Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73131
Title: The influence of geological structure on stratigraphic development during multiphase rifting in the Songkhla basin, Gulf of Thailand
Other Titles: อิทธิพลของโครงสร้างทางธรณีวิทยาต่อการพัฒนาลาดับชั้นหินในช่วงการแยกตัวหลายครั้งในแอ่งสงขลา อ่าวไทย
Authors: Jidapa Phoosongsee
Advisors: Thasinee Charoentitirat
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: thasineec@gmail.com
Issue Date: 2018
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The Cenozoic N-S trending Songkhla rift basin, located in the southwest Gulf of Thailand, was developed as a predominantly orthogonal extended half graben structure. The half graben is controlled by a boundary fault zone on the western side of the basin, which forms a series of N-S to NNE-SSW, east-dipping normal faults. The rift spans two phases of rifting; the Eocene-Oligocene and the Oligocene-Miocene phases, the late syn-rift to post-rift transition occurred from the late Early Miocene to Middle Miocene. The main clastic hydrocarbon reservoirs in the basin are located in the Early Miocene to Middle Miocene section. These reservoirs are predominantly fluvial channels with complex lateral and vertical geometries and distributions particularly as point bars, overbank deposits, and sand- or mud-filled channels. This study characterizes the reservoir architecture and depositional environment of the Songkhla Basin from the late syn-rift to post-rift by integrating the seismic attributes (RMS, similarity, and spectral decomposition), well log interpretations, and well biostratigraphic data. Two distinctive channel characteristics and patterns were interpreted: (A) N-S oriented meandering channel complexes, aligned sub-parallel to the western boundary faults, developed during the late syn-rift (upper Early Miocene) and (B) NE-SW oriented long, narrow fluvial channels with tidal and marine influence, developed in the post-rift phase I (Middle Miocene). These channel orientations reflect changes in the basin architecture passing from the late syn-rift stage to the post-rift. Syn-rift channel orientation was controlled by topography created by motion on the western boundary fault system, while the post-rift the channel orientations were affected by mild inversion on the boundary fault system and thermal subsidence, which resulted in an eastwards shift in the basin depocentre towards the flexural margin.
Other Abstract: แอ่งสงขลาเป็นแอ่งที่เกิดจากการแยกตัวของเปลือกโลก (rift basin) ในมหายุคซีโนโซอิค (Cenozoic Era) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอ่าวไทย การวางตัวของแอ่งอยู่ในแนวเหนือใต้และมีลักษณะกึ่งกราเบน (half graben) โครงสร้างของรอยเลื่อนมีการพัฒนาเป็นแบบตั้งฉากกับแรงดึง ลักษณะกึ่งกราเบนของแอ่งถูกควบคุมโดยโครงสร้างรอยเลื่อนหลักที่มีการวางตัวในแนวเหนือใต้ถึงตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ และมีการเอียงเทไปทางทิศตะวันออก การแยกของรอยเลื่อนเกิดขึ้นสองครั้ง ครั้งที่หนึ่งในสมัยอีโอซีน (Eocene) ถึงสมัยโอลิโกซีนตอนต้น (Early Oligocene) ครั้งที่สองในสมัยโอลิโกซีนตอนปลาย (Late Oligocene) ถึงสมัยไมโอซีนตอนต้น (Early Miocene) การเปลี่ยนจากแอ่งรอยแยก (syn-rift) เป็นแอ่งยุบ (post-rift) เกิดขึ้นในช่วงตอนปลายของสมัยไมโอซีนตอนต้น (late Early Miocene) ถึงสมัยไมโอซีนตอนกลาง (Middle Miocene) หินกักเก็บปิโตรเลียมในแอ่งสงขลามีการสะสมตัวในช่วงของสมัยไมโอซีนตอนต้น จนถึงสมัยไมโอซีนตอนกลาง หินกักเก็บปิโตรเลียมส่วนใหญ่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนทางน้ำ โครงสร้างและการกระจายตัวของหินเหล่านี้มีความซับซ้อนทั้งในทางราบและทางลึก โดยเฉพาะบริเวณที่มีการสะสมตัวของสันดอนทราย (point bar), สิ่งทับถมน้ำล้นฝง (overbank deposit) และตะกอนสะสมในแม่น้ำที่มีทั้งตะกอนทรายและตะกอนโคลน ในการศึกษานี้ได้มีการอธิบายลักษณะรูปแบบโครงสร้างและสภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนของแอ่งสงขลาในช่วงส่วนแปรเปลี่ยนต่อเนื่องระหว่างแอ่งรอยแยกกับแอ่งยุบ โดยใช้วิธีการแปลข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อนกลับ (seismic reflection data) การคำนวณคุณลักษณะคลื่นไหวสะเทือน (seismic attributes) ได้แก่ RMS similarity และ spectral decomposition รวมกับข้อมูลที่ได้จากหลุมสำรวจ และข้อมูลทางชีวภาพ จากการศึกษาพบว่าลักษณะเฉพาะของแม่น้ำที่กำเนิดขึ้นในแอ่งมีสองแบบ คือ 1. ธารน้ำโคงตวัดในแนวเหนือใต้แบบซับซ้อน มีการวางตัวในแนวเดียวกันกับรอยเลื่อนหลัก เกิดขึ้นพร้อมกับแอ่งรอยแยกในช่วงตอนปลายของสมัยไมโอซีนตอนต้น 2. ธารน้ำที่มีลักษณะแคบและยาว มีการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำขึ้นน้ำลง (tidal depositional environment) และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta depositional environment) ในช่วงแอ่งยุบสมัยไมโอซีนตอนกลาง การวางตัวของธารน้ำทั้งสองแบบมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแอ่งสงขลาจากตอนปลายของการเกิดแอ่งรอยแยกจนถึงการเกิดแอ่งยุบตัว ในช่วงตอนปลายของแอ่งรอยแยก การวางตัวของธารน้ำมีทิศทางเดียวกับรอยเลื่อน ซึ่งควบคุมโดยการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนหลักอยู่ ในขณะที่การวางตัวของธารน้ำในช่วงแอ่งยุบถูกควบคุมด้วยรอยเลื่อนย้อนตามแนวของรอยเลื่อนหลักและการยุบตัวของแอ่งในตอนกลางของพื้นที่ ส่งผลให้ศูนย์กลางการสะสมตัวของตะกอนย้ายจากตรงกลางของกราเบนที่ติดกับรอยเลื่อนหลักไปยังตรงกลางของแอ่งสงขลา
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2018
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Geology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73131
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.258
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.258
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sci_5672886523_Thesis_2018.pdf6.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.