Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74211
Title: ผลกระทบของความสูงเก้าอี้ต่อท่าทางและพื้นที่ขั้นต่ำในการลุกขึ้นยืนของผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุ
Other Titles: An effect of chair height to posture and minimum space requirement for standing up of older adults and elderly persons
Authors: พงศธร พรมสกล
Advisors: ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Phairoat.L@Chula.ac.th,Phairoat.L@Chula.ac.th
Subjects: เก้าอี้
ผู้สูงอายุ
ท่ายืน
Chairs
Older people
Standing position
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การลุกขึ้นจากเก้าอี้เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงการรักษาความเป็นเป็นอิสระของการใช้ชีวิตสำหรับวัยผู้สูงอายุ มักถูกพบว่าวัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาการลุกขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุการหกล้มขณะลุกจากเก้าอี้ ปัญหาการลุกจากเก้าอี้ของวัยผู้สูงอายุอาจเกิดจากการออกแบบความสูงเก้าอี้และพื้นที่ขั้นต่ำที่ไม่เหมาะสมกับการสำหรับการลุกขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลุกขึ้นยืนและหาพื้นที่ขั้นต่ำสำหรับการลุกขึ้นยืนอย่างเหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของการลุกขึ้นจากเก้าอี้ระหว่างผู้สูงอายุและวัยรุ่น เพื่อหาอิทธิพลความสูงเก้าอี้ต่อท่าทางและพื้นที่ขั้นต่ำการลุกขึ้นจากเก้าอี้ของผู้สูงอายุ ผู้เข้าร่วมการทดลอง 120 คนแบ่งเป็นวัยผู้สูงอายุ 90 คน (อายุเฉลี่ย 66.42 ปี, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.56 ปี) และวัยรุ่น 30 คน (อายุเฉลี่ย 21.07 ปี, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.83 ปี) ระบบวิเคราะห์การเคลื่อนไหวถูกใช้เพื่อเก็บข้อมูลการลุกขึ้นยืนของทั้งสองกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลอง ซึ่งการวิจัยได้กำหนดระดับความสูงเก้าอี้ 3 ความสูง ประกอบด้วย 90%, 100%, และ 110% ของระดับความสูงข้อพับแนวเข่าด้านใน ผลการเปรียบเทียบการลุกขึ้นยืนของทั้งสองกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลอง พบว่าความเร็วเชิงมุมเฉลี่ยของลำตัวและสะโพกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 3 ระดับความสูงเก้าอี้ ซึ่งอาจเกิดจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ลดลง ดังนั้นจึงหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลุกขึ้นจากเก้าอี้ของผู้สูงอายุ ซึ่งพบว่าปัจจัยร่วมระหว่างเพศและกลุ่มช่วงอายุส่งผลต่อมุมงอลำตัวสูงสุดและความเร็วเชิงมุมเฉลี่ยสะโพกอย่างมีนัยสำคัญ และความสูงของเก้าอี้ส่งผลต่อมุมงอลำตัวสูงสุดและเวลาที่ใช้ลุกขึ้นยืนมีความแตกต่างอย่างมีนัย มากกว่าไปนั้นการลุกขึ้นยืนของผู้สูงอายุสามารถแบ่งออกได้ 2 ท่าทางโดยแบ่งจากความเร็วเชิงมุมของลำตัวและสะโพก คือ ท่า momentum transfer และท่า Stabilization พบว่าเมื่อเพิ่มความสูงเก้าอี้ขึ้นผู้สูงอายุมีแนวโน้มใช้ท่า stabilization เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นท่าที่ใช้ความเร็วต่ำและเสี่ยงต่อการหกล้มน้อยกว่า นอกจากนี้การหาพื้นที่การลุกขึ้นยืนของผู้สูงอายุซึ่งถูกแบ่งออกเป็นความยาวและความกว้างของการเคลื่อนที่ลำตัว โดยวัดจากระยะที่เคลื่อนที่ไกลสุดของร่างกายจากด้านหลังไปด้านหน้าและการเคลื่อนที่ไกลสุดจากด้านซ้ายไปด้านขวาตามลำดับ พบว่าระยะที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุทางด้านหน้าและด้านข้างไม่ควรต่ำกว่า 0.89 และ 0.77 เมตรตามลำดับ ท้ายที่สุดแล้วการออกแบบเก้าอี้ควรใช้ความสูงมากว่าระดับ 100% ข้อพับแนวเข่าด้านในแต่ไม่เกิน 110% เพราะส้นเท้าเริ่มจะไม่สัมผัสพื้น นอกจากระดับความสูงเก้าอี้หรือที่นั่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบคือพื้นที่ขั้นต่ำของการลุกขึ้นยืนของผู้สูงอายุ
Other Abstract: The falling accident in the toilet room is often found in the elderly, which is a cause by falls while standing up. Therefore, this research aimed to study the factors that affect a standing up and finding proper standing up space of an elderly person. The 120 participants of this research consist of 90 elderly (average age 66.42 years, SD 4.56 years), and 30 teenagers (average age 21.07 years, SD 0.83 years). A motion capture analysis system has used to indicate the standing up movement. Research has determined the height of the chair, consisting of 90%, 100% and 110% of Popliteal height. The comparison of standing up movement between the teenager and elder showed that trunk and hip angle velocities had significant differences between the group of the participant from all of the height of chairs, thus, finding factors that affect the standing up of the chair of the elderly were important. It was found that a maximum trunk flexion angle and time to standing up had significant differences between the height of the chair groups. More than that, the standing up of the elderly can be specified into two gestures were the momentum transfer and stabilization movements. Found that the stabilization movements, which is a lower velocity posture and less risk of falls, when increasing the chair height. Besides, the standing up space suitable for the elderly in the length and width should not be lower than 0.89 and 0.77 meters respectively. Finally, a chair design should use a height, which is 100% of the popliteal height, but don't more than 110% because the heel starts don't touch a floor and should be considered in the design is the space to stand up of the elderly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74211
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1321
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1321
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
En_5970252521_Pongsatorn Po.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.