Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72087
Title: การฟ้อนรำของชาวชอง : กรณีศึกษา หมู่บ้านกระทิง ตำบลพลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
Other Titles: The dance of Chong ethnic group : a case study in Krating village, Tambon Pluang, Makam district, Chantaburi province
Authors: หฤทัย นัยโมกข์
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: vijjuta.v@chula.ac.th
Subjects: ชอง -- ความเป็นอยู่และประเพณี
ชอง -- พิธีกรรม
การรำ -- ไทย
Chongs -- Manners and customs
Chongs -- Rituals
Dance -- Thailand
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องการฟ้อนรำของชาวชอง : กรณีศึกษาหมู่บ้านกระทิง ตำบลพลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการฟ้อนรำของกลุ่มชนชาวชอง ในหมู่บ้านกระทิง จังหวัดจันทบุรี ช่วงปี พ.ศ.2541-2543 ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาจากเอกสาร ตำราที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนชาวชอง การสัมภาษณ์ชาวชองในหมู่บ้านกระทิง เข้าร่วมสังเกตการณ์ ในการ ประกอบพิธีกรรมจริง บันทึกเสียงและบันทึกเทปวิดีทัศน์ สังเกตและจดบันทึกท่ารำจากการสาธิตการประกอบพิธีกรรม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง วิเคราะห์และนำเสนอ จากการศึกษาพบว่า กาวฟ้อนรำชองชาวชอง มีปรากฏอยู่ใน 3 พิธีกรรมคือ พิธีแต่งงานใหญ่ พิธีเล่นผีหิ้ง และพิธีเล่นผีโรง พิธีแต่งงานใหญ่เป็นพิธีที่จัดขึ้นเมื่อมีการแต่งงานของลูกสาวคนโตในครอบครัวเท่านั้น และพบว่ามีการฟ้อนรำแทรกอยู่ในขั้นตอนการประกอบพิธี 3 พิธีคือ พิธีชนวัวชนควาย พิธีโค่นคะเคียน และพิธีขันไก่ ช่วงที่ 1 เมื่อขนวนขันหมากแห่มาจากบ้านเจ้า บ่าวที่ลานบ้านเจ้าสาว จะมีการแสดงชนวัวชนควาย โดยชาย 2 คน สวมเขาวัวเขาควายเทียมบนศีรษะ ออกท่าทางต่าง ๆ ไล่ขวิคกันประมาณ 15-20 นาที โดยมีชายอีก 2-3 คน กระทุ้งไม้คันกะลาและเขย่ากระดึงโลหะให้จังหวะประกอบการออกท่าทาง ในช่วงที่ 2 เป็นการฟ้อนรำระหว่างที่หมอปลูกผู้ประกอบพิธีทำพิธีโค่นคะเคียน ถือขวานปูลู ฟ้อนรำทำท่าเดินวนรอบคู่บ่าวสาว ทำท่าทางโค่นคะเคียนสมมติที่เรียกว่าเชงเลง การฟ้อนรำในช่วงที่ เป็นการฟ้อนรำโดยผู้ประกอบพิธี ช่วงที่ 3 เป็นการฟ้อนรำระหว่างที่หมอปลูกทำพิธีขันไก่ ทำท่าทางเลียนแบบกิริยาของไก่ เดินวนรอบคู่บ่าวสาว ส่วนในพิธีเล่นผีหิ้ง และเล่นผีโรง เป็นพิธีที่ชาวชองกระทำเพื่อเซ่นไหว้บูชาผีบรรพบุรุษ โดยเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษมาเข้าร่างทรง เพื่อไต่ถามทุกข์สุขกัน ในการเล่นผีหิ้งและเล่นผีโรงนี้ พบว่ามีการฟ้อนรำแทรกอยู่ในระหว่างการเชิญวิญญาณผีบรรพบุรุษมาเข้าร่างทรง โดยร่างทรงจะออกท่าทางฟ้อนรำทำท่าทางต่าง ๆ ประกอบคำร้องโดยมีกลองและไม้กรับเป็นเครื่องกำกับจังหวะ เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการฟ้อนรำเป็นลักษณะที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการฟ้อนรำในพิธีแต่งงานมีไม้ทันกะลา เป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นทำด้วยไม่ไผ่ ด้านปลายสุดของไม้ไผ่ผูกขึงด้วยกะลา ใช้กระทบให้เกิดเสียงเป็นจังหวะประกอบการฟ้อนรำ มีเชงเลงเป็นไม้ไผ่สานเป็นฐปกรวย เป็นสิ่งสมมติให้เป็นต้นไม้ในพิธีโค่นตะเคียน ส่วนในพิธีเล่นผีหิ้งและเล่นผีโรง ผู้ฟ้อนรำใช้ผ้าขาวม้าเป็นอุปกรณ์ประกอบในการฟ้อนรำทำท่าเพื่อสื่อให้ทราบว่าวิญญาณผีบรรพบุรุษที่มาเข้าร่างทรงนั้นเป็นใคร กลองที่ใช้ตีประกอบจังหวะมีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า การฟ้อนรำของชาวชอง เป็นส่วนสำคัญในการประกอบพิธีกรรม ทั้ง 3 พิธี ซึ่งสังเกฅได้ว่าปัจจุบันการประกอบพิธีทั้ง 3 พิธีนั้น มีการประกอบพิธีกรรมลดน้อยลงจากเดิมมาก เนื่องจากกาวแต่งงานของลูกสาวคนโตในพิธีการแต่งงานใหญ่นั้นหากเป็นการแต่งงานกับชนอื่นที่ไม่ใช่ชาวชองก็จะไม่มีการประกอบพิธีนี้ขึ้น ส่วนพิธีเล่นผีหิ้งและเล่นผีโรงชาวชองก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญและจัดการประกอบพิธีนี้ลดน้อยลงกว่าเดิม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากค่านิยม และความเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษลดน้อยลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้การฟ้อนรำชองชาวชองสูญหายไป จึงควรรักษาและสืบทอดการฟ้อนรำ อันเป็นกเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนชาวชองที่ให้คงอยู่สืบต่อไป นอกจากนั้นควรมีการศึกษาและรวบรวมเกี่ยวกับการฟ้อนรำของชาวชองในหมู่บ้านอื่น ๆ และในจังหวัดใกล้เคียงที่ยังคงมีชาวชองอาศัยอยู่ ทั้งนี้เนื่องจากอาจพบรูปแบบและลักษณะการฟ้อนรำที่แตกต่างไปจากการฟ้อนรำของชาวชองในหมู่บ้านกระทิง
Other Abstract: The thesis on “The Dance of Chong Ethnic Group” aims at studying the dance of Chong Ethnic Group in Krating village, Chanthaburi Province from 1998-2000. The study is based on a string of empirical evidence—related รณdies, textbooks on the Chong Ethnic Group, interviews with Chong people in the Krating village, observations of the actual ceremonies and videos made of the demonstrations of the ceremonies. The study shows that the dance of the Chong Ethnic Group is normally performed at three ceremonies including a grand wedding, len phee hing, and len phee rong. The grand wedding is exclusive to the wedding of the eldest daughter of the family and includes three rites: the buffalo fight, Malabar ironwood cutting, and rooster’s singing during which dances will be incorporated. During the first session of the ceremony when the procession of the traditional tray of gifts from the groom to the bride’s family arrives, a mock buffalo fight will be performed. In the show, which takes about 15-20 minutes, two men wearing fake horns imitate the movements of fighting buffalos to the accompaniment of rhythms made by a small group of men pounding the coconut shell-topped bamboo rods and ringing metal bells. The dance is also performed during the second session by the Master of Ceremonies who dances around the married couple and performs the Malabar ironwood cutting rite in which he cuts a make-believe Malabar ironwood tree, called cheng leng, with an axe. In the last session, the dance is performed while the Master of Ceremonies is imitating a rooster’s movements as part of the rooster’s singing rite. Len phee hing and len phee rong, on the other hand, are performed to pay homage to a dead ancestor and invite him to possess the medium. The medium then performs a dance accompanied by traditional tones to drum and wooden clapper accompaniment. Costumes are of modem style. The instruments used in the dance during the wedding ceremony include coconut shell-topped bamboo rods to beat out a rhythm and cheng leng, a cone-shaped basketry used in the Malabar ironweed cutting rite. As for the len phee hing and len phee rong ceremonies, the dancer sports a loincloth to identify the dead ancestor who is possessing the medium. The drum used for the ceremonies is a small long drum. The dance of the Chong Ethnic Group is an integral part of the three ceremonies. However, studies show that there has been a sharp decline in the performance of these ceremonies as the grand wedding ceremony will not be conducted if the eldest daughter marries a man of different race. The len phee hing and len phee rong ceremonies also seem to be in decline; a result of changing social values and a declining faith in the respect for dead ancestors. These unfavorable factors may eventually lead to the demise of the dance of the Chong Ethnic Group. It is suggested that the dance, which is unique to the Chong, be preserved together with a study on the dances of Chong ethnic groups in other villages which may van,' from those of the people in Krating village.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72087
ISBN: 9743465243
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Haruetai_na_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.01 MBAdobe PDFView/Open
Haruetai_na_ch1_p.pdfบทที่ 1893.83 kBAdobe PDFView/Open
Haruetai_na_ch2_p.pdfบทที่ 25.57 MBAdobe PDFView/Open
Haruetai_na_ch3_p.pdfบทที่ 35.08 MBAdobe PDFView/Open
Haruetai_na_ch4_p.pdfบทที่ 47.97 MBAdobe PDFView/Open
Haruetai_na_ch5_p.pdfบทที่ 51.29 MBAdobe PDFView/Open
Haruetai_na_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.