Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/721
Title: โครงการพลังงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย : รายงานฉบับสมบูรณ์
Other Titles: พลังงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
Energy and economic growth of Thailand
Authors: ลดาวัลย์ รามางกูร
Email: Ladawan.R@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: พลังงาน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิกฤตการณ์พลังงานในปี 2516 และ 2522 มีผลต่อเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย หลังจากวิกฤตการณ์พลังงานมีการสำรวจแหล่งพลังงานใหม่ ใช้มาตรการประหยัดพลังงาน ตลอดจนการหาพลังงานอย่างอื่นที่ถูกกว่ามาทดแทนน้ำมัน การวิจัยนี้มุ่งจะศึกษาถึงการวางแผนพลังงานในอดีตจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-5 ซึ่งยังไม่มีแผนพัฒนาพลังงานในระยะนั้น และพิจารณาถึงแผนพัฒนาพลังงานที่เพิ่มเริ่มใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 การขยายตัวของพลังงานสอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในสาขาต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด ประเทศไทยยังผลิตพลังงานได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ จึงยังนำเข้าจากต่างประเทศ ประกอบกับในอดีตราคาน้ำมันในตลาดโลกสูง จึงเป็นสิ่งจูงใจให้ต่างประเทศเข้าสำรวจแหล่งน้ำมันในไทย ในปัจจุบันก็มีบริษัทจากต่างประเทศได้รับสัมปทานในการขุดเจาะหาน้ำมันในประเทศ และรัฐได้รับค่าภาคหลวงจากบริษัทเหล่านี้ ในปี 2524-2528 รัฐได้รับค่าภาคหลวงจากก๊าซธรรมชาติเหลว/น้ำมันดิบเป็นเงินประมาณ 2,313 ล้านบาท และค่าภาคหลวงจากก๊าซธรรมชาติเป็นเงินประมาณ 2,458 ล้านบาท การศึกษาถึง energy intensity จะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงการใช้พลังงานต่อหน่วย GDP (Gross Domestic Product) ในการศึกษานี้ได้ใช้ข้อมูลจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต โดยเปรียบเทียบในปี 2518 และ 2523 ว่าในแต่ละกิจกรรมจากสาขาเศรษฐกิจ 10 สาขา มีการใช้พลังงานแตกต่างกันอย่างไร ผลของความแตกต่างของ energy intensity ในทั้งสองปีจะแสดงให้เห็นถึงการขยายตัว และการหดตัวของกิจกรรมต่าง ๆสาขาเศรษฐกิจที่มีการใช้พลังงานสูงได้แก่ สาขาคมนาคมและการขนส่ง และสาขาอุตสาหกรรม น้ำมันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่หมดไปได้ ดังนั้นการใช้จึงควรใช้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ในปี 2526 แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ได้เป็นผลิตอย่างเป็นทางการ ในการกลั่นน้ำมันจะมีก๊าซธรรมชาติและก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ด้วย ดังนั้นจึงเริ่มมีการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ซีเมนต์ และการผลิตกระแสไฟฟ้า การใช้ก๊าซธรรมชาติจะมีข้อได้เปรียบกว่าการใช้พลังงานชนิดอื่น เพราะก๊าซธรรมชาติเป็นทรัพยากรที่ผลิตได้ภายในประเทศ ทั้งยังราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และการส่งก๊าซไปใช้ในโรงงานใช้ระบบท่อ จึงช่วยตัดภาระเรื่องการขนส่งและการเก็บสต๊อค ซึ่งเป็นการลดต้นทุนได้อีกส่วนหนึ่ง นอกจากนั้น ก๊าซธรรมชาติยังเป็นเชื้อเพลิงที่มีการเผาไหม้ได้สมบูรณ์ที่สุด จึงไม่ทำให้เกิดมลพิษ และเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่มีกำมะถัน ช่วยเครื่องจักรให้มีอายุการใช้งานได้มากขึ้น ส่วนสาขาคมนาคมและการขนส่ง ก็มีการนำ LPG มาใช้กับรถยนต์ ทำให้ลดมลพิษเนื่องจากไอเสียรถยนต์ลงไปได้มาก ทั้งยังประหยัดมูลค่าเชื้อเพลิงจากการทดแทนน้ำมันด้วย LPG ได้ปีละไม่น้อย
Other Abstract: The energy crisis in 1973 and 1979 effected the economic condition around the world including Thailand. After the energy crisis, there were initiations of large energy development projects for the new source of energy, energy conservation policy and search for other energy to substitute oil. This research aims to study the energy planning in the past during the First to Fifth National Economic Plan when we did not the Energy Plan and also study the Energy Plan in the Sixth National Economic Plan to investigate whether the energy growth is consistent with the economic growth in various fields. Thailand has still produced inadequate energy with the domestic demand so that the shortage has to be imported. In the past, when the world oil price was high, it was a motivation for foreign countries to invest in searching for source of energy in Thailand. At present, there are some companies which were granted the right to drill for oil in Thailand and the government received 2,313 million baht revenue from LPG/crude oil and the revenue from natural gas is about 2,458 million baht. The study of energy intensity would show the amount of energy spent per unit of GDP. This study employed the data from Input-Output Table in 1975 and 1980 to compare the energy used in each economic sector. The difference of energy intensity will show the expansion and decrease of each activity. Sectors that have high energy intensity are transportation and communication and industrial sector. Oil is the resource which can be used up so that the consumption has to be economical and efficient. In 1983 Sirikit oil field was opened officially. In the refinery process, natural gas and LPG are also obtained. Thus, natural gas was brought to use in big scale industries such as cement and electric power plant. Natural gas has more advantage than energy because it is a domestic resource and costs less than other energy. Natural gas was conveying by pipeline which could reduce the transportation and inventory cost which in turn partly reduced the total cost. Besides natural gas is the energy that burns completely, it reduces air pollution. Because natural gas has no sulphur, it will give the engine the longer lifetime. In transportation and communication sector, LPG has been brought to use with cars and it could reduce air pollution. Moreover, it also reduces the energy expenses by substituting oil with LPG.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/721
Type: Technical Report
Appears in Collections:Econ - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladawan(ener).pdf38.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.