Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72363
Title: การลดปริมาณคอเลสเทอรอลและการดัดแปรองค์ประกอบไขมันในไข่แดงด้วยน้ำมันพืชและอิมัลซิฟายเออร์
Other Titles: Reduction of chalesterol content and modification of lipid composition of egg yolk by vegetable oil and emulsifiers
Authors: จุฑามาส แก้วประเสริฐ
Advisors: รมณี สงวนดีกุล
วินัย ดะห์ลัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำมันพืช
โคเลสเตอรอล
Vegetable oils
Cholesterol
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการสกัดคอลเลสเทอรอลออกจากไข่แดง (โปรตีน 31.75% ไขมัน 62.74% คาร์โบไฮเดรต 2.61% เถ้า 2.91% คอลเลสเทอรอล 2480 mg/100g ฟอสโฟลิปิด 17220 mg/100g โดยน้ำหนักแห้ง) โดยการใช้น้ำมันพืชและอิมัลซิฟายเออร์ รวมทั้งศึกษาถึงองค์ประกอบของกรดไขมันไข่แดงที่เปลี่ยนแปลงไป จากการศึกษาองค์ประกอบของกรดไขมันในไข่แดงและน้ำมันถั่วเหลือง พบว่ากรดไขมันหลักในไข่แดงคือกรดโอเลอิกและกรดปาล์มมิติก กรดไขมันหลักในน้ำมันถั่วเหลืองคือกรดลิโนเลอิกและกรดโอเลอิก emulsifying capacity และอุณหภูมิในการเกิด coagulation ของไข่แดง คือ 36.50 ml of emulsified oil/gm of egg yolk และ 68.67℃ ตามลำดับ ศึกษาหา pH ชนิด และปริมาณอิมัลซิฟายเออร์ในน้ำมันถั่วเหลืองที่เหมาะสม โดยการแปร pH เป็น 2 ค่าคือ 4.5 และ 9.0 ปรับ pH เป็น 4.5 ด้วยสารละลายกรดอะชิติกความเข้มข้น 15% (v/v) และปรับ pH เป็น 9.0 ด้วยสารละลายโปแตสเซียมไฮดรอกไซต์ความเข้มข้น 1 นอร์มัล เพื่อให้เกิดการแยกตัวของ granule แปรชนิดของอิมัลซิฟายเออร์เป็น 3 ชนิด ได้แก่ Glyceryl monooleate (GMO) , Sorbitan monooleate (SMO) และ Lecithin (LC) โดยแต่ละชนิดแปรปริมาณของอิมัลซิฟายเออร์ในน้ำมันถั่วเหลืองเป็น 3 ระดับ คือ 8% , 10% , และ 12% ของน้ำหนักน้ำมันถั่วเหลือง พบว่าการใช้ GMO 10% ที่ pH 4,5 , SMO 10% ที่ pH 9.0 และ LC 8% ที่ pH 4.5 จะได้ชั้นผลิตภัณฑ์ไข่แดงที่มีปริมาณคอเลสเทอรอลต่ำสุดซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่ปริมาณฟอสโฟลิปิดในชั้นผลิตภัณฑไข่แดงที่ได้จากการใช้ LC จะมีปริมาณมากที่สุด ดังนั้นจึงเลือกที่จะใช้ LC ในการศึกษาหาปริมาณน้ำมันถั้วเหลืองที่เหมาะสมในขั้นตอนต่อไป โดยแปรปริมาณน้ำมันถั่วเหลืองเป็น 3 ระดับ คือ 2, 3, และ 4 เท่าของน้ำหนักไข่แดงพบว่าปริมาณตน้ำมันถั่วเหลืองที่เหมาะสมในการสกัดคอเลสเทอรอล คือ 3 เท่าของน้ำหนักไข่แดง ศึกษาหาความดันในการโฮโมจีไนช์ที่เหมาะสม โดยแปรความดันเป็น 3 ค่าคือ 1,000 , 2,000 และ 3,000 psi พบว่าความดันที่เหมาะสมในการโฮโมจีไนซ์ คือ 2,000 psi ผลิตภัณฑ์ไข่แดงที่ได้มีปริมาณคอเลสเทอรอลและฟอสโฟลิปิด 650 และ 9969 mg/100g มีโปรตีน ไขมัน และเถ้า ร้อยละ 72.03 , 21.47 และ 2.47 โดยน้ำหนักแห้งตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ไข่แดงที่ได้มีสีขาวเหลืองมีองค์ประกอบของกรดไขมันที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมีกรดลิโนเลอิกและกรดโอเลอิกเป็นกรดไขมันหลัก emulsifying capacity และอุณหภูมิในการเกิด coagulation ของไข่แดงที่ลดปริมาณคอเลสเทอรอลลง คือ 20.27 ml of emulsified oil/gm of egg yolk และ 64.83℃ ตามลำดับ
Other Abstract: The conditions to extract cholesterol egg yolk (31.75 % protein, 62.74% fat , 2.61 % Carbohydrate, 2.91% ash, 2480 mg/100g cholesterol, 17220 mg/100g phospholipids on dry basis ) by using vegetable oil and emulsifiers were studied along with the modification of fatty acids profile after extraction. The fatty acids profile of egg yolk and soybean oil were analysed. Oleic acid and Palmitic acid were major fatty acid in egg yolk while Linoleic acid and Oleic acid were major fatty acid in soybean oil. Emulsifying capacity and coagulation temperature of egg yolk were 36.50 ml of emulsified oil/gm of egg yolk and 68.67℃ respectively. The appropriate pH, type and amount of emulsifiers were studied, pH was adjusted to 4.5 by using 15 % acetic acid (v/v) and to 9.0 by using 1N KOH to dissociate granule. Glyceryl monooleate (GMO), Sorbitan monooleate (SMO) and Lecithin (LC) were used as emulsifiers. The amount of each emulsifiers were 8%, 10% and 12% of soybean oil’s weight. It was found that the condition using GMO 10% at pH 4.5 SMO 0% at pH9.0 and LC 8% at pH 4.5 gave the lowest cholesterol egg yolk (P>0.05) By using LC, the reduced cholesterol egg yolk had the highest phospholipids content . This was consequently chosen to study the amount of soybean oil by varying the amount of soybean oil to 2, 3 and 4 times of egg yolk’s weight The appropriate amount of soybean oil was 3 times of egg yolk’s weight. Homogenization pressure was studied by varying the pressure to 1000, 2000 and 3000 psi. The appropriate homogenization pressure was 2000 psi. The reduced cholesterol egg yolk contained 650 mg cholesterol/100g egg yolk. 9969mg phospholipids/100g egg yolk, 72.03% protein, 21.47% fat and 2.47% ash on dry basdis. The product produced was white-yellow. The fatty acids profile was changed , Linoleic acid and Oleic acid were major fatty acids in the teated yolk Emulsifying capacity and coagulation temperature of the reduced cholesterol gee yolk were 20.27 ml of emulsified oil/gm of reduced cholesterolk egg yolk and 64.83℃ respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72363
ISBN: 9743323805
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jutamat_ka_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ725.47 kBAdobe PDFView/Open
Jutamat_ka_ch1_p.pdfบทที่ 1274.23 kBAdobe PDFView/Open
Jutamat_ka_ch2_p.pdfบทที่ 21.74 MBAdobe PDFView/Open
Jutamat_ka_ch3_p.pdfบทที่ 3598.66 kBAdobe PDFView/Open
Jutamat_ka_ch4_p.pdfบทที่ 41.68 MBAdobe PDFView/Open
Jutamat_ka_ch5_p.pdfบทที่ 51.44 MBAdobe PDFView/Open
Jutamat_ka_ch6_p.pdfบทที่ 6240.05 kBAdobe PDFView/Open
Jutamat_ka_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.