Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72072
Title: ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการเสื่อมสภาพของหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
Other Titles: Environmental factors affecting deterioration of Moo phra wimarn, national museum, bangkok
Authors: โรจน์ คุณเอนก
Advisors: กำธร ธีรคุปต์
วทัญญู ณ ถลาง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
โบราณสถาน -- การเสื่อมสภาพ
National Museum, Bangkok
Antiquities -- Deterioration
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของหมู่พระวิมาน ทั้งปัจจัยทางกายภาพได้แก่อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณความเข้มแสง และปริมาณของฝุ่นละอองในอากาศ และปัจจัยทางชีวภาพได้แก่ สาหร่าย (ตะไคร่น้ำ) ที่เจริญบนผนังอาคาร นกพิราบ และค้างคาว ได้ดำเนินการศึกษาการเปลี่ยนแปลงประมาณของแต่ละปัจจัยในระยะเวลา 1 ปี พบว่า อุณหภูมิของอากาศ เปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 18 ถึง 48 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 29.13 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่ผนังอาคารแปลงเปลี่ยนอยู่ในช่วงระหว่าง 24 ถึง 46 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ด้านที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดคือด้านทิศใต้ของห้องผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯ และด้านที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุดอยู่ภายในสวนกลางอาคารด้านทิศใต้ โดยอุณหภูมิของอากาศนั้นพบว่าสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่ผนังอาคาร สำหรับความชื้นสัมพันธ์ของอากาศเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 28.1 ถึง 99 เปอร์เซนต์ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่75.77 เปอร์เซนต์ ส่วนปริมาณความเข้มแสงนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 1 ถึง 3,590 lux โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 236.97 lux สำหรับความเข้มข้นของฝุ่นละอองในอากาศที่ตรวจวัดในแนวทิศลมหลักไม่เกินค่ามาตรฐานโดยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 44.6610 ถึง 191.0309 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 117.8460 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนสาหร่ายที่พบเจริญอยู่บนผนังอาคารส่วนใหญ่เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ซึ่งพบ 3 อันดับ 5 ครอบครัว 10 สกุล คือ Chroococcus, Gloeocapsa, Oscillatoria, Lyngbya, Microcoleus, Phormidium, Nostoc, Scytonema, Calothrix และ Stigonema รองลงมาเป็นสาหร่ายสีเขียว ซึ่งพบ 4 อันดับ 4 ครอบครัว 5 สกุล คือ Volvox, Eudorina, Chlorococcum, Scenedesmus, และ Rhizoclonium ส่วนนกพิราบที่พบที่หมู่พระวิมานเป็นนกพิราบป่า Columba livia ที่มีจำนวนประชากรเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงระหว่าง 86 ถึง 399 ตัว โดยมีจำนวนประชากรเฉลี่ย 173 ตัว ส่วนค้างคาวที่พบเป็นค้างคาวปีกถุงเคราดำ Taphozous melanopogon ซึ่งมีจำนวนประชากรเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 217 ถึง 592 ตัว และมีจำนวนประชากรเฉลี่ยอยู่ที่ 433 ตัว ทั้งนี้จำนวนค้างคาวที่เกาะอยู่ใต้ชายคาหมู่พระวิมานมีความสัมพันธ์ในเชิงผกผันกับปริมาณความเข้มแสง ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมดังกล่าวข้างต้น มีผลทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของภายนอกอาคารหมู่พระวิมานในลักษณะที่แตกต่างกันไป ซึ่งงานวิจัยเรื่องนี้ได้ตั้งข้อสังเกต และเสนอแนะแนวทางแก้ไขไว้พอสังเขป
Other Abstract: The deterioration of Moo Phrawiman, National Museum, Bangkok, by physical and biological factors was studied over a one year period. The physical factors include temperature, humidity, light intensity and total suspended particulate matter (TSP). The biological factors examined were algae, pigeon, and bat. It was found that ambient air temperature ranged from 18 to 48 C°, with the average value of 29.13 C°. The wall temperature was in the range of 24-46 C°, with the highest value at the south wall (the museum director’s room). The ambient air temperature was related to wall temperature. The range of humidity was 28.1-99 %. The average value was 75.77 %. The light intensity was in the range of 1 to 3,590 lux, with the average value of 236.97 lux. TSP following the main wind direction was lower than the standard value. TSP ranged from 44.6610 to 191.0309 µg/m3, with the average value of 117.8460 µg/m3. Algae found on the wall belonged to 3 Orders, 5 families, and 10 Genera of blue-green algae (Chroococcus, Gloeocapsa, Oscillatoria, Lyngbya, Microcoleus, Phormidium, Nostoc, Scytonema, Calothrix, and Stigonema) and to 4 Orders, 4 Families, and 5 Genera of green algae (Volvox, Eudorina, Chlorococcum, Scenedesmus, and Rhizoclonium). The number of Rock Pigeon (Columba livia) counted was in the range of 86 to 399, with an average value of 173. Black-bearded tomb bat (Taphozous melanopogon) roosted under the roof of the buildings. The number of bats ranged from 217 to 592, with the average value of 433. It was found that the number of roosting bats was inversely related to light intensity. The environmental factors mentioned above mentioned above affected the deterioration of Moo Phrawimarn in several aspects, some of which were suggested and recommended in this report.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72072
ISBN: 9746389602
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Roj_kh_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ736.11 kBAdobe PDFView/Open
Roj_kh_ch1_p.pdfบทที่ 1450.29 kBAdobe PDFView/Open
Roj_kh_ch2_p.pdfบทที่ 22.01 MBAdobe PDFView/Open
Roj_kh_ch3_p.pdfบทที่ 3697.41 kBAdobe PDFView/Open
Roj_kh_ch4_p.pdfบทที่ 42.68 MBAdobe PDFView/Open
Roj_kh_ch5_p.pdfบทที่ 5590.82 kBAdobe PDFView/Open
Roj_kh_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.