Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70086
Title: พุทธภาวะในพระคัมภีร์มหายานและความเข้าใจของคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม
Other Titles: Study on buddha nature in Mahayana buddhist scriptures and perception of Chinese order of Sangha in Thailand in order to promote human and social development
Authors: พระกฤตกร จุฑาเกียรติ
Advisors: พินิจ ลาภธนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ดำเนินการวิจัยเอกสารและการวิจัยสนาม ซึ่งการวิจัยเอกสารเป็นการศึกษาจากพระไตรปิฎกพากย์จีนฉบับไทโช ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร มหาปรินิรวาณสูตร และสัทธรรมปุณฑริกสูตร ส่วนการวิจัยสนามใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือพระสงฆ์ในคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยจำนวน 24 รูป เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาเขียนเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าพระคัมภีร์สะท้อนประเด็นพุทธภาวะตามหลักความศรัทธาในพื้นฐานความเชื่อในภาวะเดิมแท้ที่สะอาดบริสุทธิ์และเสมอภาคของสรรพสัตว์ ส่วนหลักการศึกษาคือการเรียนรู้พุทธภาวะจากแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนาคือความเที่ยงแท้ ความสุข ความเป็นแก่นสาร และความบริสุทธิ์ ซึ่งปรากฏอยู่ในความจริงทุกสรรพสิ่ง ทุกช่วงเวลา และทุกสถานที่ ส่วนหลักปฏิบัติคือการบ่มเพาะเมล็ดพันธ์แห่งพุทธะให้เติบโตด้วยการหยุดคิดปรุงแต่งเพื่อนำไปสู่วิถีการปฏิวัติที่เข้าถึงพุทธภาวะ ความรู้และความเข้าใจของพระสงฆ์จีนนิกายแสดงถึงหลักศรัทธาในพุทธภาวะคือการเชื่อความเป็นพุทธะที่เป็นจิตเดิมแท้ของทุกคน ส่วนหลักศึกษาคือการเรียนรู้พุทธภาวะโดยอาศัยตัวเราด้วยสติ ความคิด อารมณ์ และร่างกาย รวมถึงการศึกษาสังคมวัฒนธรรมและสื่อต่าง ๆ ส่วนหลักปฏิบัติคือการพัฒนาตนเองในทุกช่วงขณะด้วยการพิจารณาจิตใจให้เห็นความเป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย ความรู้และความเข้าใจของพระสงฆ์จีนนิกายในประเด็นพุทธภาวะต่อการพัฒนามนุษย์พบว่า การพัฒนาตนเองคือการรู้ตัวเองและขจัดจิตไม่ให้ความมัวหมองของกิเลส ช่วยให้เกิดการพัฒนาจิตใจที่พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น ส่วนบริบทของการพัฒนาสังคมเมื่อบุคคลสามารถพัฒนาจิตใจเข้าสู่พุทธภาวะ จะช่วยให้เกิดกระทำที่ดีงามในสังคมตามกาลและโอกาส ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ในทุกชนชาติศาสนาอย่างไร้ข้อจำกัด ก่อให้เกิดรูปแบบการกระทำของสังคมที่นำมาซึ่งความสงบสุขคือโลกอันผาสุกที่ปราศจากความวุ่นวายภายในจิตใจและภายนอกจิตใจ งานวิจัยนี้ได้ข้อค้นพบการเชื่อมโยงระหว่างพุทธภาวะที่เป็นความรู้จากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า (พระไตรปิฏก) และอรรถกถาของบูรพาจารย์ กับพุทธภาวะที่เกิดจากผู้เผยแผ่หลักคำสอนพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน (ความเข้าใจของพระสงฆ์) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับบริบทการพัฒนามนุษย์และสังคมด้วยการให้ความสำคัญกับการสร้างคุณภาพแห่งจิตใจของคนในสังคมตามความเป็นจริงอย่างเป็นธรรมชาติ
Other Abstract: This research was conducted by two main methodologies: documentary research and field research. Firstly, the study aimed to find out concepts and components of the Buddha nature from various Buddhist scriptures: Taisho Shinshu Tripitaka, Heart Sutra, Mahayana Mahaparinirvana Sutra, and Lotus Sutra. Secondly, the field research applied the qualitative research method of in-depth interview to collect data from key informants: hierarchical monks in Chinese Order of Sangha in Thailand. The data were analyzed by using content analysis. The documentary research of Buddhist scriptures shows that faithfulness of the Buddha nature is based on the beliefs of inherent purity of fundamental nature in all sentient beings. Education of Buddha nature from the doctrines can clarify that the heart of Buddhism is permanent, true happiness, essence and luminousness. The doctrines appear in everything and everywhere and every time. Practice of Buddha nature is the process to provide maturity and reproduction of Buddha seed by developing the mental formations and to turn it for being Buddhahood. Knowledges and comprehension of monks in Chinese Order of Sangha in Thailand show that faithfulness of Buddha nature is to believe in Buddhahood of the essence of mind in all sentient beings. Education of Buddha nature can form consciousness, Intellect, sentiment and body, including the study of social circumstances and cultures. The practice of Buddha nature is self-improvement by concentration on the natural truth. Knowledges and comprehension of the monks in the contexts of Buddha nature towards human development find that self-development is self-contemplation and that all human defilements can be removed from the mind. This process can support mind development to be ready for helping other people. In the contexts of social development, when people can develop their mind and access the Buddha nature, they will do good things and actions in every time and chance. This process can be practiced for all nations and religions without any restriction, as well as can promote social actions for global peace of all well-beings without discomposure both inside and outside mind. This research finds that the connections between knowledges of the Buddha nature in Tripitaka as well as Buddhist scriptures and the monks’ comprehension of the Buddha nature based on the Buddha teachings in Chinese Order of Sangha in Thailand at present can be applied to promote human and social development, particularly on the significance of people’s mind development in accordance with the natural truth.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70086
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1036
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1036
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5987274220.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.