Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71761
Title: สภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตเพนนิซิลิน จี โดย เพนนิซิเลียม ไคลโซจีนัม เอ 88
Other Titles: Optimal conditions for the production of penicillin G by penicillium chrysogenum A 88
Authors: วนิดา เรืองศรี
Advisors: นลิน นิลอุบล
สุรีนา ชวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เพนนิซิลลิน -- การผลิต
เชื้อรา -- การเปลี่ยนสภาพ
Penicillin -- Manufacture
Fungi -- Differentiation
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตเพนนิซิลิน จี โดย P.chrysogenum A 88 ในขวดรูปชมพู่ พบว่าอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมสำหรับการเจริญและสร้างเพนนิซิลิน จี ประกอบด้วย น้ำตาลแลคโตส 30 กรัม/ลิตร ร่วมกับน้ำตาลกลูโคส 10 กรัม/ลิตร เป็นแหล่งคาร์บอน และสารละลายย่อยด้วยกรดกำมะถันของกากถั่วเหลืองที่สกัดไขมันแล้ว ที่มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด 1.5 กรัม/ลิตร ร่วมกับแอมโมเนียซัลเฟต 5 กรัม/ลิตร เป็นแหล่งไนโตรเจน และอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 25 องศาเซลเซียส เมื่อนำเชื้อ P.chrysogenum A 88 ไปเลี้ยงในถังหมักขนาด 5 ลิตร พบว่า เชื้อราผลิตเพนนิซิลิน จี ได้มากที่สุดเมื่อเลี้ยงเชื้อโดยใช้อัตราการกวน 400 รอบ/นาที ให้อากาศด้วยอัตรา 1 ลิตร/1 ลิตรของอาหาร/นาที ควบคุมความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.8-7.1 ตลอดการหมัก เติมกรดฟีนิลอะซีติกเริ่มต้นประมาณ 0.7 กรัม/ลิตร ในชม.ที่ 24 ของการหมัก เติมสารละลายกลูโคส เข้มข้น 15% (น้ำหนัก/ปริมาตร) ด้วยอัตรา 5 มล./ชม. ทุกๆ ชม.ตลอดการหมัก โดยเริ่มเติมในชม.ที่ 12 เติมกรดฟีนิลอะซีติกเข้มข้น 0.45% (น้ำหนัก/ปริมาตร) 20 มล. ทุกๆ 6 ชม. ตลอดการหมัก โดยเริ่มเติมในชม.ที่ 48 ด้วยการเลี้ยงเชื้อในสภาวะดังกล่าวทำให้เชื้อราสร้างเพนนิซิลิน จี ได้ถึง 8,175 หน่วย/มล. ในชม.ที่ 144 ของการหมัก. จากการติดตามปริมาณน้ำตาลรีดิวส์ แอมโมเนียไนโตรเจน และซัลเฟต ในระยะเวลาต่างๆของการหมัก พบว่าสารอาหารดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวจำกัดการสร้างเพนนิซิลิน จี ภายใต้การทดลองนี้ และเมื่อเพิ่มอัตราการเติมสารตั้งต้น ก็ไม่ได้ทำให้เชื้อสร้างเพนนิซิลิน จี เพิ่มขึ้น แต่เมื่อนำสายใยของเชื้อรามาถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์ พบว่า ในชม.ที่ 144 ของการหมัก สายใยเริ่มมีการสลายตัวทำให้เซลมีประสิทธิภาพในการสร้างเพนนิซิลิน จี น้อยลง ดังนั้นขีดจำกัดของการสร้างเพนนิซิลิน จี อยู่ที่สายใยของเชื้อรา. ผลการปรับสภาวะต่างๆ ของการหมักที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ปริมาณเพนนิซิลิน จี ที่ผลิตได้เพิ่มจาก 3,570 หน่วย/มล. ในระยะแรกก่อนการปรับสภาวะต่างๆ ในการหมักเป็น 8,175 หน่วย/มล. หรือ 3.52 กรัม/ลิตร
Other Abstract: The optimal conditions for the production of penicillin G by P.chrysogenum A 88 in shaken flask were determined. Medium containing 30 g/l lactose, 10 g/l glucose, 1.5 g/l total nitrogen of defatted soybean meal hydrolysate and 5g/l ammonium sulfate was found to be the best for the production whereas the optimal temperature for cultivation was 25 degree celsius. The optimal conditions for the production of penicillin G in 5-L fermentor were found as follows :pH of the medium was controlled in the range of 5.8-7.1, agitation rate was 400 rpm. with 1 vvm. aeration rate, 0.7 g/l phenylacetic acid was added after 24 hours of cultivation, continuous feeding of 15% (W/V) glucose solution at the rate of 5 ml/hour was done starting at 12 hours of cultivation and 0.45% (W/V) phenylacetic acid was applied at the rate of 20 ml/6 hours after 48 hours of cultivation. Under these conditions, 8,175 unit/ml of penicillin G was obtained at 144 hours of cultivation. According to these conditions, it was observed that reducing sugar, ammonia nitrogen and sulfate were not the limiting factor of the penicillin G production. The increase in feeding rate of precursor had no effect on the rate of penicillin G production. However, from the microscopic analyses revealed that at 144 hours of cultivation mycelium began to decompose corresponding to the reduction in efficiency of penicillin G production. Thus the limiting factor of penicillin G production was due to the physical condition of the mycelium. By using the conditions as described above, the penicillin G production by P. chrysogenum A 88 was increased from the initial of 3,570 units/ml to 8,175 units/ml.
Description: วิทยานิพนธ์(วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71761
ISBN: 9745698776
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vanida_ru_front.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ15.3 MBAdobe PDFView/Open
Vanida_ru_ch1.pdfบทที่ 116.01 MBAdobe PDFView/Open
Vanida_ru_ch2.pdfบทที่ 213.21 MBAdobe PDFView/Open
Vanida_ru_ch3.pdfบทที่ 353.08 MBAdobe PDFView/Open
Vanida_ru_ch4.pdfบทที่ 414.14 MBAdobe PDFView/Open
Vanida_ru_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก22.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.