Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71740
Title: กรณีมายาเกวซ : ศึกษาการตัดสินนโยบายในภาวะวิกฤตการณ์
Other Titles: Mayaquez incident : a study of crisis decision-making
Authors: จุฬาพร เอื้อรักสกุล
Advisors: สุขุมพันธุ์ บริพัตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- สหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกา -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทย
ความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐอเมริกา -- ไทย
เรือมายาเกวซ
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในเหตุการณ์มายาเกวซ โดยมีสมมุติฐานว่า การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างอำนาจรัฐ การเข้าใจสถานการณ์ (perception) ของผู้ตัดสินใจ และบทบาทของกลุ่มนอกระบบราชการเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจของรัฐบาลในกรณีวิกฤตการณ์มายาเกวซ จากการศึกษาพบว่าถึงแม้ปัจจัยด้านการเมืองระหว่างประเทศจะเป็นปัจจัยที่ไม่อาจละเลยได้เพราะการเข้าใจสถานการณ์ของผู้กำหนดนโยบายนั้น ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดล้อมภายนอก อีกทั้งการที่รัฐบาลแสดงความประนีประนอมกับสหรัฐฯ ในที่สุดนั้น ก็เป็นผลอย่างสำคัญจากปัจจัย เรื่องระบบพันธมิตรกับสหรัฐฯ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลก็คือ ปัจจัยด้านการเมืองภายใน กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างอำนาจรัฐหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งทำให้มีผู้นำเป็นพลเรือนแทนที่ฝ่ายทหารและกลุ่มผู้นำเหล่านี้ได้มีทัศนะการมองความสัมพันธ์กับสหรัฐต่างจากรัฐบาลทหาร อีกทั้งยังมีความต้องการทางการเมืองต่างออกไปด้วยขณะเดียวกัน เหตุการณ์ 14 ตุลาคมก็ได้ทำให้การเมืองไทยมีลักษณะเสรีมากที่สุดครั้งหนึ่งซึ่งทำให้กลุ่มพลังการเมืองต่าง ๆ ได้มีบทบาทอย่างกว้างขวางต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้นอันรวมถึงในเหตุการณ์นี้ด้วย เพราะฉนั้น จึงสรุปได้ว่าการศึกษาดังกล่าวยืนยันและสนับสนุนสมมติฐานของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้
Other Abstract: This thesis aims to study the factors which influence the Thai government’s decisions during the Mayaguez incident. Its hypothesis holds that internal factors, namely changes in the political system after 14 October 1973, Thai leaders’ perceptions and the roles of extra-bureaucratic political groups, are the crucial ones in influencing the government’s decisions. From the analysis contained in this thesis it is found that, although external factors can not be disregarded, for they impact upon Thai leaders’ perceptions of the U.S. and the Thai-American alliance, it is the internal factors which were the most important. Of particular significance was the change from military to civilian government whose members had different perspectives on the American alliance and different political requirements from military officers, Moreover, the change from “closed” to “open” politics in this period also allowed a number of political forces to assert themselves and influence policy-making in general and in the Mayaguez incident in particular. Thus, it can be said that the analysis serves to support the hypothesis put forward in this thesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2529
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71740
ISBN: 9745662933
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Julaporn_Eu_front_p.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open
Julaporn_Eu_Ch1_p.pdf9.13 MBAdobe PDFView/Open
Julaporn_Eu_Ch2_p.pdf15.75 MBAdobe PDFView/Open
Julaporn_Eu_Ch3_p.pdf29.08 MBAdobe PDFView/Open
Julaporn_Eu_Ch4_p.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Julaporn_Eu_back_p.pdf17.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.