Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7063
Title: | กรณีศึกษา : สภาพและปัญหาทางการศึกษา ของชาวกะเหรี่ยงเผ่าสะกอ บ้านผาแตก ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ : รายงานผลการวิจัย |
Authors: | พชรวรรณ จันทรางศุ |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | กะเหรี่ยง -- การศึกษา -- ไทย ชนกลุ่มน้อย -- การศึกษา -- ไทย บ้านผาแตก (เชียงใหม่) |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มุ่งศึกษาสภาพและปัญหาทางการศึกษาทั้งในและนอกโรงเรียนของชาวกะเหรี่ยงเผ่าสะกอ เฉพาะกรณีบ้านผาแตก ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ การศึกษาเอกสารและการออกสำรวจภาคสนาม ซึ่งได้ใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มผู้นำชุมชน ครู ผู้บริหารโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ทางราชการ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นโยบายรวมพวก (Intergration) ของรัฐ ซึ่งมุ่งให้การศึกษาเป็นปัจจัยในการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างชาวเขากับสังคมไทยนั้น กระทำได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แม้จะได้รับสัญชาติไทย มีสิทธิทัดเทียมคนไทยทั่วไป แต่การปรับตัวเข้ากับสังคมไทยเป็นไปอย่างเชื่องช้า ชาวกะเหรี่ยงเผ่าสะกอบ้านผาแตกนี้ ยังคงรักษาเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ไว้ ไม่ว่าจะเป็นภาษา การแต่งกาย ความเชื่อ และการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ตามจารีตประเพณีกระเหรี่ยง ไม่มีการศึกษาในระบบโรงเรียน ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมและงานอาชีพให้แก่บุตรหลาน ทางราชการถือว่าเด็กกะเหรี่ยงเป็นเด็กคนไทย จึงให้สิทธิเข้ารับการศึกษาภาคบังคับตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 ในโรงเรียนของหมู่บ้าน ทางโรงเรียนประสบปัญหาด้านการใช้หลักสูตรและการสอนไม่สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น คุณภาพของการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ สปช. ด้วยอุปสรรคด้านพื้นฐานทางวัฒนธรรมเป็นสำคัญ การปรับรูปแบบของการจัดการศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งซึ่งผสมผสานเข้ากับชีวิตในชุมชน คือ ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น |
Other Abstract: | The purpose of this study was to examine the state of education and the problems of the Skaw Karen, both in and out of school in Phataek Village, Tambol Soppeng, Maetaeng District, Chiengmai. The methods used for this study were documentary research and field study, with emphasis on observation and interviews of key informants, such as community leaders, school teachers and administrators, students, parents, and government officials. The findings of this research are as follows: the integration policy of the government to use education as a factor in mixing the culture of the hilltribe people with the Thai society has been successful only to a point. Although the Karen of the Skaw group have been granted Thai nationality and enjoy rights and priviledges as full citizens, they have been slow in adapting into the Thai Society. These Karens still maintain their own ethnic characteristics in language, costume, beliefs, rituals, etc. Traditionally, the Karen had no formal schooling. The family has played a major role in passing along their own customs and work-oriented experiences to their off-spring. The government considers the Karen's children as Thais and therefore allows them to receive education according to the compulsory education curriculum set up in B.E. 2521 for elementary education in the village school. The school finds it difficult to implement the existing curriculum so that it meets local needs. Educational standards are lower than those set up by the Office of National Primary Education Commission, mainly because of a lack of understanding among school officials of the Karen's cultural background. This study suggests that this problem could be solved by integrating the educational approach into the life of the community. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7063 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pacharawan(edu).pdf | 19.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.