Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73120
Title: ศักยภาพของอำเภอพื้นที่เป้าหมายในภาคเหนือตอนบนต่อการพัฒนาชนบท
Other Titles: Potentiality of target areas in upper North of Thailand for rural development
Authors: ภานุพันธ์ ชัยรัต
Advisors: ศักดิ์ชัย ศิรินทร์ภาณุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาชนบท
ไทย (ภาคเหนือ) -- ภาวะเศรษฐกิจ
Agricultural development
Rural development
Thailand, Northern -- Economic conditions
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การกระจายความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นนโยบายที่สำคัญของการวางแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความแตกต่างทางสังคมในพื้นที่ชนบทล้าหลัง ซึ่งปัญหานี้นับวันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับจนมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ โดยที่ปัญหาความยากจนในชนบทเป็นปัญหาที่ครอบคลุมปัจจัยหลายด้านตลอดจนเกี่ยวข้องกับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตั้งแต่ระดับประเทศถึงระดับท้องถิ่น การวางแผนพัฒนาชนบทควรประสานกับการวางแผนทุกระดับ คือ แผนระดับชาติ แผนระดับภาค และแผนระดับท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้การพัฒนาชนบทซึ่งเป็นกลยุทธสำคัญที่นำมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นแผนที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวเหมือนที่ผ่านมา โดยให้แผนระดับภาคเป็นแผนเชื่อม ให้แผนระดับต่าง ๆ มาอยู่ในระบบเดียวกัน เพื่อประสิทธิภาพในการบิหารและปฏิบัติงาน ตลอดจนการประสานแผนพัฒนาพื้นที่อย่างชัดเจน อันจะส่งผลให้การวางแผนพัฒนาประเทศมีพลังส่งผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่องลงสู่พื้นที่อย่างเป็นระบบและสอดคล้องกัน ในการวิจัยเพื่อหาศักยภาพของอำเภอพื้นที่เป้าหมายในภาคเหนือตอนบน ที่มีต่อการพัฒนาชนบทนี้ เป็นการเชื่อมโยงนโยบายการกำหนดพื้นที่เพื่อการพัฒนาชนบท ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 จำนวน 47 อำเภอใน 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน เชียงรายและพะเยา ลงสู่พื้นที่เพื่อเป็นแนวทางการวางแผนและจัดทำโครงการพัฒนาชนบทในระยะยาว โดยการวิเคราะห์พิจารณาจากตัวแปรที่เป็นปัจจัยพื้นฐานทางด้านภายภาพเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาพื้นที่ชนบทในภาคเหนือตอนบน จำนวน 21 ตัวแปร อันเป็นองค์ประกอบสำหรับการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ของอำเภอพื้นที่เป้าหมาย แต่เนื่องจากข้อมูลมีความซับซ้อนและมีจำนวนมากซึ่งยากต่อการกำหนดขอบเขต ดังนั้น ในการวิเคราะห์เพื่อวางแผนจึงนำวิธีการทางสถิติที่เรียกว่า วิธีวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor Analysis Methods) มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อการวางแผนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว วิธีการนี้จะให้แบบแผนของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างตามความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องในรูปค่าน้ำหนัก ที่แปลงมาจากค่าคะแนนดิบของปัจจัยนั้น ทั้งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลลง และลำดับความสำคัญของข้อมูลให้ชัดเจนขึ้นตลอดจนสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลกับพื้นที่ได้ จากการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่มีความสำคัญในอำเภอพื้นที่เป้าหมายในภาคเหนือตอนบน คือ ตัวแปรทางด้านภายภาพ ได้แก่ เนื้อที่ถือครองเพื่อการเกษตรกรรม เนื้อที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม เนื้อที่ถือครองที่เกษตรกรเป็นเจ้าของ เนื้อที่เพาะปลูกข้าว ตัวแปรทั้ง 4 ตัวนี้นอกจากเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรแล้วยังเป็นปัจจัยที่สำคัญทางเศรษฐกิจอีกด้วย จากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของอำเภอพื้นที่เป้าหมายในภาคเหนือตอนบนซึ่งผูกพันกับสาขาการเกษตร ตัวแปรดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของอำเภอพื้นที่เป้าหมายที่มีต่อการเพิ่มผลผลิตเพื่อก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่นั้น ๆ เมื่อนำผลการวิจัยวิเคราะห์กับสภาพพื้นที่ของอำเภอเป้าหมายแล้ว ตัวแปรทางด้านกายภาพมีความเกี่ยวเนื่องกับลักษณะภูมิศาสตร์และทรัพยากรของพื้นที่ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้พบว่า สภาพทางภูมิศาสตร์มีอิทธิพลก่อให้เกิดผลกระทบต่อการกระจายความเจริญ ตามแนวความคิดที่เชื่อว่าศูนย์กลางความเจริญจะส่งผลการพัฒนาไปสู่พื้นที่ข้างเคียง อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมไปสู่ชนบทห่างไกลอีกด้วย สภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวนี้ยังมีผลทำให้ขนาดถือครองที่ดินทำกินของครัวเรือนมีขนาดเล็กอันส่งผลให้รายได้ของครัวเรือนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เพื่อให้บรรลุตามนโยบายการพัฒนาชนบทเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบท แนวทางการพัฒนาอำเภอพื้นที่เป้าหมายที่น่าจะเป็นไปได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ การพัฒนาแต่ละพื้นที่ให้สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งควรจะมีการวางแผนพัฒนาพื้นที่ตามลักษณะที่แตกต่างเป็น 3 พื้นที่ คือ 1. พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาทางการเกษตรดีมาก เป็นพื้นที่ที่จะสามารถพัฒนาการผลิตให้สูงขึ้นได้ในระยะการวางแผน 2-5 ปี มีเงื่อนไขด้านระบบชลประทาน สมรรถนะที่ดินอยู่ในระดับที่เหมาะสม แนวทางการพัฒนาในพื้นที่ควรเน้นโครงการที่สนับสนุนการผลิตด้านการเกษตร อำเภอพื้นที่เป้าหมายในกลุ่มนี้ ได้แก่ อำเภอเทิง อำเภอเชียงคำ อำเภอฝาง และอำเภอจุน 2. พื้นที่ที่มีลู่ทางในการพัฒนาทางการเกษตรในอนาคต เป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถขยายตัวทางเศรษฐกิจภายใน 5 ปี แต่มีแนวโน้มจะเจริญในระยะยาวมีความเหมาะสมด้านที่ตั้งอยู่บนลุ่มน้ำที่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม บริเวณพื้นที่ห่างไกลแม่น้ำออกไปมีปัญหาด้านการชลประทานที่ จะนำขึ้นไปเพาะปลูก การดำเนินโครงการพัฒนาเกษตร ในปัจจุบันจึงไม่ควรทำ เนื่องจากขาดปัจจัยพื้นฐาน ควรเริ่มโครงการลางอย่างที่ปูพื้นฐานสำหรับอนาคต เช่น โครงการวิจัย โครงการชลประทาน และโครงการคมนาคม อำเภอพื้นที่เป้าหมายในกลุ่มนี้ ได้แก่ อำเภอเมืองน่าน อำเภอสอง อำเภอจอมทอง อำเภอแจ้ห่ม อำเภอสา อำเภอแม่อาย อำเภอแม่แตง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอเวียงปาเป้า อำเภอวังชิ้น อำเภอพร้าว อำเภอเถิน อำเภอเชียงดาว อำเภอลอง อำเภอบัว อำเภองาว อำเภอแม่สรวย อำเภอลี้ 3. พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาทางการเกษตรต่ำ เป็นพื้นที่ค่อนข้างล้าหลัง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหรือมีความลาดชันมาก สมรรถนะที่ดินเลวโอกาสที่จะพัฒนาการเกษตรมีน้อยมาก การพัฒนาชนบทด้านเกษตรกร จะให้ผลตอบแทนต่ำมาก แนวทางการพัฒนาในพื้นที่นี้ควรเน้นด้านอุตสาหกรรมและการบริการสังคม อำเภอพื้นที่เป้าหมายในกลุ่มนี้ ได้แก่ อำเภอวังเหนือ อำเภอปง อำเภอท่าวังผา อำเภอดอยเต่า อำเภอสบปราบ อำเภอเชียงกลาง อำเภอแม่สะเรียง อำเภอเสริมงาม อำเภอแม่ทา อำเภอฮอด อำเภอเชียงม่วน อำเภอแม่พริก อำเภอแม่แจ่ม กิ่งอำเภอแม่เมาะ อำเภออมก๋อย อำเภอสะเมิง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน กิ่งอำเภอบ้านหลวง อำเภอขุนยวม อำเภอทุ่งช้าง อำเภอปาย อำเภอแม่ลาน้อย กิ่งอำเภอทุ่งหัวช้าง และอำเภอแม่กริม จากการจำแนกอำเภอพื้นที่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาชนบทเป็น 3 พื้นที่ดังกล่าว ขั้นตอนต่อไป คือ การวางแผนและจัดเตรียมโครงการพัฒนาชนบทในอำเภอพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งควรจะใช้แนวทางการพัฒนาชนบทแบบผสมผสาน โดยการนำเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสาขาต่าง ๆ มาผสมผสาน เพื่อก่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิตและการกระจายรายได้ในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ต่อไป
Other Abstract: The most important policy in the national socio-economic planning has been the distribution of growth and diminution of economic and social inequalities, especially the problems of poverty and social gap in the backward regions. The seriousness of these problems has become greater and, thus, affects the country’s stability. Apparently, the problems of poverty in these regions are related to the structure of socio-economic and political systems of both the national and the local levels. Therefore, the rural development Planning should be integrated with all levels of planning : national, regional and local level with the emphasis of regional planning as a link. This will bring about the effective administration and operation of the plans. The integration of planning yields specific development area. This approach will systematically give continual effects to the regions. The attempt to investigate the potentiality of the Target areas in the Upper North toward area development is related with the classification of Target areas according to the Fifth National Economic and Social Development Plan and the regions themselves which include eight provinces; Chiang Mai, Lampang, Lamphun, Phrae, Mae Hong Son, Nan, Chiang Rai and Phayao; The studies are recommended to be a guideline of planning and the formulations of logn-term area development projects. According to the 21 variables, their influent factor affect the physical, economic and social bases in the spatial development in the Upper North. Spatial analysis of the Target areas is also Scrutinized. The collected data, however, are so complicated and numerous that it is difficult to concentrate the problem scope. In order to conduct an analysis for the purpose of planning, a statistical method, The Factor Analysis Methods, is applied to the spatial development planning. The Factor Analysis Methods express a pattern of the relationship of variables in terms of loading which is transformed from their raw data. The advantage of this method will reduce the complicated data and then its significant variables apparently, together with the expression of its degree upon the identified regions. From the studies, the most important variables in the Target areas areas in the Upper North are the physical variables. They are the land tenure for agriculture, land suitability for agriculture, land tenure by farmers and paddy land. These four variables are not only vital to the agricultural development but also variables in economic base. From the fact that the economic structure of the Target areas in the Upper North is strongly attached to agriculture, these indicated variable show the potentiality of regional growth. They are also connected with different physical features and natural resources of the regions. The analysis result and the Tar get areas characters indicate that geographical nature has great negative and positive effects on the distribution of growth. In addition, it hinders the expansion of the communication network to the remote areas and effects the size of land tenure of small household. The latter is an important factor which varies with the family income. The suitable guideline for the development of Target areas is to promote self government. The spatial development planning can be done in three areas. 1.Immediate agricultural growth potential In these regions, growth can be stimulated within 2-5 years depending on the conditions of irrigation system and the suitability of land. The development should emphasize on the agricultural production projects. Target areas belong to this category are: Thoeng, Chiang Kham, Fang, Chun. 2.Future agriculture growth potential In these regions, economic expansion is not possible within 5 years. With the tendency of economic growth in long run, social overhead capital projects for the future should be utilized, for example, research projects, irrigation projects and communication projects. Target areas in this group include: Muang Nan, Song, Chom Thong, Chae Hom, Sa, Mae’ Ai, Mae Taeng, Doi Saket, Wiang Pa Pao, Wang Chin, Phrao, Thoen, Chiang Dao, Long, Pua, Ngao, Mae Suai, Li 3.Low agricultural growth potential These regions are backward and have low probability of agricultural development. Economic development will yield low efficiency. The emphasis of region development, then, should be made on secondary sector especially fot the household scale. In addition, the government should encourage the social services as the facilities for the development. Target areas in this Group are: Wang Nua, Pong, Tha wang Pha, Doi Tao, Na Noi, Sop Prap, Chiang Klang, Mae Sariang, Serm Ngam, Mae Tha, Hod, Chiang Muan, Mae Phrik, Mae Chaem, Mae Mo, Omkoi, Samoeng Muang Mae Hong Son, Ban Luang, Khun Yuam, Thung Chang, Pai, Mae La Noi, Thung Hua Chang, Mae Charim. The next stage after the classification of target regions for rural development is the planning and the formulation on development projects in these regions. The approach of integrated rural development, which include livelihood, education, health and self-government, should be implied in order to utilize economic and social activities. These results will generate the development, especially on quality of life and income distribution.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73120
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1982.18
ISSN: 9745615005
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1982.18
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panuphun_ch_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ14.97 MBAdobe PDFView/Open
Panuphun_ch_ch1.pdfบทที่ 16.54 MBAdobe PDFView/Open
Panuphun_ch_ch2.pdfบทที่ 238.84 MBAdobe PDFView/Open
Panuphun_ch_ch3.pdfบทที่ 345.66 MBAdobe PDFView/Open
Panuphun_ch_ch4.pdfบทที่ 438.44 MBAdobe PDFView/Open
Panuphun_ch_ch5.pdfบทที่ 510.84 MBAdobe PDFView/Open
Panuphun_ch_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก59.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.