Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70296
Title: การใช้สัญญาณ GNSS ในการหาปริมาณไอน้ำในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ เพื่อเป็นข้อมูลทางเลือกในการระบุวันเข้าสู่ฤดูมรสุมสำหรับประเทศไทย
Other Titles: The use of GNSS signals to determine the amount of precipitable water vapor in troposphere to determine an alternative monsoon onset date for Thailand
Authors: โชคชัย ตระกลกุล
Advisors: เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chalermchon.S@Chula.ac.th
Subjects: พยากรณ์อากาศ
อุตุนิยมวิทยา
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
Weather forecasting
Meteorology
Meteorological satellites
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการผันแปรของไอน้ำในชั้นบรรยากาศ (PWV) ในระยะยาว เพื่อใช้เป็นข้อมูลทางเลือกในการระบุช่วงการเข้าสู่ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูล GPS-PWV ที่ได้จากสถานีรังวัดสัญญาณดาวเทียมแบบต่อเนื่องของกรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 11 สถานี ตั้งแต่ปี 2007-2016 โดยใช้เทคนิคการประมวลผลแบบจุดเดี่ยวความละเอียดสูงด้วยโปรแกรม PANDA ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ของค่าเฉลี่ย PWV แปรผกผันกับระดับความสูงของพื้นที่ แนวโน้มของค่า PWV ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นไปในเชิงบวกแสดงให้เห็นว่า ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่นี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะยาว ในทางกลับกันแนวโน้มของค่า PWV  ในภาคกลาง, ภาคตะวันออก, ภาคตะวันตกและภาคใต้ เป็นไปในเชิงลบแสดงให้เห็นถึงปริมาณน้ำฝนมีแนวโน้มลดลงในระยะยาว ค่าเฉลี่ยของแอมพลิจูดประจำปีของ PWV มีขนาดตั้งแต่ 7 ถึง 16 มิลลิเมตร การเปลี่ยนแปลงเฟสของ PWV ประจำปีอยู่ที่ประมาณ -0.428 ซึ่งอยู่ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมในฤดูฝนและเป็นช่วงที่มีค่า PWV สูงสุดประจำปี สำหรับเกณฑ์ใหม่ในการพิจารณาวันเริ่มต้นฤดูมรสุมใช้ค่า PWV เฉลี่ยในวันที่ฝนตกในเดือนพฤษภาคม ปี 2007-2016 ของสถานีจันทบุรีเป็นตัวกำหนด ซึ่งพบว่าเกณฑ์ใหม่ในการพิจารณาวันเริ่มต้นฤดูมรสุมเป็นวันที่ค่า GPS-PWV เฉลี่ยในเดือนพฤษภาคมสูงกว่า 58.5 มิลลิเมตร เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน หลังจากการทดสอบพบว่า เกณฑ์ใหม่ให้ผลลัพธ์ที่ดีหลังจากมีการกำหนดวันเข้าสู่ฤดูมรสุมแล้วจะมีปริมาณน้ำฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง และเมื่อใช้เกณฑ์การวิเคราะห์ในรูปแบบเดียวกันนี้กับภูมิภาคอื่นที่อยู่ละติจูดที่สูงขึ้น พบว่า การเข้าสู่ฤดูมรสุมจะมาช้ากว่าประมาณ 3-5 วัน ตามบริบทของพื้นที่ซึ่งถือได้ว่ามีความละเอียดสอดคล้องกับสภาพจริงของพื้นที่มากกว่าเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาซึ่งใช้เกณฑ์เดียวกันทั่วประเทศ
Other Abstract: This research aims to analyze variation in a time series of Precipitable Water Vapor (PWV time series) to determine an alternative monsoon onset date for THAILAND using GPS-PWV from 11 widely-distributed Continuously Operating Reference Stations (CORS) from 2007 to 2016 and processing with PPP technique using PANDA software. It was found that the relationship of the PWV is inversely proportional to the elevation. Trends of PWV ​​in the northern and northeastern regions have a positive, indicating that Rainfall tends to increase over the long term. On the other hand, the trend of PWV in the central, eastern, western, and southern regions is negative, showing that rainfall is likely to decrease in the long term. The annual amplitude of average PWV ranges from 7 to 16 millimeters, and the phase shift of annual PWV is about -0.428 (around July, rainy season) and is the period with the highest annual PWV. The new threshold for determining the monsoon onset date is based on the average PWV on rainy days in May 2007-2016 of Chanthaburi Station. It was found that the new threshold was the days when the average GPS-PWV in May was higher than 58.50 millimeters for three consecutive days. After testing, it was found that the new threshold provided good results, with continuous rainfall after specifying the monsoon onset date with a new threshold. For other regions, the onset of the monsoon season will start later than about 3-5 days. It can be considered that the resolution is more in line with the actual conditions of the area than the criteria of the TMD, which has the same criteria for the whole country.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70296
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1273
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1273
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6071414521.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.