Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7228
Title: Survey for nipah virus infection among bats in Thailand
Other Titles: การสำรวจภาวะการติดเชื้อไวรัส Nipah ของค้างคาวในประเทศไทย
Authors: Supaporn Wacharapluesadee
Advisors: Thiravat Hemachudha
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Thiravat.H@Chula.ac.th
Subjects: Virus diseases
Bats -- Virus diseases
Zoonoses
Issue Date: 2005
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Surveillance for Nipah virus (NV) infection in bats was conducted among bat population in 9 provinces in Thailand. During March 2002 to Febuary 2004, 1,304 bats of 12 species were captured. Of 1,054 blood samples, 82 (7.8%) were positive for NV antibody by enzyme linked immunosorbent assay (ELISA). All but 6 (4 from Pteropus hypomelanus, and 1 each from P.vampyrus and Hipposidertos larvatus) anitbody positive samples were from P.lylie. Saliva (n = 1,286) and urine (n = 1,282) specimens were pooled on an average of 1:10, according to species and geographical locations of collection. Of 142 0oppls of each saliva and urine specimens, Nipah virus RNA could be demonstrated in 2 and 6 pools from saliva and urine specimens, respectively. The 181 nucleotide sequences of the nucleoprotein gene obtained from one saliva pool of H.lavtus was identical to those published sequences reported from Malaysia whereas those from one saliva and 6 urine pools from P.lyleishared 92% homology but identical to Bangladesh strain. These data suggested an existence of naturally infected Napah virus infection in Thai bats.
Other Abstract: การศึกษาภาวการณ์ติดเชื้อไวรัส Nipah ของค้างคาวในประเทศไทย ระหว่างเดือนมีนาคม 2545 ถึง กุมภาพันธ์ 2547 ได้สำรวจค้างคาว 12 ชนิด ใน 9 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี อยุธยา กรุงเทพฯ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ราชบุรี และสุราษฎร์ธานี เป็นจำนวน 1,304 ตัว โดยตรวจหาภูมิคุ้มกันแอนติบอรดีย์ต่เชื้อไวรัส Nipah โดยวิธี ELISA ในตัวอย่างเลือดค้างคาวจำนวน 1,054ตัวอย่าง พบผลบวก 82 ตัวอย่าง คิดเป็น 7.8% จำแนกเป็นตัวอย่างจากค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง (Pteropus lylie) จำนวน 72 ตัวอย่าง ค้างคาวแม่ไก่เกาะ (P.hypomelanus) จำนวน 4 ตัวอย่าง และจำนวนละ 1 ตัวอย่างจาก ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (P.vampyrus) และค้างคาวหน้ายักษ์สามหลืบ (Hipposideros larvatus) การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส จากตัวอย่างน้ำลายค้างคาวจำนวน 1,286 ตัวอย่าง และตัวอย่างเยี่ยวค้างคาวจำนวน 1,282 ตัวอย่าง โดยวิธีการรวมกลุ่มตัวอย่าง 10 ต่อ 1 จากตัวอย่างชนิดเดียวกัน ที่เก็บได้จากค้างคาวชนิดเดียวกัน ในเวลาและสถานที่เดียวกัน จำนวนชนิดตัวอย่างละ 142 กลุ่มตัวอย่าง พบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส Nipah (RAN) ใน 2 กลุ่มตัวอย่างน้ำลาย และ 6 กลุ่มตัวอย่างเยี่ยว การถอดรหัสพันธุกรรมความยาว 181 นิวคลีโอไทด์ จากกลุ่มตัวอย่างน้ำลายของค้างคาวหน้ายักษ์สามหลืบ พบว่ามีความเหมือนกับสายพันธุ์ของไวรัส ที่ทำให้เกิดโรคระบาดในประเทศมาเลเซีย รหัสพันธุกรรมจากกลุ่มตัวอย่างที่เหลือ ได้แก่ น้ำลายและเยี่ยวของค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง มีความเหมือนกับสายพันธุ์ของไวรัส ที่ทำให้เกิดโรคระบาดในประเทศบังคลาเทศ โดยที่มีพียง 3 จังหวัด (สิงห์บุรี ราชบุรี และสุราษฎร์ธานี) ที่ไม่พบหลักฐานการติดเชื้อ จากข้อมูลเหล่านี้อาจกล่าวได้ว่า ค้างคาวในประเทศไทยเป็นแหล่งรังโรคตามธรรมชาติของไวรัส Nipah และอาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ไปยังสัตว์ และคนซึ่งการการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2005
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Biomedical Sciences
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7228
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1727
ISBN: 9745324353
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1727
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supaporn.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.