Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7107
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการจับตัวของตะกั่วและทองแดงต่อเซอรูโลพลาสมิน : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Comparative study of Cu binding on ceruloplasmin
Authors: สุกัญญา สุนทรส
Email: Suganya@chula.ac.th, ssukanya@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เซอรูโลพลาสมิน
ทองแดง
ตะกั่ว
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เซอรูโลพลาสมิน คือโปรตีนในซีรัมที่ทำหน้าที่ขนส่งทองแดง โดยสามารถจับกับทองแดงได้ถึง 8 อะตอม/โมเลกุล เซอรูโลพลาสมินยังสามารถเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงเรียกได้ว่าออกซิเดสอีกด้วย การเร่งปฏิกิริยานี้ต้องใช้ทองแดงที่เกาะอยู่กับโมเลกุลด้วย ผลจากอะตอนมิกแอปซอร์พชัน สเปคโตรโฟโตเมตรีชี้ให้เห็นว่าตะกั่วสามารถจับกับเซอรูโลพลาสมินได้ โดยแทนที่ทองแดง โลหะทั้งสองจับกับเซอรูโลพลาสมินได้สูงที่สุดที่ pH 6.0 และเมื่อเก็บไว้ที่ 4 ซ. รูปที่จับกับตะกั่วจะเสถียรอยู่ได้ 3 วัน จากนั้นปริมาณตะกั่วจะค่อยๆ ลดลง ในวันที่ 18 จะเหลือเพียงประมาณ 35% อย่างไรก็ตามตะกั่วสามารถแทนที่ทองแดงได้เพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวคือมีตะกั่วอยู่ประมาณ 2 อะตอม/โมเลกุลของเซอรูโลพลาสมินเท่านั้น นอกจากนั้นยังพบว่าปริมาณตะกั่วที่เพิ่มขึ้น ปริมาณทองแดงและออกซิเดสแอ็คติวิตีที่ลดลงขึ้นกับความเข้มข้นของตะกั่ว และมีความสัมพันธ์กันชัดเจน การศึกษานี้ยังใช้สารจับโลหะ (metal chelators) 3 ชนิด ได้แก่ 2, 3 Dimercapto-1-propane sulfonic acid (DMPS), Ethylenediamine tetrasodium salt (Na[subscript 4]EDTA), และ Penicillamine ดึงทองแดงออกจากเซอรูโลพลาสมินด้วย พบว่า DMPS เป็นตัวจับโลหะที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการดึงทองแดงออกจากเซอรูโลพลาสมิน ตัวดึงทองแดงทั้งสามสามารถลดออกซิเดส แอ็คติวิตีได้มากกว่าตะกั่ว การทดลองนี้ยังวิเคราะห์เซอรูโลพลาสมินด้วยไอโซอิเล็กตริกโฟกัสซิงในพอลิคริลาไมด์เจล (isoelectric focusing polyacrylamide gel electrophoresis) ที่ pH 4-6 พบว่าระบบนี้ไม่สามารถจำแนกเซอรูโลพลาสมิน ในรูปที่จับกับไม่จับกับทองแดงหรือตะกั่วได้ ผลดังกล่าวสามารถใช้ช่วยอธิบายการจับของโลหะทั้งสองต่อเซอรูโลพลาสมินได้
Other Abstract: Ceruloplasmin, the copper-transporting protein in human serum carried 8 atoms of copper (Cu) per molecule. The protein also possessed oxidase activity, of which its full function required the presence of coppers. The results from atomic absorption spectrophotometry demonstrated the lead (Pb) could also bind of this proein by replacing the former metal. The binding of both metal reached maximum at pH 6.0, the lead-bound complex was stable for about 3 days while stored at 4 C, the amount decreased with time, only 35% remained on day 18. However, copper could only partially replaced by lead Pb, atomic absorption spectrophotometry showed that only 2 atoms of lead were found on ceruloplasmin molecule. Moreover, lead binding, copper release and decrease of oxidase activity were concentration dependent and corresponded very well with each other. Three metal chelators, namely 2, 3 Dimercapto-1-propane sulfonic acid (DMPS), Ethylenediamine tetrasodium salt (Na[subscript 4]EDTA) and Penicillamine, were used to chelate copper from ceruloplasmin, DMPS was the most effective agent. The decreases in oxidase activity was more pronounced with metal chelators than with lead. In isoelectric focusing gel polyacrylamine electrophoresis of pH4-6, copper or tread could not shift ceruloplasmin band. The dissussion of metal binding sites in ceruloplasmin was included.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7107
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suganya(comp).pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.