Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74194
Title: ฮิวริสติกสำหรับการเลือกสูตรและการจัดตารางการผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีการผลิตแบบซ้อนทับ
Other Titles: Heuristics for formula selection and scheduling of double layer precast concrete production
Authors: นันทิยา เอี่ยมสำอางค์
Advisors: วิภาวี ธรรมาภรณ์พิลาศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wipawee.T@Chula.ac.th
Subjects: ฮิวริสติกอัลกอริทึม
คอนกรีต -- การผลิต
คอนกรีตหล่อสำเร็จรูป
Heuristic algorithms
Concrete -- Production
Precast concrete
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ ศึกษาปัญหาการเลือกสูตรและการจัดตารางการผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปที่สามารถผลิตงานซ้อนทับกันได้ วัตถุประสงค์คือเพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดโดยจะต้องผลิตให้ทันกำหนดส่งงาน โดยมีสูตรการผลิตให้เลือก 5 สูตร สูตรการผลิตที่แพงจะใช้เวลาในการผลิตสั้น ส่วนสูตรการผลิตที่ถูกจะใช้เวลาในการผลิตนาน โดยแต่ละขั้นตอนการผลิตนั้น ต้องใช้ทรัพยากรเฉพาะในการผลิตซึ่งมีเพียง 1 หน่วยเท่านั้น จึงไม่สามารถผลิตขั้นตอนการผลิตเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันได้ จากงานวิจัยก่อนหน้าซึ่งเสนอวิธีการแบ่งปัญหาย่อยออกเป็น 2 ส่วนเพื่อหาคำตอบงานวิจัยนี้จึงเสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งพิจารณาปัญหาทั้งหมดเป็นปัญหาเดียวกันเพื่อปรับปรุงคำตอบ ซึ่งแบบจำลองทางคณิตศาสตร์รวมนี้สามารถหาคำตอบได้ยอ่างมีประสิทธิภาพในปัญหาขนาดเล็กเท่านั้น เมื่อปัญหามีขนาดใหญ่ขึ้น แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จะใช้เวลาในการหาคำตอบค่อนข้างนาน ทำให้ไม่สามารถหาคำตอบที่ดีที่สุดออกมาได้และอาจได้คำตอบที่แย่กว่าการแบ่งปัญหาย่อย จึงเสนอวิธีฮิวริสติกซึ่งพิจารณาทั้งงานชั้นล่างและงานซ้อนทับพร้อม ๆ กัน วิธีฮิวริสติกนี้สามารถหาคำตอบได้ดีกว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ 24 ปัญหา จาก 29 ปัญหา โดยได้คำตอบที่ดีกว่าไม่เกิน 43% และได้คำตอบที่แย่กว่าไม่เกิน 16% วิธีนี้ใช้เวลาน้อยกว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างมาก โดยสามารถลดเวลาจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยเฉลี่ย 86.45%
Other Abstract: This research studies the formula selection and scheduling of double layer precast concrete production. The aim is to minimize the total cost by scheduling all jobs by the due date. Five different formulas are considered; the more expensive formula requires the shorter processing time. Each process needs a specific resource that must be shared among molds. As the previous research, separating this problem into 2 subproblems was proposed, so an overall model, which is a mathematical model considering the whole problem, is proposed to improve the solutions. This method is effective for small problems. When the problems get bigger, the computational times are much higher, so an overall model cannot find the better solutions than the previous research solutions. Heuristic considered both based jobs and top-layer jobs is proposed for solving this problem. This heuristic can find better or as good as solutions in 24 problems from 29 problems within 43% difference. For the rest 5 problems, the proposed heuristic gives worse solutions within 16% difference. Heuristics spent much less computational time. An average decreasing time of heuristic is 86.45%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74194
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1316
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1316
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
En_5870347421_Nuntiya Ia.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.