Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7505
Title: ผลกระทบจากสงครามยาเสพติด : ศึกษากรณีครอบครัวผู้ตกเป็นเหยื่อในเหตุการณ์ระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน 2546
Other Titles: The impacts of war drugs : a case study of victims' families during 1 February - 30 April 2003
Authors: คเชนทร์ เรือนทอง
Advisors: สุริชัย หวันแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Surichai.W@Chula.ac.th
Subjects: การฆ่าคน
ยาเสพติด -- นโยบายของรัฐ
คนติดยาเสพติด
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ ประการที่หนึ่ง ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อครอบครัวจากการสูญเสียบุคคลในครอบครัวอันเนื่องมาจากถูกฆ่าตัดตอนในสงครามยาเสพติด ประการที่สองวิเคราะห์ผลกระทบต่อทุนเดิมทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์มุ้งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยและประการที่สาม วิเคราะห์ผลสืบเนื่องต่อสังคมในเรื่องทุนทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงการทำสงครามยาเสพติด การใช้วิธีวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในจังหวัดเพชรบูรณ์ที่สมาชิกในครอบครัวถูกฆ่าตัดตอนจากสงครามยาเสพติด จำนวน 10 ครอบครัว เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตายเป็นหัวหน้าครอบครัวซึ่งมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและเป็นตัวแทนของครอบครัวมีบทบาทในกิจกรรมของชุมชน จึงเกิดผลกระทบต่อครอบครัวของผู้ที่ถูกฆ่าตัดตอน ทางด้านกายภาพและวัตถุ โดยการขาดแคลนปัจจัย 4 และลูกๆ สูญเสียโอกาสทางการศึกษารวมทั้งเกิดผลกระทบทางสังคมโดยที่ความสัมพันธ์กับชุมชนเปลี่ยนแปลงไป (2) สงครามยาเสพติดส่งผลกระทบต่อทุนเดิมทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ทำให้ความสัมพันธ์กับสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป หวาดกลัวหวาดระแวง หมดความเชื่อมั่นต่อนโยบายรัฐ ลดคุณค่าของตนเองและหมดความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ นอกจากนั้นยังได้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมในฐานะที่เป็นทุนทางสังคม เนื่องจากปัญหาด้านวิธีการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เช่น การจัดทำบัญชีดำ การฆ่าตัดตอน การวิสามัญฆาตกรรม และจากการใช้วาทกรรมความรุนแรง และ (3) ทุนทางสังคมเกิดขึ้นท่ามกลางแก้ปัญหาจากผลกระทบ ซึ่งพบจากการช่วยเหลือกัน การเห็นอกเห็นใจกัน การไม่ซ้ำเติมกัน และที่สำคัญพบว่ามีทุนทางสังคมที่เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสังคม โดยการกระตุ้นจากกระบวนการประชาสังคมโดยมีการสื่อสารเป็นปัจจัยหนุน และเป็นเงื่อนไขสำคัญไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันของสังคม
Other Abstract: This study aims at, firstly, to impacts of "war on drugs" on the families of the death victims, secondly, to study the impacts on social capital of the Hmong minorities as a part of Thai society, and thirdly, to analyze the consequences related on social capital processes and the role of civil society. The method employed is purposive sampling using 10 the affected Hmong families in Petchabun province as case study. The findings are as follows: Firstly, since the dead are household-heads who also represented the families in community affairs, the impacts are great in terms of physical material or basic needs, children's educational opportunities, including the family-community relations are all affected. Secondly, the impacts on the social capital that has been bridging between the minority group and the larger society in terms of fear, loss of faith in institutions, loss of senses of worthiness as common citizens. Furthermore, the impact on judicial processes and institutions in critical due to the extra- judicial practices such as 'black list', summary killings and official discourse of violence. Thirdly, in the midst of all these, there are civic engagement actions by civil society and some official organizations helping to create spaces and dynamics of social capital in terms of recovering trust, sympathies, and institutional improvement practices.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7505
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.409
ISBN: 9741418361
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.409
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kachane.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.