Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73161
Title: แนวคิดและการสร้างสรรค์การแสดงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา
Other Titles: Concept and creating process in performing arts for the opening ceremony of sport events
Authors: เอกรัตน์ รุ่งสว่าง
Advisors: สุรพล วิรุฬห์รักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การแข่งขันกีฬา
ศิลปะการแสดง
กีฬาโอลิมปิก
กีฬาโอลิมปิกในศิลปกรรม
Sports tournaments
Performing arts
Olympics
Olympics in art
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแสดงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา คือ การแสดงที่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีการซึ่งมีรูปแบบสวยงามตระการตา มีเนื้อหาสื่อถึงอัตลักษณ์ของเจ้าภาพด้วยศิลปะ วัฒนธรรม เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นสันติภาพของมนุษยชาติ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการแสดงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา และเพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างสรรค์การแสดงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ผลการวิจัยพบว่า การแสดงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬามีขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2439 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีแนวคิดและรูปแบบการแสดงแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้น เป็นระยะที่มีนำนาฏกรรมที่มีอยู่เดิมร่วมแสดงกับกีฬา ระยะพัฒนา เป็นระยะที่มีการออกแบบการแสดงเป็นสัญลักษณ์ทางกีฬาและการแสดงออกทางวัฒนธรรมและ ระยะเทคนิคและความบันเทิง เป็นระยะที่นำเสนอการแสดงที่หลากหลาย เน้นการเล่าเรื่องราวที่สำคัญต่อโลก การแสดงอัตลักษณ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูง ผ่านรูปแบบการแสดงทั้งที่เป็นแบบจารีตประเพณีและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ตามแบบนาฏกรรมแห่งยุคสมัย โดยแนวคิดดังกล่าวถือเป็นต้นแบบให้กับการแสดงในพิธีเปิดกีฬาเอเชียนเกมส์ กีฬาซีเกมส์ กีฬาแห่งชาติและกีฬาโรงเรียนของไทยอย่างชัดเจน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดการสร้างสรรค์การแสดงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา คือ นโยบาย ระบบการบริหารจัดการ วิสัยทัศน์ ศักยภาพ ประสบการณ์สุนทรียะของผู้ออกแบบ การคัดเลือกสิ่งสนับสนุนการแสดง นวัตกรรม เทคโนโลยี และสื่อ สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของกีฬาที่ปรากฏออกมาในรูปแบบของนาฏกรรม การแสดงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาได้เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทสังคมโลก อีกทั้งเป็นส่วนสำคัญในการแสดงความเป็นชาติหรือชุมชนที่สื่อถึงเกียรติภูมิ เสรีภาพ อัตลักษณ์ รวมถึงสะท้อนมิตรภาพและภราดรภาพ เพื่อจรรโลงสันติภาพของโลก
Other Abstract: Performance in the opening ceremony of sport festival is the performing arts being presented as an important part of the event for the sake of grandeur and beauty with the content depicting the identity of the organizer with arts, culture and technology aiming at the peacefulness of the human beings. The research objectives are to study the concept and form of the performing arts in the opening ceremony and to study its production creativity. Mixed research methodology is utilized. The research finds that the performing arts appeared in the opening ceremony of the modern Olympic Games since 1896 and has been developed ever since which can be divided into three stages: the beginning era is to introduce the existing performing arts in conjunction with the sport shows, the development era where performing arts is designed with sport symbols, traditional and contemporary cultural expressions, and the era where variety of performances are created to tell significant agendas, identities, innovations, and advanced technologies. The arrangement of the performing arts in the opening ceremony Olympic becomes the model for the performing arts in the opening ceremonies of ASIAN Games, SEA Games, National and Local Games in Thailand. The influencing factors of the creation are 1) policies 2) management system 3) visions, potentiality and aesthetical experiences of the designer 4) choice of the performing elements 5) innovations and technologies and 6) media reflects the characteristics of the sport that emerged in the form of dance. The performance of the opening ceremony of the sport has changed according to the global social context. It is also an important part in showing the nationality or community that represents the dignity, freedom, identity and reflection of friendship and brotherhood to sustain world peace.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73161
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.815
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.815
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fin_5986847735_Thesis_2018.pdf8.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.