Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75427
Title: การคัดกรองฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปสของพืชสกุลหวาย
Other Titles: Screening for lipase inhibitory activity of Dendrobium plants
Authors: เกวลี เชื่อมสามัคคี
พรพิลาส เอกพันธุ์
Advisors: บุญชู ศรีตุลารักษ์
Other author: คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: boonchoo.sr@chula.ac.th
Subjects: หวาย (กล้วยไม้)
Dendrobium
ไลเปส
Lipase
Issue Date: 2557
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไขมันเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่การได้รับไขมันในปริมาณที่มากเกินจำเป็นก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะโรคอ้วน มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมา เช่น เบาหวานความคันโลหิตสูงและโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ร่างกายนำไขมันที่ได้รับเข้าไปจากภายนอกไปใช้ได้โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ pancreatic lipase ในการย่อยให้ไขมันอยู่ในรูปกรดไขมันอิสระที่สามารถดูดซึมได้ ดังนั้นหากสามารถหาสารที่ไปรบกวนการทำงานของเอนไซม์นี้ได้ก็จะทำให้การดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกายลดลงจากการศึกษาของ Min Hye Yang และคณะพบว่าโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นbibenzyIsของสารที่แยกได้จากฮ่วยซัว (Dioscoreaopposita) เป็นส่วนสำคัญในการยับยั้งเอนไซม์ไลเปส ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า สารกลุ่มbibenzyls เป็นองค์ประกอบสำคัญที่พบจำนวนมากในพืชสกุลหวาย (Dendrobiumspp.) จึงมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะพบพืชในสกุลนี้ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปลพืชสกุลหวายมีการใช้ประโยชน์ในดำรับยาจีนที่มีข้อบ่งใช้สำหรับปรับสมดุลของเหลวในร่างกายนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ของพืชสกุลหวายในการต้านอนุมูลอิสระต้านมะเร็งและต้านการรวมตัวของเกล็ดเลือดโดยที่ยังไม่มีการศึกษาฤทธิ์ลดระคับของไขมันในเลือด ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำมีความสนใจที่จะทำการคัดกรองฤทธิ์ยับยั้เอนไซม์ไลเปสจากกล้วยไม้ในสกุลหวายและสกัดแยกสารออกฤทธิ์จากพืชตัวอย่างที่มีฤทธิ์ดีที่สุด การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการคัดกรองฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปสจากกล้วยไม้สกุลหวาย 19 ชนิด โดยทดสอบสารสกัดหยาบที่ความเข้มข้นสุดท้าย 1 mg/ml ใช้orlistatเป็นกลุ่มควบคุมที่ให้ผลบวก, 1% DMSO เป็นกลุ่มควบคุมที่ให้ผลลบ และใช้ p-nitrophenyllaurateเป็นสารตั้งต้นของปฎิกิริยา ซึ่งพบว่า เอื้องคำฝ่อย (Dendrobiumbrymerianum) มีเปอร์เซ็นต์การยั้บยั้งเอนไซม์ไลเปสสูงที่สุดเท่ากับ 74.59% จึงนำมาแยกหาสารออกฤทธิ์ต่อ ได้สารบริสุทธิ์ออกมาหนึ่งตัวคือ ferulic acid อย่างไรก็ตามเมื่อนำมาทดสอบพบว่า ferulic acid ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปส
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาการค้นพบและพัฒนายา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75427
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_3.5_2557.pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม(3.5-2557)2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.