research. it was divided into four phases: 1) studying the needs for technology utilization model to promote health literacy from 434 elderly people in Bangkok and its suburbs, 2) create technology utilization model to promote health literacy, in which seven experts conducted a model evaluation, 3) studying the results of using technology utilization model to promote health literacy of the 20 samples that used the model, and 4) endorsing technology utilization model to promote health literacy by seven experts. The results showed that the primary needs of the elderly was to have the learning resource center in the community (PNImodified = 0.69). 2) The technology utilization model to promote health literacy in the learning resource center for the elderly consistsed of seven components, which are the target group, objectives, management, location, contents, technological educational media, and assessment tools. The three procedures consisted of: the preparation and planning for learning, activities organization, and evaluation. 3) The results of comparing health literacy scores by using one group sample revealed higher average scores on posttest than pretest of the elderly who used technology utilization model at the level of significance 0.05. The result of evaluating the success of learning activity by using model was 70 percent. 4) Seven experts assessed the model in the high suitability level (Mean 3.70).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69931
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.609
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.609
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684489027.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.