Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73514
Title: Knowledge, attitude and practice of voluntary blood donation among university and college students in Yangon, Myanmar
Other Titles: ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการบริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา
Authors: Aye Chan Oo
Advisors: Pramon Viwattanakulvanid
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Advisor's Email: No information provided
Issue Date: 2018
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Background: Blood can save millions of lives in different clinical settings. According to WHO, blood transfusion services should target young voluntary blood donors as the potential source of sustainable blood supply. As a developing countries, Myanmar have challenges in providing timely and adequate blood supply to patients in need. For effective voluntary donor recruitment, understanding knowledge, attitude and practice towards blood donation among young university and college students is important. The aim of the study is to determine the practice of voluntary blood donations and its associated factors and to find out the reasons for not donating blood among the university and college students in Yangon, Myanmar. Methods: Cross Sectional Study (April to May 2019) with self-administered questionnaires including socio-demographic, knowledge, attitude and practice was conducted among the full time students who are ≥ 18 years old in Yangon Technological University (YTU) and National Management Degree College (NMDC) in Yangon, Myanmar. Non-probability Quota and convenience sampling method was used. Questionnaires were validated with Item-Objective Congruence (IOC) index and reliability tested with Cronbach’s Alpha and KR 20 prior to data collection. Results: Total 341 students (60% females and 40% males) participated in the study with mean age of 19.1 years (SD ± 1.1) and. Among them, 110 (32.3%) practiced blood donation before and all were voluntary blood donors. Minority of the participants have high knowledge level, 74 (21.7%) and high attitude level, 61 (17.9%) towards blood donation. However, most of the participants 286 (83.9%) have willingness to donate blood in the future. The predictors of being voluntary blood donor are male gender AOR (95%CI): 3.03 (1.70, 5.43) p<0.001, having blood related disorder AOR (95%CI): 0.25 (0.09, 0.71) p=0.01, high knowledge level of blood donation AOR (95%CI): 8.24 (3.06, 22.20) p<0.001 and high attitude level of blood donation AOR (95%CI): 7.01 (1.97, 24.90) p=0.003. The main reasons for not donating blood in non-donor participants include no opportunity 43.3%, fear to donate 35.1% and still underage to donate 32.9%. Discussion and conclusion: Practice of voluntary blood donor among the participants is relatively low. Minority have high knowledge and attitude towards blood donation. Male students free from blood disorders with higher knowledge and attitude levels are more likely to donate blood voluntarily. Main reasons for not donating blood were based on lack of opportunity and information. More regular blood donation campaigns and awareness raising in the university students society as well as in community is needed to increase the voluntary blood donations in the country.
Other Abstract: ความเป็นมา: ในเชิงคลินิกนั้นโลหิตสามารถช่วยเหลือชีวิตผู้คนได้จำนวนมาก โดยองค์การอนามัยโลกได้เน้นว่างานบริการเกี่ยวกับการถ่ายเลือดควรมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มคนหนุ่มสาวที่บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ (Young voluntary blood donors) เพราะว่าเป็นแหล่งสำรองโลหิตที่ยั่งยืน ทั้งนี้ประเทศเมียนมาเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่เผชิญกับความท้าทายในการมีแหล่งสำรองโลหิตที่เพียงพอและทันเวลาในการช่วยเหลือผู้ป่วยในยามที่จำเป็น สำหรับการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องเข้าใจถึงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการบริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมการบริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมนั้น และค้นหาเหตุผลในการไม่บริจาคโลหิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาภาคตัดขวาง (เมษยาน ถึง พฤษภาคม 2562) ด้วยแบบสอบถามชนิดให้ผู้ตอบกรอกข้อมูลเอง ประกอบด้วย ข้อมูลด้านคุณลักษณะประชากร ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม โดยได้สอบถามนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เรียนเต็มเวลา อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ที่มหาวิทยาลัย Yangon Technological Yangon Technological University (YTU) และที่วิทยาลัย National Management Degree College (NMDC) ในเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา โดยได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-probability) ชนิดการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota sampling) และ การสุ่มตามความสะดวก (Convenience Sampling) ทั้งนี้แบบสอบถามดังกล่าวได้ประเมินความเที่ยงตรงด้วยวิธี Item-Objective Congruence (IOC) และทดสอบความเชื่อมั่น ด้วยค่า Cronbach’s Alpha และ KR20 ก่อนเริ่มทำการเก็บข้อมูล ผลการศึกษา: นักศึกษาจำนวน 341 คน (60% เพศหญิง และ 40% เพศชาย) ได้เข้าร่วมในการศึกษา โดยมีอายุเฉลี่ย 19.1 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ± 1.1) พบว่า 110 (32.3%) คนมีการบริจาคโลหิตมาก่อนและเป็นผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ ทั้งนี้มีส่วนน้อยในผู้เข้าร่วมการศึกษาที่มีความรู้ระดับสูง 74(21.7%) และมีระดับทัศนคติที่ดี 61(17.9%) ต่อการบริจาคโลหิต อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมการศึกษาส่วนใหญ่ 286(83.9%) มีความเต็มใจในการที่จะบริจาคโลหิตในอนาคตข้างหน้า ส่วนตัวแปรทำนายที่มีผลต่อการเป็นผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ พบว่า เป็นเพศชาย AOR (95%CI): 3.03 (1.70, 5.43) p<0.001 การมีโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบโลหิต AOR (95%CI): 0.25 (0.09, 0.71) p=0.01ระดับความรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิตสูง AOR (95%CI): 8.24 (3.06, 22.20) p<0.001และทัศนคติที่ดีต่อการบริจาคโลหิต AOR (95%CI): 7.01 (1.97, 24.90) p=0.003 ส่วนเหตุผลในการไม่บริจาคโลหิตในผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ไม่เคยบริจาคโลหิตมาก่อน คือ ไม่มีโอกาสในการบริจาคโลหิต 43.3 % รู้สึกกลัวในการบริจาคโลหิต 35.1% และมองว่าอายุน้อยที่จะบริจาคโลหิต 32.9% สรุปผลการวิจัย อภิปรายและข้อเสนอแนะ: พฤติกรรมของการเป็นผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจในผู้เข้าร่วมการศึกษาค่อนข้างต่ำ รวมถึงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีความรู้และทัศนคติที่ดีในระดับสูงต่อการบริจาคโลหิต นักศึกษาชายที่ไม่มีโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเลือดที่มีความรู้และทัศนคติที่ดีในระดับสูงต่อการบริจาคโลหิตมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ ส่วนเหตุผลหลักในการไม่บริจาคโลหิตคือขาดโอกาสและข้อมูลเพียงพอในการบริจาคโลหิต ดังนั้นควรมีการรณรงค์และสร้างความตระหนักในเรื่องการบริจาคโลหิตในนักศึกษามาหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับชุมชนเพื่อเพิ่มการบริจาคโลหิตในประเทศเมียนมา
Description: Thesis (M.P.H.)--Chulalongkorn University, 2018
Degree Name: Master of Public Health
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73514
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.463
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.463
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cop_6178852053 Aye Ch.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.