Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70929
Title: การเปิดเผยตนเองและความชอบพอคู่สนทนาทางอินเทอร์เน็ต ของนิสิตนักศึกษา
Other Titles: University students' self-disclosure and liking for the Internet conversation partners
Authors: วิรัญญา ชาญวิชัย
Advisors: คัคนางค์ มณีศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: อินเทอร์เน็ต
การเปิดเผยตนเอง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยตนเองกับระดับความชอบพอคู่สนทนาและเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการเปิดเผยตนเองระหว่างคู่สนทนาเพศเดียวกันและระหว่างคู่สนทนาต่างเพศของนิสิตนักศึกษา ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คนตอบมาตรวัด 3 ฉบับได้แก่ มาตรวัดระดับการเปิดเผยตนเองของกลุ่มตัวอย่าง มาตรวัดระดับการเปิดเผยตนเองของคู่สนทนาตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างและมาตรวัดระดับความชอบพอที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อคู่สนทนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการเปิดเผยตนเองของนิสิตนักศึกษามีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับระดับความชอบพอที่นิสิตนักศึกษามีต่อดู่สนทนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<.001 ) 2. ระดับการเปิดเผยตนเองของคู่สนทนาตามการรับรู้ของนิสิตนักศึกษามีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับระดับความชอบพอที่นิสิตนักศึกษามีต่อคู่สนทนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001 ) 3. สหสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยตนเองที่นิสิตนักศึกษาเปิดเผยต่อคู่สนทนาของตนกับระดับความชอบพอที่นิสิตนักศึกษามีต่อคู่สนทนาของตนมีค่าไม่แตกต่างจากสหสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยตนเองที่คู่สนทนาเปิดเผยต่อนิสิตนักศึกษาตามการรับรู้ของนิสิตนักศึกษากับระดับความชอบพอที่นิสิตนักศึกษามีต่อคู่สนทนา 4. ในการสนทนาระหว่างคู่สนทนาที่เป็นเพศเดียวกัน ระดับการเปิดเผยตนเองของนิสิตนักศึกษาหญิงและนิสิตนักศึกษาชายไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ในการสนทนาระหว่างคู่สนทนาต่างเพศกัน ระดับการเปิดเผยตนเองของนิสิตนักศึกษาหญิงและนิสิตนักศึกษาชายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่านิสิตนักศึกษาชายมีระดับการเปิดเผยตนเองสูงกว่านิสิตนักศึกษาหญิง
Other Abstract: The purpose of this research was to study relationships among the level of self-disclosure and the level of liking for the Internet conversation partners and to study the self-disclosure differences in same-sex conversation and in opposite-sex conversation of university students. Three measures: the subjects' self-disclosure scale, the perceived partners’ self-disclosure scale and the liking scale were given to 300 university students. Results show that: 1. The level of students’ self-disclosure correlates positively with the level of liking for the Internet conversation partner in a linear fashion (p<.001). 2. The level of partners’ self-disclosure correlates positively with the level of liking for the Internet conversation partner in a linear fashion (p<.001). 3. The correlation between the level of students’ self-disclosure and the level of liking for the partners does not differ significantly from the correlation between the level of perceived partners’ self-disclosure and the level of liking for the partners. 4. There is no significant difference between females’ and males' self-disclosure level in same-sex conversation partners. 5. There is a significant difference between females’ and males’ self-disclosure level in opposite-sex conversation; that is, males disclose more than females.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70929
ISBN: 9743467874
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Viranya_ch_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ792.01 kBAdobe PDFView/Open
Viranya_ch_ch1_p.pdfบทที่ 11.54 MBAdobe PDFView/Open
Viranya_ch_ch2_p.pdfบทที่ 2967.82 kBAdobe PDFView/Open
Viranya_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3929.97 kBAdobe PDFView/Open
Viranya_ch_ch4_p.pdfบทที่ 4830.38 kBAdobe PDFView/Open
Viranya_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5687.45 kBAdobe PDFView/Open
Viranya_ch_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.