Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75076
Title: พันธุศาสตร์เปรียบเทียบของชะนีในประเทศไทย
Other Titles: Comparative genetics of gibbons in Thailand
Authors: สุดารัตน์ บ่ายเจริญ
Advisors: ต่อศักดิ์ สิลานันท์
เรืองวิทย์ บรรจงรัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ชะนี -- ไทย
พันธุศาสตร์
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชะนีเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Hylobates ในประเทศไทยพบ 3 สลยอยชนิดเนื่องจากข้อมูลพันธุกรรมชะนีในประเทศไทยโดยเฉพาะในระดับโครโมโซมและระดับดีเอ็นเอมีอยู่น้อย จึงได้ศึกษาเปรียบเทียบความผันแปรทั้งในระดับเบสของดีเอ็นเอในชะนีทั้ง 5 ชนิด จากคาริโอไทป์ที่ได้จากวิธีการย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดาและแบนแถบสีจีพบว่าชะนีในสกุล Hylobates Nomascus และ Symphalangus มีจำนวนโครโมโซม 2n = 44 52 และ 50 ตามลำดับชะนีทั้ง 3 ชนิดในสกุลย่อย Hylobates มีรูปร่างโครโมโซมเหมือนกันคือโครโมโซมร่างกายเป็นชนิดเมตาเซนตริกซับเมตาเซนตริก และอโครเชนคริกเท่ากัน 24 16 และ 2 แท่งตามลำดับ และมีแชทเทิลไลท์โครโมโซม 1 คู่ส่วนโครโมโซม X เป็นชนิดขับเมตาเซนตริกและโครโมโซม Y คาดว่าน่าจะมีรูปร่างเป็นเทโลเซนตริ ชะนีในสกุลย่อย Nomascus มีโครโมโซมร่างกายเป็นชนิดเมตาเซนตริก ซับเมตาเซนตริกและโครเซนตริกเท่ากับ 34 10 และ 6 แท่งตามลำดับ โดยโครโมโซม X เป็นชนิดซับเมตาเซนตริกและโครโมโซม Y เป็นชนิดอโครเซนตริก ส่วนชะนีในสกุลย่อย Symphalangus มีโครโมโซมชนิดเมตาเซนตริก ซับเมตาเซนตริกและเทโลเชนตริกจำนวน 44 4 และ 2 แท่งตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการโดยใช้ลำดับเบสบริเวณ D – loop ของยีน Phe-tRNA ในไมโตรคอนเดรียพบว่าสายวิวัฒนาการสกุลย่อย Nomascus เป็นสายวิวัฒนาการสายแรกที่แยกออกมาจากชะนีอื่น ๆ ต่อมาจึงมีการแยกกันของสายวิวัฒนาการสกุลย่อย Hylobates ออกจากสายวิวัฒนาการร่วมระหว่างสกุลย่อย Symphalangus และสกุลย่อย Bunopithecus จากความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่าชะนีสุกุลต่าง ๆ ได้วิวัฒนาการแยกจากกันมาค่อนข้างนานและสมาชิกในสกุลย่อย Hylobates เพิ่งจะแยกเป็นชนิดต่าง ๆ เมื่อไม่นานมานี้เอง ผลจากโครโมโซมและการวิเคราะห์ลำดับเบส Phe-tRNA มีความแตกต่างกันในแง่เกี่ยวกับความใกล้ชิดระหว่างชะนีสกุลย่อยต่าง ๆ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้เสนอแนะว่าผลการวิเคราะห์สายวิวัฒนาการจากลำดับเบสมีความน่าเชื่อถือกว่าข้อมูลโครโมโซม
Other Abstract: Gibbons are the mammals belonging to the genus Hylobates. In Thailand, 5 species in 3 subgenera of gibbon s have been recorded . Thus far, the information on genetic data at chromosomal and D N A levels of Thai gibbons are scarce and available data are not applicable to Thai gibbons. Therefore, this research aims to investigate genetic variation among Thai gibbons species at chromosome and D N A levels. Karyotypes derived from chromosomes stained by conventional and G -banding methods show ed that the chromosome numbers of gibbons in subgenera Hylobates, Nom ascus, Symphalangus w ere (2n) = 44, 52 and 50, respectively. In the subgenus Hylobates, no variation in chromosome number and shape was detected among 3 species and the karyotype was consisted of 24 metacentric, 16 submetacentric and 2 acrocentric, including a pair of satellite chromosomes; X -chromosome was submetacentric and Y-chromosome was possibly telocentric. The karyotype of the subgenus Nomascus was consisted of 34 metacentric, 10 submetacentric and 6 acrocentric while X -chromosome was submetacentric and Y -chromosome was acrocentric. The karyotype of the subgenus Symphalangus was composed with 44 metacentric, 4 submetacentric and 2 telocentric but sex chromosomes could not be identified. Phylogenetic analyses of the control region D -loop of mitochondrial Phe-tRN A indicate d that the subgenus Nom ascus lineage was the first to separate from the other subgenera , and follow ed by the separation of the subgenus Hylobates lineage from the lineage of the subgenus Symphalangus and the subgenus Bunopithecus. This relationship showed that the subgenera of gibbons had dliversified long time ago while species within the genus Hylobates had recently diversified. The results of chromosomal and Phe-tRNA sequence analyses w ere different in the term of relationships among subgenera. H ow ever, the results from this research suggested the relationships based on DNA sequence analyses seem ed to be more reliable than that of the chromosomal analyses.
Description: วิทยานิพนธ์(วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พันธุศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75076
ISBN: 9741418698
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudarath_ba_front_p.pdf947.94 kBAdobe PDFView/Open
Sudarath_ba_ch1_p.pdf698.6 kBAdobe PDFView/Open
Sudarath_ba_ch2_p.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Sudarath_ba_ch3_p.pdf958.42 kBAdobe PDFView/Open
Sudarath_ba_ch4_p.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open
Sudarath_ba_ch5_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Sudarath_ba_ch6_p.pdf702.32 kBAdobe PDFView/Open
Sudarath_ba_back_p.pdf806.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.