Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71
Title: ผลของการลิดรอนเสรีภาพกับความสำนึกในตนเองแบบบุคคลต่อปฏิกิริยาทางจิต
Other Titles: Effects of restriction of freedom and private self-consciousness on psychological reactance
Authors: ปรมะ ฉกาจทรงศักดิ์, 2519-
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: theeraporn.u@chula.ac.th
Subjects: ปฏิกิริยาทางจิต
เสรีภาพ (จิตวิทยา)
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปฏิกิริยาทางจิตที่เกิดขึ้นจากการลิดรอนเสรีภาพแบบบุคคลและแบบสถานการณ์กับความสำนึกในตนเองแบบบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี จำนวน 160 คน กลุ่มตัวอย่างผ่านการคัดเลือกเป็นกลุ่มที่มีความสำนึกในตนเองแบบบุคคลสูง (HP) 80 คน ชาย 40 คน และหญิง 40 คน และกลุ่มที่มีความสำนึกในตนเองแบบบุคคลต่ำ (LP) 80 คน ชาย 40 คน และหญิง 40 คน รูปแบบการทดลองแบบ 2 ความสำนึกในตนเองแบบบุคคล คือ สูงและต่ำ x5 เงื่อนไขการลิดรอนเสรีภาพ คือ แบบบุคคลขัดขวางทางเลือกที่ต้องการน้อย (PR-NO) แบบบุคคลสนับสนุนทางเลือกที่ต้องการมาก (PR-YS) แบบสถานการณ์ขัดขวางทางเลือกที่ต้องการน้อย (ST-NO) แบบสถานการณ์สนับสนุนทางเลือกที่ต้องการมาก (ST-YS) และเงื่อนไขควบคุม หรือไม่มีการลิดรอนเสรีภาพ (CT) แต่ละกลุ่มมีผู้ร่วมการทดลอง 16 คน กลุ่มตัวอย่างประมาณค่าความชอบต่อสมุด 4 แบบ 2 ครั้ง หลังการประมาณค่าความชอบต่อสมุดครั้งที่ 1 ผู้ดำเนินการทดลองบอกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดว่าจะให้ประมาณค่าความชอบต่อสมุดอีก 1 ครั้ง และให้เลือกสมุด 1 เล่มเป็นของตอบแทน โดยให้ผู้ร่วมการทดลองนัดหมายเวลาและสถานที่ที่สะดวกในอีก 2 วัน ก่อนการประมาณค่าความชอบต่อสมุดครั้งที่ 2 ผู้ดำเนินการทดลองบอกเหตุผลในการลิดรอนเสรีภาพตามเงื่อนไขการทดลอง ยกเว้นเงื่อนไขควบคุม แล้วให้ทั้งหมดทำมาตรวัดเจตคติต่อผู้ดำเนินการทดลองวัดปฏิกิริยาทางจิตจากคะแนนการประมาณค่าความชอบต่อสมุดที่ถูกลิดรอนเสรีภาพที่เปลี่ยนแปลงระหว่างครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตในเงื่อนไข HP-PR มีปฏิกิริยาทางจิตมากกว่านิสิตในเงื่อนไข LP-PR 2. นิสิตในเงื่อนไข HP-PR มีปฏิกิริยาทางจิตไม่แตกต่างจากนิสิตในเงื่อนไข LP-ST 3. นิสิตในเงื่อนไข HP-ST มีปฏิกิริยาทางจิตไม่แตกต่างจากนิสิตในเงื่อนไข LP-PR และ LP-ST 4. นิสิตในเงื่อนไข HP-PR มีปฏิกิริยาทางจิตไม่แตกต่างจากนิสิตในเงื่อนไข HP-ST และ HP-CT 5. นิสิตในเงื่อนไข LP-PR มีปฏิกิริยาทางจิตมากกว่านิสิตในเงื่อนไข LP-ST 6. นิสิตในเงื่อนไข LP-PR มีปฏิกิริยาทางจิตไม่แตกต่างจากนิสิตในเงื่อนไข LP-CT 7. นิสิตในเงื่อนไข HP-PR-NO มีปฏิกิริยาทางจิตไม่แตกต่างจากนิสิตในเงื่อนไข HP-PR-YS 8. นิสิตในเงื่อนไข LP-PR-NO มีปฏิกิริยาทางจิตมากกว่านิสิตในเงื่อนไข LP-PR-YS 9. นิสิตในเงื่อนไข HP-CT และ LP-CT ประมาณค่าความชอบต่อสมุดอันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this research were to study the effects of freedom restriction and private self-consciousness on psychological reactance. Participants were 160 Chulalongkorn University undergraduate students, 80 high private self-consciousness students (HP), 40 males and 40 females, and 80 low private self-consciousness students (LP), 40 males and 40 females. The design was 2 private self-consciousness (HP vs. LP) x 5 reasons for freedom restriction [2 personal reasons: oppose (PR-NO) and support (PR-YS), 2 situational reasons: oppose (ST-NO) and support (ST-YS) and no freedom restriction or control (CT)], with 16 students in each cell. All students participated in the notebook ratings twice. After finishing the first rating session, all were told to return for a second rating session and would be allowed to choose one notebook as a compliment. Two days later, before the second rating session, each group received different reasons for freedom elimination, except the control group. They then responded on the scale measuring attitude toward the experimenter. The psychological reactance was measured by comparing the difference between the first and the second ratings of notebooks. The results are as follow: 1. Students in HP-PR condition have higher reactance than students in LP-PR condition. 2. Students’ reactance scores in HP-PR condition do not differ from students in LP-ST condition. 3. Students’ reactance scores in HP-ST condition do not differ from students in LP-PR and LP-ST condition. 4. Students’ reactance scores in HP-PR condition do not differ from students in HP-ST and HP-CT condition. 5. Students in LP-PR condition have higher reactance than students in LP-ST. 6. Students’ reactance scores in LP-PR condition do not differ from students in LP-CT. 7. Students’ reactance scores in HP-PR-NO condition do not differ from students in HP-PR-YS condition. 8. Students in LP-PR-NO condition have higher reactance than students in LP-PR-YS condition. 9. Students in HP-CT condition and LP-CT condition do not rate the second and the third ranked notebook differently between the first and the second ratings.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71
ISBN: 9745313734
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parama.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.