Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72058
Title: การประเมินคุณค่าการผสมพันธุ์โคนมในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม
Other Titles: Estimated breeding value of dairy cattle in dairy promotion project
Authors: สุพจน์ อานันทนะสุวงศ์
Advisors: จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ
ศักดิ์ชัย โตภาณุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: rchancha@chula.ac.th, Chancharat.R@Chula.ac.th
Subjects: โคนม -- การเลี้ยง
การผสมเชื้อ
การส่งเสริมการเกษตร
Dairy cattle -- Feeding and feeds
Fertilization (Biology)
Agricultural extension work
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้อมูลโคนมในโครงการ คปร. มีจำนวนข้อมูลเข้าทำการวิเคราะห์ทั้งสิ้น 3,667 บันทึก วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุศาสตร์ของลักษณะปริมาณน้ำนมที่ผลผลิต 100 วัน ด้วยวิธี Derivative Free Restricted Maximum Likelihood (DFREML) โดยโปรแกรมสำเร็จรูป MTDFREML ได้ค่าองค์ประกอบความแปรปรวนของตัวสัตว์ องค์ประกอบความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อน และค่าอัตราพันธุกรรม มีค่าเท่ากับ 10821.0 , 79172.0 และ 0.12 ตามลำดับ ประมาณคุณค่าการผสมพันธุ์ด้วยวิธี Best Linear Unbiased Prediction (BLUP) โดยโปรแกรมสำเร็จรูป PEST พบว่าค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมของผลผลิตที่ 100 วัน มีค่าเท่ากับ 958.8 ± 303.0 กิโลกรัม คุณค่าการผสมพันธุ์ของพ่อพันธุ์จำนวน 283 ตัว ในโครงการมีค่าสูงสุดและต่ำสุด เท่ากับ 96.6 และ -146.9 กิโลกรัมตามลำดับ แม่โคนมที่ให้ผลผลิตมีคุณค่าการผสมพันธุ์มีค่าสูงสุดและต่ำสุด เท่ากับ 129.9 และ -125.0 กิโลกรัมตามลำดับ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าคุณค่าการผสมพันธุ์ของพ่อพันธุ์ที่มีแหล่งกำเนิดต่างกันและแม่โคนมที่มีกลุ่มสายพันธุ์แตกต่างกัน โดยการเรียงลำดับด้วยวิธี Kruskall Wallis one way analysis of variance by ranks พบว่าค่าเฉลี่ยของลำดับคุณค่าการผสมพันธุ์ของพ่อพันธุ์แต่ละประเทศที่ใช้ในโครงการ คปร. ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ค่าเฉลี่ยของลำดับคุณค่าการผสมพันธุ์ของกลุ่มสายพันธุ์ของแม่โคจะมีความแตกต่างกัน ที่ P < 0.01 เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มสายพันธุ์ของโคนมในโครงการ คปร. ที่มีระดับสายเลือดมากกว่า 62.5 เปอร์เซ็นต์ พบว่าลำดับค่าเฉลี่ยของคุณค่าการผสมพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกัน
Other Abstract: One hundred day-milk production of 3,667 cows in the Goverment Dairy Promotion Project were used in this study. Genetic parameter estimates of milk yield at 100 days of production were analyzed by Derivative Free Restricted Maximum Likelihood (DFREML) which were calcuated by MTDFREML program. Animal variance, error variance and heritability were 10821.0 , 79172.0 and 0.12 , respectively. Breeding values were predicted by Best Linear Unbiased Prediction (BLUP) method using PEST program. The average milk yield at 100 days of production was 958.8 ± 303.0 kilograms. Total number of 283 sires exhibited maximum and minimum breeding values ranging from 96.6 to -146.7 kilograms. The maximum and minimum breeding values of cows were 129.9 and -125.0 kilograms , respectively. Kruskall Wallis One Way Analysis of Variance by ranks showed no difference in average breeding values among cows of different blood level of Bos taurus ( P < 0.01 ). However, there were no differences among average ranking of cows with higher than 62.5 % Bos taurus.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปรับปรุงพันธุ์สัตว์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72058
ISBN: 9746382012
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supot_an_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ618.15 kBAdobe PDFView/Open
Supot_an_ch1_p.pdfบทที่ 1958.31 kBAdobe PDFView/Open
Supot_an_ch2_p.pdfบทที่ 21.37 MBAdobe PDFView/Open
Supot_an_ch3_p.pdfบทที่ 3616.36 kBAdobe PDFView/Open
Supot_an_ch4_p.pdfบทที่ 4512.71 kBAdobe PDFView/Open
Supot_an_ch5_p.pdfบทที่ 5395.71 kBAdobe PDFView/Open
Supot_an_ch6_p.pdfบทที่ 6247.8 kBAdobe PDFView/Open
Supot_an_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก791.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.