Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7167
Title: | พะเยาท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์กับความเป็นท้องถิ่น : หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์กับการท่องเที่ยว : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Phayao under globalization and localization : one tambon one product and tourism |
Authors: | ปรีชา คุวินทร์พันธุ์ |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Subjects: | กว๊านพะเยา พะเยา -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การมีส่วนร่วมทางสังคม บทบาทสตรี -- พะเยา ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย -- พะเยา บ้านสันป่าม่วง (พะเยา) -- ภาวะสังคม บ้านสันป่าม่วง (พะเยา) -- ภาวะเศรษฐกิจ บ้านสันป่าม่วง (พะเยา) |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ผลิตภัณฑ์ผักตบชวาบ้านสันป่าม่วง เป็นผลิตภัณฑ์ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดพะเยา ความสำเร็จของโครงการฯ เกิดจากความร่วมมือกันของคนในหมู่บ้าน ภายใต้ผู้นำสตรีที่เข้มแข็ง และการสนับสนุนของทางราชการที่เกี่ยวข้อง ความสำเร็จนี้ต้องเข้าใจในบริบทของการพัฒนาจังหวัดพะเยาโดยเฉพาะโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยาที่ครอบคลุมการพัฒนากว๊านพะเยา เพื่อการท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยเป็นส่วนหนึ่ง การจักสานผักตบชวาทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริม และมีผลต่อความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว และของชุมชน ทำให้เกิดความรักท้องถิ่น และภูมิใจในผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น พะเยาเป็นจังหวัดเล็กๆทางภาคเหนือตอนบน เป็นจังหวัดที่เก่าแก่และมีแหล่งธรรมชาติที่งดงาม ปัจจุบันความเป็นท้องถิ่นและอนุรักษ์นิยมของคนพะเยาทำให้พะเยาไม่ได้ถูกครอบงำโดยอิทธิพลทุนนิยมภายนอกโดยสิ้นเชิง ลัทธิบริโภคนิยมยังไม่รุนแรง คนพะเยามีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย การพัฒนาการท่องเที่ยวขนาดใหญ่อาจทำให้พะเยาสูญเสียเสน่ห์และอัตลักษณ์นี้ไป ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มพัฒนาและกลุ่มอนุรักษ์หรือรัฐกับประชาชนในเรื่องนี้เกิดขึ้นแล้วในช่วงเวลาหนึ่งท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาการท่องเที่ยวและโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จำต้องพิจารณาในกรอบของธรรมชาติมนุษย์ 3 มิติ คือ มนุษย์เศรษฐกิจ มนุษย์สังคม และมนุษย์วัฒนธรรม หรือมนุษย์ทางศีลธรรมและความสวยงาม สมดุลระหว่างธรรมชาติมนุษย์ทั้ง 3 มิติ ทั้งในด้านจิตใจของบุคคล และชุมชนเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาจังหวัดพะเยา อนาคตของพะเยาขึ้นอยู่กับผู้กระทำตัวแทนและชาวพะเยาในการเลือกและตัดสินใจ |
Other Abstract: | Water hyacinth fiber products of Ban San Pa Muong is under the one Tambon One Product (OTOP) scheme of Phayao Province. The success of the San Pa Muong hyacinth production group is attributable to the co-operation among villagers under the supervision of a prominent and charismatic female leader, and also derived from the major supports from relevant government agencies. The success must be perceived in the wider context of the promotion and development on tourism of province with which tourism around the Kwan Phayao (Phayao natural public pond) in the heartland of the city and the surrounding rural village communities are involved. The weaving of hyacinth fiber generates extra income and enhances the women’s role in the community. This indeed helps kindle the group spirit among members of the family and community, and further strengthens the people’s love of their homeland the pride of their products made upon local wisdom. Phayao is a small province located in the Upper Northern region. Its history can be traced as far back as the Sukhothai and Chiangmai Kingdoms. Phayao possesses many natural attractive sites popular for tourism. At present, the sense of localization and conservatism of the Phayao people has protected Phayao no to be fully exploited from outside capitalism. Consumerism has not reached Phayao to the point that peaceful and simple life of the people is distributed. Big scheme projects on the development and promotion of tourism may in the future introduce new elements that would make Phayao lose its present charms and local identity. Indeed, conflicts between the “progress” and the “conservative” or between state and people have occurred for a certain period. Development and promotion of tourism and OTOP scheme has to examined under the global forces within three dimensions of human-nature, i.e. economic, the social and the cultural or the moral man. Balancing between these dimensions within one’s own self and the community in any development schemes, has to be closely observed. The future of Phayao Province is nonetheless rested in the hand of its agencies and the people themselves in order to choose and make decision. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7167 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pol - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preecha.pdf | 11.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.