Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74145
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิพย์ เลขะกุล-
dc.contributor.advisorดนุชา คุณพนิชกิจ-
dc.contributor.authorศศิวรรณ หริมเทพาธิป-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-25T07:02:45Z-
dc.date.available2021-06-25T07:02:45Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.issn9745673471-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74145-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractข้าวโพดผักอ่อนเป็นพืชผักที่นิยมบริโภคกันมากในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพราะมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเกษตรกรในหลายพื้นที่ให้ความสนใจและปลูกข้าวโพดผักอ่อนกันมากขึ้น เพราะนอกจากจะมีตลาดรอบรับผลผลิตอย่างมากมายแล้วยังใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเพียง 50-60 วัน เท่านั้น ซึ่งปีหนึ่งๆ จะสามารถปลูกได้ 4-5 ครั้งและการปลูกข้าวโพดผักอ่อนก็ไม่ต้องเอาใจใส่ดูแลรักษามากเหมือนพืชผักอื่นเพราะไม่ค่อยมีโรคพืชหรือแมลงรบกวน วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนจากการปลูกข้าวโพดผักอ่อนในจังหวัดสมุทรสาครและนครปฐมเนื่องจากจังหวัดสมุทรสาครและนครปฐมมีเกษตรกรปลูกข้าวโพดผักอ่อนกันเป็นจำนวนมากและปลูกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ประมาณว่าเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดผักอ่อนทั้งหมดทั่วประเทศ และด้วยเหตุที่พื้นที่บางส่วนของจังหวัดสมุทรสาครมีปัญหาเรื่องน้ำทะเลขึ้นถึงพื้นที่ปลูกทำให้เกษตรกรต้องหยุดปลูกระยะหนึ่งระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ผู้วิจัยจึงนำมาศึกษาควบคู่กับการปลูกข้าวโพดผักอ่อนในจังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกันแต่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำทะเลว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ และเนื่องจากมีการสำรวจพบว่า การคำนวณต้นทุนการปลูกข้าวโพดผักอ่อนที่เคยมีอยู่ยังขาดความสมบูรณ์และไม่เป็นไปตามหลักการทางการบัญชีต้นทุน ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีการคิดต้นทุนการปลูกตามระบบบัญชีต้นทุนและคำนวณหาผลตอบแทนที่เกษตรกรพึงจะได้รับจากการปลูกข้าวโพดผักอ่อนโดยจัดกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกต่ำกว่า 10 ไร่และกลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกสูงกว่า 10 ไร่ ผู้วิจัยได้เริ่มศึกษาตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษาจนถึงเก็บเกี่ยวเสร็จ โดยเลือกทำการศึกษาในท้องที่ตำบลบ้านเกาะ ตำบลอำแพง เขตอำเภอเมือง ตำบลสวนหลวง ตำบลกระทุ่มแบน ตำบลบางยาง ตำบลท่าเสา ตำบลหนองนกไข่ เขตอำเภอกระทุ่มแบนของจังหวัดสมุทรสาคร ตำบลขุนแก้ว ตำบลนครชัยศรี ตำบลหอมเกร็ด ตำบลท่ากระชับ ตำบลบางช้าง เขตอำเภอนครชัยศรี ตำบลคลองใหม่ เขตอำเภอสามพรานของจังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการปลูกพร้อมทั้งเสนอวิธีแก้ไขรวมทั้งศึกษาถึงตลาดที่เป็นแหล่งจำหน่ายข้าวโพดผักอ่อนทั้งภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศ ผลของการศึกษาพบว่าการปลูกข้าวโพดผักอ่อนในจังหวัดสมุทรสาครเท่ากับ 4 ครั้งต่อปีถึงแม้มีอิทธิพลของน้ำทะเล แต่จำนวนครั้งที่ปลูกก็ยังมากกว่าการปลูกในจังหวัดนครปฐมซึ่งปลูก 3 ครั้งต่อปี ทั้งนี้เพราะเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมใช้เวลาในการพักหน้าดินยาวนานกว่า สำหรับต้นทุนการปลูกข้าวโพดผักอ่อนทั้งหมดโดยเฉลี่ยต่อไร่ต่อการปลูกหนึ่งครั้งของเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกต่ำกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และของเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกสูงกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม เท่ากับ1,563.03 1,613.12 1,467.22 และ1,543.13 บาทตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้นทุนการปลูกของเกษตรกรในจังหวัดสมุทรสาครต่ำกว่าของจังหวัดนครปฐมเมื่อนำต้นทุนการปลูกมาเปรียบเทียบกับรายได้ที่เกษตรกรได้รับจากผลผลิตที่ได้ประมาณไร่ละ 800 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละประมาณ 2.75 บาทเกษตรกรจะมีรายได้รวมประมาณ2,200 บาทต่อไร เกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกต่ำกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกสูงกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จะมีกำไรสุทธิประมาณไร่ละ 636.97 586.88 732.78 และ 656.87 บาทตามลำดับ ส่วนผลตอบแทนจาการปลูกข้าวโพดผักอ่อน พบว่าในการวิเคราะห์สถานภาพทางด้านรายได้-ค่าใช้จ่ายมีอัตราค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อรายได้รวมของเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกต่ำกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และของเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกสูงกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐมเท่ากับ 0.71 0.73 0.67 และ 0.70 ตามลำดับและมีอัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวมเท่ากับ 0.29 0.27 0.33 และ 0.30 ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐกิจมีอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนการปลูกเท่ากับ 40.75 36.38 49.94 และ 42.57 ตามลำดับ และมีอัตรากำไรส่วนเกินต่อต้นทุนการปลูกเท่ากับ 49.63 49.21 61.44 และ 54.63 ตามลำดับ การวิเคราะห์ในเชิงการจัดการฟาร์มมีอัตรารายได้เหนือค่าใช้จ่ายที่แท้จริงต่อต้นทุนการปลูกเท่ากับ 76.46 69.97 81.03 และ 74.07 ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์หาราคาคุ้มทุน พบว่า ราคาคุ้มทุนต่อกิโลกรัม เท่ากับ 1.95 2.02 1.83 และ 1.93 บาทตามลำดับ ในการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรในส่วนใหญ่จะทำการขายให้พ่อค้าที่มารับซื้อถึงพื้นที่ปลูกของเกษตรกรในราคากิโลกรัมละประมาณ 2.00-3.50 บาท พ่อค้าจะนำผลผลิตที่รับซื้อส่วนหนึ่งส่งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตข้าวโพดผักอ่อนบรรจุกระป๋องและอีกส่วนหนึ่งจะทำการปอกเปลือกและส่งขายเป็นผักสดโดยบรรจุถุงพลาสติกส่งไปขายยังประเทศใกล้เคียง เช่นประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง จากสถิติการส่งออกข้าวโพดผักอ่อนของศูนย์บริการส่งออกกรมพาณิชย์สัมพันธ์ แสดงว่าสถิติการส่งออกกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีทำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละนับร้อยล้านบาท นอกจากนี้พบว่าการปลูกข้าวโพดผักอ่อนประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น ปัญหาด้านการผลิต ได้แก่ พื้นที่ปลูกมีจำกัด ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่ดี เกิดโรคราน้ำค้างระบาด เกษตรกรใช้ปุ๋ยไม่เหมาะสม เป็นต้น ส่วนปัญหาด้านการตลาดและราคาพบว่าเกษตรกรไม่มีอำนาจในการกำหนดราคาขายผลผลิตหรือต่อรองราคาได้เลยต้องขึ้นอยู่กับการกำหนดของพ่อค้าผู้รับซื้อแต่ฝ่ายเดียว ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาคือให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันส่งเสริมการปลูกข้าวโพดผักอ่อนโดยจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่ดี เผยแพร่เทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมให้ความช่วยเหลือในเรื่องสินเชื่อระยะสั้นแก่เกษตรกรและส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมตัวก่อตั้งเป็นสหกรณ์ผู้ปลูกข้าวโพดผักอ่อน เพื่อให้มีอำนาจในการต่อรองราคากับพ่อค้า ช่วยจัดหาปัจจัยการปลูกให้แก่สมาชิกในราคาถูกและร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้หมดไป-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1986.71-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectข้าวโพด -- การปลูก -- ต้นทุนen_US
dc.subjectการวิเคราะห์และประเมินโครงการen_US
dc.subjectการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนen_US
dc.subjectCorn -- Planting -- Costsen_US
dc.subjectCost effectivenessen_US
dc.subjectBreak-even analysisen_US
dc.titleการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนจากการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ศึกษาเฉพาะจังหวัดนครปฐมและสมุทรสาครen_US
dc.title.alternativeCase study on cost and return on investment of young ear corn cultibation in Nakhon Pathom and Samut Sakhon provincesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบัญชีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1986.71-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasiwan_rh_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ2.3 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch1_p.pdfบทที่ 11.17 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch2_p.pdfบทที่ 22.26 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch3_p.pdfบทที่ 34.94 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch4_p.pdfบทที่ 44.85 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch5_p.pdfบทที่ 53.1 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch6_p.pdfบทที่ 61.89 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch7_p.pdfบทที่ 71.64 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.