Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74031
Title: คติความเชื่อเรื่องพระร่วงในงานเขียนประวัติศาสตร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2325-2468)
Other Titles: Myths of phra ruang in Thai historical writings from the reign of king rama I to the reign of king rama VI (1782-1965)
Authors: สมศรี ชัยวณิชยา
Advisors: ปิยนาถ บุนนาค
สมบัติ จันทรวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พระร่วง
ความเชื่อ
ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325-
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษางานเขียนประวัติศาสตร์ไทยเท่าที่ผ่านมาของนักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน พบว่าในแต่ละยุคแต่ละสมัยมีลักษณะการเขียน หรือ การอธิบายเพื่อแสดงความสำนึกในอดีตร่วมกัน แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาการเขียนและการอธิบายดังกล่าว ของแต่ละบุคคลและแต่ละสมัยจะพบว่าในเนื้อหาเรื่องเดียวกันของงานเขียนเหล่านี้ มีลักษณะเฉพาะที่ต่างกันไป ขึ้นกับถาวะแวดล้อมและสถานะของผู้เขียนงานนั้น ๆ ลักษณะเช่น นี้ได้ส่งผลต่อสาระของคติความเชื่อ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเขียนและอธิบายดังกล่าวด้วย ดังเช่น กรณีคติความเชื่อเรื่องพระร่วง ภาวะที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ได้ส่งผลต่อทัศนะและเนื้อหาสาระการเขียนประวัติศาสตร์ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะแนวคิดเกี่ยวกับรัฐและกษัตริย์ ที่ปรากฏในคติความเชื่อเรื่องพระร่วง ซึ่งมีการเขียนและการอธิบายอย่างสืบเนื่องในสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาวิวัฒนาการของคติความเชื่อเรื่องพระร่วงที่ปรากฏในงานเขียนประวัติศาสตร์ภายใต้บริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2325-2468) และวิเคราะห์การนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับรัฐและกษัตริย์ในคติความเชื่อเรื่องพระร่วงที่มีจุดมุ่งหมายต่อการสร้างการรับรู้แก่สมาชิกในสังคม ผลจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่าวิวัฒนาการของคติความเชื่อเรื่องพระร่วงที่ปรากฏในงานเขียนประวัติศาสตร์ไทย เริ่มตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โดยมีลักษณะการเขียนและการอธิบายแบบ “จารีต” (พงศาวดาร) แต่ภายในการเขียนและการอธิบายแบบ “จารีต” นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงบางลักษณะเกิดขึ้นโดยเฉาะมาจากอิทธิพลตะวันตก ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญาสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์บางประการชนชั้นนำได้แก่ ความเชื่อมั่นในพลังความสามารถของมนุษย์ และการปรากฏร่องรอยของแนวคิดแบบ โลกวิสัยมนุษย์นิยมเหตุผลนิยม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลให้ชนชั้นนำเห็นความสำคัญของความสามารถของมนุษย์มากขึ้นดังจะพบว่าความเปลี่ยนแปลงของคติความเชื่อพระร่วงในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ได้สะท้อนให้เห็นพลังความสามารถของกษัตริย์ในด้านการใช้สติปัญญา และความเป็นผู้นำในศูนย์กลางอำนาจรัฐ รูปแบบของการอธิบายตามแบบจารีต ที่เน้นความเหนือจริงเริ่มถูกปฏิเสธ และเปลี่ยนเป็นการอธิบายโดยใช้เหตุผลและใช้หลักฐานที่ค้นพบมาสนับสนุน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 กระแสความตื่นตัวในเรื่องรัฐชาติ และสภาพปัญหาทางการเมืองทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ของรัชกาลที่ 6 ส่งผลให้พระองค์ทรงสร้างคติความเชื่อเรื่องพระร่วง ในรูปแบบสัญญลัษณ์ของความเป็นเอกภาพของรัฐชาติ ซึ่งมีรูปธรรมอยู่ที่ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยทรงนำคติความเชื่อเรื่องพระร่วงมานิพนธ์เป็นบทละครปลุกใจ ตั้งเป็นชื่อ พระพุทธรูป และตั้งเป็นชื่อเรือรบ เป็นต้น
Other Abstract: While the subject matter of history written by various historians in the past may look the same, it is nevertheless a well known fact that different historians living in different periods actually write something quite differently. This is due in part to different settings and backgrounds of historians, which naturally have their bearings on all kinds of beliefs and myths myths found in such historical writings. A good example would be the legend of Phra Ruang, a mythical king whose story incorporates the idea of state and kingship from the down of Thai history down to the Rattanakosin period. This thesis is an attempt to study the evolution of the myth of Phra kuang as expressed in historical writings produced under different social economic and political contexts from the reign of King Rama VI. Special emphasis will be put on beliefs and ideas about state and kingship and how they are brought to the recognition of the general public. The study reveals that beginning with the reign of King Rama I the myth of Phra Ruang has been reproduced through traditional historical writing method (the chronicles). Yet, even withins the framework of the “tradition” a new trend the result of the western influence can be found. Traces of beliefs in human ability in the worldly realm humanism and rationalism have became the new trademarks of the ruling elites’ view of the world. Such a belief in human power is most evident in the myth of Phra Ruang writters during the time of King Rama IV. The story of Phra Ruang during the time of King Rama V also reflects the intellectual capacity of the king and his role as the leader of the centerlized state. the traditional mode of explanation with its emphasis on super-natural reality has been replaced by rational argument and concrete evidences. Then with the emerging wave of nationalism coupled with bouth internal and external political destabilizing factors, King Rama VI, based upon his personal experience, produces a new image of Phra Ruang as the unifying center of the nation state. Under the new slogan of nation-religion and king, the Phra Ruang image has been popularized by the plays, Its name has become that of a Buddha image and even a battle ship.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74031
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsri_ch_front_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_ch_ch1_p.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_ch_ch2_p.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_ch_ch3_p.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_ch_ch4_p.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_ch_ch5_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_ch_back_p.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.