Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71436
Title: เดี่ยวปี่ในเชิดนอก : ทางครูปี๊บ คงลายทอง
Other Titles: Pii Nai solo in Choed Nok : Khru Peeb Konglaithong's style
Authors: ปาณิสรา เผือกแห้ว
Advisors: บุษกร สำโรงทอง
ปี๊บ คงลายทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bussakorn.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปี๊บ คงลายทอง
ปี่ใน
การวิเคราะห์เพลง
Peeb Konglaithong
Pii Nai
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพลงเชิดนอกเดิมเป็นเพลงสำหรับปี่เป่าประกอบการแสดงชุดจับลิงหัวค่ำ ซึ่งเป็นการแสดงเบิกโรงหนังใหญ่โดยเฉพาะ ต่อมามีผู้นำเพลงเชิดนอกมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวสำหรับเครื่องมืออื่นๆ กันแพร่หลาย ทว่าปี่ก็ยังคงเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ของเพลงเชิดนอกได้สมบูรณ์ที่สุดทางเดี่ยวปี่ในเชิดนอกของสำนักเสนาะดุริยางค์ถือเป็นทางเดี่ยวทางหนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ในปัจจุบันครูปี๊บ คงลายทองเป็นผู้สืบทอดทางเดี่ยวดังกล่าวไว้ งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเดี่ยวปี่ในเชิดนอกทางครูปี๊บคงลายทอง วิเคราะห์สังคีตลักษณ์และเอกลักษณ์ของทางเดี่ยวดังกล่าว รวมถึงศึกษากลวิธีการเดี่ยวปี่ในชิดนอกประกอบการแสดงชุดหนุมานจับนางเบญกาย ซึ่งดำเนินการวิจัยโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ การวิจัยเอกสาร และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่าเดี่ยวปี่ในเชิดนอกมีได้ 3 โอกาส คือ เดี่ยวประกอบการแสดงหนังใหญ่ เดี่ยวเพื่ออวดฝีมือ และเดี่ยวประกอบการแสดงโขนละคร ในเรื่องสังคีตลักษณ์พบว่าเดี่ยวปี่ในเชิดนอกมีความพิเศษในเรื่องของจังหวะ และมีเอกลักษณ์ในการใช้เม็ดพรายที่แพรวพราว การใช้ท่วงทำนองที่หลายหลาก อีกทั้งมีการใช้สำนวนขึ้นและสำนวนจบที่สมบูรณ์ ในเรื่องกลวิธีการเดี่ยวปี่ในประกอบการแสดงชุดหนุมานจับนางเบญจกายพบว่าการแสดงชุดนี้มีความยืดหยุ่นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ ผู้บรรเลงและผู้แสดงจึงต้องเป็นผู้มีความชำนาญและมีไหวพริบปฏิภาณสูง เดี่ยวปี่ในเชิดนอกจึงเป็นผลงานเพลงที่ทรงคุณค่าด้วยความวิจิตรงดงามในเชิงคีตศิลป์จนเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
Other Abstract: Choed Nok was originally composed to accompany the Chab Ling Hua Khum performance at the beginning of the Greater Shadow play. The melody was solely played by a Pii Nai player and later it served as a model for thai composers to make various solo versions out of the original melody. Amongst all instrumental solo pieces of Choed Nok, Pii Nai solo in Choed Nok is able to carry out emotional quality of the melody better than other instrumental solo pieces. Developed by Phayasanohduriyang's school during the reign of King Rama V, Choed Nok solo for Pii Nai was continuously passed down until today. At present, Khru Peeb Konglaithong inherits this solo style. This research aims to study the contexts of Choed Nok solo for Pii Nai in Khru Peeb Konglaithong's style. In addition, the research's objective is to analyze the musical form, the characteristics, and its identity. The research also focuses on playing techniques of this style, which is used to accompany the episode of Hanuman Chab Nang Benyakai Performance in Thai masked dance. The data was collected by interviews, documentary research, and participant-observation. The research findings shows that there are three occasions to play this melody: the Greater Shadow play, displaying skills of soloists, and Khon-Lakhon performance. The musical analysis reveals that the solo is unique because of its complex timing and rhythmic concepts. The specialties of this style are exceptional embellishments, diversity of melodic variations, the completion of an introduction and absolute ending. Regarding the playing techniques of Choed Nok solo accompanying Chab Nang Benyakai performance, the Pii Nai solo can be flexible and adjusted to each performance and each situation. Therefore, the soloist and performers must attain advanced expertise, maturity, and knowledge. In conclusion, Choed Nok solo for Pii Nai in Khru Peeb Konglaithong's style is the great art and has been regarded as the well-known style as a result of long musical tradition.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71436
ISBN: 9741420951
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panisara_ph_front_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Panisara_ph_ch1_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Panisara_ph_ch2_p.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open
Panisara_ph_ch3_p.pdf7.49 MBAdobe PDFView/Open
Panisara_ph_ch4_p.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open
Panisara_ph_ch5_p.pdf861.91 kBAdobe PDFView/Open
Panisara_ph_back_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.