Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/722
Title: โครงสร้างภาษีของไทยและผลที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: The Thai tax structure and its effects on economic development
Authors: ชมเพลิน จันทร์เรืองเพ็ญ
รัตนา สายคณิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: ภาษี--ไทย
อากร--ไทย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 3 ประการคือ ประการแรกต้องการทราบถึงลักษณะของการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างภาษีของไทยในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เริ่มตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 จนถึงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2504-2522) และต้องการทราบว่าโครงสร้างภาษีที่เป็นอยู่นั้นมีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศหรือไม่ โดยการพิจารณาบทบาทของภาษีที่มีต่อความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และที่มีต่อการกระจายรายได้ ประการที่สอง ต้องการทราบว่า ประเทศไทยได้ใช้ความสามารถที่มีอยู่ในการระดมทรัพยากรภายใน เพื่อมาใช้จ่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเต็มความสามารถในการเสียภาษีที่มีอยู่แล้วหรือไม่โดยการพิจารณาจากความพยายามทางด้านภาษี และประการที่สาม ต้องการทราบความสามารถของระบบภาษีในด้านการทำรายรับให้แก่รัฐบาล และในด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศโดยการพิจารณาความยืดหยุ่นของภาษีที่ไม่มีการปรับปรุงต่อรายได้ และความยืดหยุ่นของภาษีที่มีการปรับปรุงต่อรายได้ ผลการวิจัยชี้ออกมาว่า การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างภาษีของประเทศไทย ในช่วงของการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาฯ ฉบับต่าง ๆ นั้น เป็นไปในลักษณะที่สัดส่วนของภาษีเงินได้เพิ่มสูงขึ้น ชดเชยด้วยการลดลงในภาษีอื่น ๆ สัดส่วนของภาษีทางอ้อมค่อนข้างคงที่ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างภาษีทางอ้อมจากภาษีที่จัดเก็บจากภาคการค้าต่างประเทศไปยังภาษีที่จัดเก็บจากภาคการค้าภายในประเทศมากขึ้น โครงสร้างภาษีของประเทศไทยมีส่วนช่วยสนับสนุนความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีผลทำให้การกระจายรายได้ไม่เสมอภาคยิ่งขึ้น และภาษีสำคัญที่ก่อให้เกิดผลดังกล่าวก็คือภาษีการค้าและภาษีสินค้าเข้า ความพยายามทางด้านภาษี ซึ่งวัดโดยอัตราส่วนระหว่างรายรับจากภาษีและผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น หรืออัตราส่วนภาษีที่เกิดขึ้นจริงเท่ากับร้อยละ 13 ซึ่งยังคงค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับอัตราส่วนภาษีในประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่ว ๆ ไป และเมื่อพิจารณาความพยายามทางด้านภาษี โดยได้มีการคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งน่าจะเป็นเครื่องแสดงถึงความสามารถในการเสียภาษี เช่น รายได้ต่อหัวของประชากร อัตราส่วนของการค้าระหว่างประเทศ และสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมในผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นแล้ พบว่า เฉพาะสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมเท่านั้น ที่เป็นตัวกำหนดอัตราส่วนภาษีโดยมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ถ้าสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 1 จะมีผลทำให้อัตราส่วนภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.30 ในด้านความสามารถของระบบภาษีในการทำรายรับให้แก่รัฐบาลและในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ผลการวิจัยที่ได้แสดงว่า ระบบภาษีของไทยมีความสามารถยังไม่ดีเท่าใดนัก เพราะค่าความยื้ดหยุ่นของภาษี ทั้งที่ไม่มีการปรับปรุงและที่มีการปรับปรุงต่อรายได้สูงกว่า 1 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และแม้ว่าภาษีทางตรงจะมีค่าความยืดหยุ่นทั้งสองชนิดสูงกว่า 1 มากพอสมควร แต่เนื่องจากภาษีทางตรงคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยในรายรับภาษีทั้งหมด บทบาทของภาษีทางตรงในด้านการทำรายรับและในด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจึงอยู่ในขอบเขตจำกัด
Other Abstract: The main purpose of this research project are threefolds. First, to examine the pattern of changes in the Thai tax structure during the process of the country's economic development which started from the first to the fourth economic development plan (A.D. 1961-1971), and to see whether the existing structure promoted economic development by considering its effects on economic growth and income distribution. Second, to assess Thailand's performance in mobilizing domestic resources for development purpose by using an index of tax effort. Third, to evaluate the revenue performance and the stability performance of the Thai tax system by utilizing tax buoyancy and tax elasticity methodology to measure the responsiveness of revenue structure to Gross National Product. It was found out that changes in the Thai tax structure during the process of her economic development plans were such that income tax gained a higher proportion in the revenue structure, offsetting by a decline in the proportion of other taxes. The contribution of indirect taxes to total revenue was relatively stable, but there was a shift in the emphasis from taxes on foreign trade to taxes on domestic trade. The Thai tax structure as a whole promoted economic growth, but at the expense of a wider gap in income distribution. The major taxes which produced this effect were business tax and import tax. Thailand's tax effort as measured by the ratio of total tax revenue to Gross National Product or, the actual tax ration, was only 13 per cent which was relatively low as compared to those of other developing nations. In addition, when factors affecting the taxable capacity of the country such as income per capita, foreign trade ratio, and share of the agricultural sector were considered, the finding is that only the share of the agricultural sector significantly and negatively determined the tax ratio. A decline in the share of the agricultural sector by 1 per cent resulted in an increase in the tax ratio by 0.30 percent. Finally, the revenue performance and the stability performance of the Thai tax system were not quite satisfied as both the tax buoyancy and the tax elasticity coefficients were only slightly more than one. Although direct were relatively income-elastic, their small contributions to total revenue rendered their roles in financing and stabilizing the Thai economy quite limited.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/722
Type: Technical Report
Appears in Collections:Econ - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana(thai).pdf96.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.