Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7250
Title: ชนชั้นนำและโครงสร้างอำนาจชุมชน : การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Elite and community power structure : a comparative study of Tambon administrative organizations in Prachuap Khiri Khan province
Authors: อังกูร สุ่นกุล
Advisors: อนุสรณ์ ลิ่มมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ชนชั้นนำ
อำนาจชุมชน
องค์การบริหารส่วนตำบล -- ประจวบคีรีขันธ์
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาว่า ใครหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นชนชั้นนำ ที่มีอำนาจในการปกครองชุมชน แล้วชนชั้นนำนั้นมีคุณสมบัติพิเศษอะไร ที่ส่งเสริมให้ได้รับการยอมรับเป็นชนชั้นนำ กลุ่มชนชั้นนำด้วยกันมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจซึ่งกันและกันอย่างไร และศึกษาเปรียบเทียบว่า ลักษณะชนชั้นนำและโครงสร้างอำนาจชุมชน ระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลชั้น 5 และองค์การบริหารส่วนตำบลชั้น 3 แตกต่างกันอย่างไร โดยศึกษาเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและศึกษาภาคสนาม ด้วยวิธีการแบบผู้มีส่วนร่วม ในฐานะผู้สังเกตศึกษา ในองค์การบริหารส่วนตำบล 2 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ (ชั้น 3) และองค์การบริหารส่วนตำบลวังก์พง (ชั้น 5) ผลของการศึกษาสรุปได้ดังนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณและองค์การบริหารส่วนตำบลวังก์พง มีชนชั้นนำของชุมชนคือ บุคคลที่ดำรงตำแหน่งที่สำคัญในชุมชน โดยมีคุณสมบัติสำคัญคือ มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อปีสูง มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมาก มีการศึกษาสูง มีสายสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่รัฐมาก มีความเป็นผู้นำทางความคิดเห็น และเป็นเครือญาติกับชนชั้นนำเก่า ลักษณะความสัมพันธ์เชิงอำนาจของชนชั้นนำ มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในกลุ่มชนชั้นนำระดับสูง ส่วนลักษณะโครงสร้างอำนาจชุมชนของทั้งสองชุมชนคล้ายคลึงกันคือ มีลักษณะเป็นปิรามิด (pyramids) โดยที่ชนชั้นนำเป็นคนจำนวนน้อย ที่อยู่ในตำแหน่งสูงสุดของปิรามิดสังคม และเป็นผู้ที่ผูกขาดการใช้อำนาจและการตัดสินใจของชุมชนไว้ทั้งหมด โดยบุคคลเหล่านี้จะเป็นบุคคลที่มีบทบาทสูง ในองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสองแห่ง
Other Abstract: Aimed at identifying community elite, its membership qualifications and its power relationship of two tambons in Prachuab Khiri Khan province, this study finds that apart from occupying important positions in their community, the member of elite in each community have hight level of education and income, big plots of land, close connection with government officials, opinion leadership and familial relation with the old elite. Power relationship within the elite is quite close particularly among the top members. As a results of the pyramid-shaped structure of power, decision-making and authority in each community and its tambon administrative organization have been monopolized by few members of the elite.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7250
ISBN: 9746370553
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Angkura_So_front.pdf543.7 kBAdobe PDFView/Open
Angkura_So_ch1.pdf445.68 kBAdobe PDFView/Open
Angkura_So_ch2.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Angkura_So_ch3.pdf673.12 kBAdobe PDFView/Open
Angkura_So_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Angkura_So_ch5.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Angkura_So_ch6.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Angkura_So_ch7.pdf387.65 kBAdobe PDFView/Open
Angkura_So_back.pdf630.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.