Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71907
Title: การหมักแอลกอฮอล์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยใช้เซลลูเลสและ Saccharomyces cerevisiae
Other Titles: Alcoholic fermentation of crop residues using cellulase and Saccharomyces cerevisiae
Authors: อำนวย ขวัญเมือง
Advisors: หรรษา ปุณณะพยัคฆ์
มุกดา คูหิรัญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เซลลูเลส
แอลกอฮอล์
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เซลลูโลสเป็นสารอินทรีย์ที่พบได้ทั่วใปในวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย และต้นมันสำปะหลัง การใช้ประโยชน์โดยเปลี่ยนเป็นเอทธานอลทำได้โดยใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงการผลิตเอนไซม์ การหมักเอทธานอลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยใช้เอนไซม์จากเชื้อราย่อยสลายเซลลูโลสเป็นน้ำตาลกลูโคส และหมักน้ำตาลกลูโคส เป็นเอทธานอล จากการคัดเลือกเชื้อราเพื่อผลิตเอนไซม์เซลลูเลสจากเชื้อรา 2 ชนิด 3 สายพันธุ์ คือ T. reesei QM 9414 T. reesei QM 6a และ Aspergillus sp. No 3335 พบว่า T. reesei QM 6a ให้ activity ของเอนไซม์สูงสุดที่อายุ 9 วัน โดยมีค่าของ endoglucanase (CMCase) เท่าคับ 3.6973 หน่วย/มล. และ cellulase filter paper activity เท่ากับ 0.8525 หน่วย/มล. เมื่อทดสอบอายุการผลิต พบว่าอายุ 12 วัน ให้เอนไซม์สูงชุด ซึ่งเมื่อนำมาผลิตในถังหมักเป็นเวลา 12 วันจะได้ CMCase เท่ากับ 2.876 หน่วย/มล. และ FPA เท่าคับ 0.810 หน่วย/มล. การย่อยสลายฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย และต้นมันสำปะหลัง ที่ผ่านการปรับสภาพในด่างด้วยเอนไซม์ เพื่อการค้าและเอนไซม์ที่ผลิตได้จากเชื้อรา T. reesei OM 6a การย่อยสลายด้วยเอนไซม์ เพื่อการค้าให้ผลผลิตของน้ำตาลรีดิวซ์เท่ากับ 0.720 0.693 และ 0.525 กรัมต่อกรัมสับสเตรท
ผลผลิตของน้ำตาลกลูโคส เท่ากับ 0.353 0.345 และ 0.276 กรัม ต่อกรัมสับสเตรทในฟางข้าว ซังข้าวโพด และชานอ้อย ตามลำดับ การย่อยสลายด้วยเอนไซม์เซลลูเลสจากเชื้อรา T. reesei QM 6a ให้ผลผลิต ของน้ำตาลรีดิวซ์เท่ากับ 0.328 0.289 และ 0.216 กรัมต่อกรัมสับสเตรท ผลผลิตของน้ำตาลกลูโคส เท่ากับ 0.170 0.132 และ 0.158 กรมต่อกรัมสับสเตรท ในฟางข้าว ซังข้าวโพด และชานอ้อย ตามลำดับ ส่วนต้นมันสำปะหลังไม่เกิดปฏิกิริยาการย่อยสลายเมื่อใช้ทั้ง 2 วิธีการ การหมักเอทธานอลจากวัสดุที่ย่อยสลายโดยใช้เอนไซม์เพื่อการค้าและเอนไซม์เซลลูเลสจากเชื้อรา T. reesei QM 6a ผลผลิตของเอทธานอลในฟางข้าวเท่ากับ 0.145 และ 0.133 กรัมต่อกรัมสับสเตรท ซังข้าวโพดเท่ากับ 0.251 และ 0.156 กรัมต่อกรัมสับสเตรท และชานอ้อยเท่ากบ 0.156 และ 0.172 กรัมต่อกรัมสับสเตรท จากการย่อยด้วยเอนไซม์เพื่อการค้าและเอนไซม์เซลลูเลสจากเชื้อรา T. reesei QM 6a ตามลำดับ ผลการศึกษาที่ได้ในครั้งนี้ยังเป็นแนวทางที่จะนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรชนิดอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ และยังเป็นประโยชน์ต่อการผลิตเอทธานอลจากเซลลูโลสในอนาคตต่อไป
Other Abstract: Cellulose an organic material found all crop residues such as rice straws, corn cobs, bagasse and cassava stakls. May be converted into ethanol via biotechnological processes. This study emphasized on an from fungi and the ethanol fermentation from crop residues by enzymatic hydrolysis to glucose and fermentation into ethanol. The fungi studied for cellulase production were Trichoderma reesei QM 9414, T. reesei QM 6a and Aspergillus sp. No 3335. T. reesei QM 6a gave the maximum cellulase activity on the nineth days, with an average endoglucanase (CMCase) of 3.6973 unit/ml. and the cellulase filter paper activity 0.8525 unit/ml. The test of T. reesei QM 6a for cellulase production, revealed the maximum cellulase activity on the twelve days. The cellulase production using a fermentor for twelve days gave the enzyme with CMCase 2.876 unit/ml. and FPA 0.810 unit/ml. The alkali pretreated rice straws, corn cobs and cassvastalks were hydrolyzed by commercial enzymes and crude cellulase from T. reesei QM 6a. One gram per dryweight of rice straws, corn cobs and bagasse produced the reducing sugars of 0.720, 0.693 and 0.525 gram containing glucose of 0.353 0.345 0.276 gram from commercial enzymes hydrolysis respectively. The rice straws, corn cobs and bagasse hydrolysate by crude cellulase from T. reesei QM 6a, showed that one gram per dryweight produced the reducing sugars of 0.328, 0.289 and 0.216 gram containing glucose of 0.170, 0.132 and 0.158 gram respectively. Cassava stalks could not be hydrolyzed under these condition. The crop residues hydrolysate from commercial enzymes and T. reesei enzyme were fermented with Saccharomyces cerevisiae gave the maximum ethanol production of 0.156 and 0.133 gram per gram substrate (g/g) from rice straws, 0.251 and 0.156 g/g form corn cobs and 0.156 and 0.172 g/g from bagasse. The result of this research may be applicable to various other crop residues for the ethanol production from cellulose in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71907
ISBN: 97458445485
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amnuay_kw_front_p.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Amnuay_kw_ch1_p.pdf865.36 kBAdobe PDFView/Open
Amnuay_kw_ch2_p.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Amnuay_kw_ch3_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Amnuay_kw_ch4_p.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Amnuay_kw_ch5_p.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Amnuay_kw_back_p.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.