Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75664
Title: | ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกสลับช่วงประกอบน้ำหนักต่อองค์ประกอบของร่างกายและการทำงานของหลอดเลือดในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง |
Other Titles: | Effects of aerobic interval training with weight on body composition and vascular function in morbid obesity persons |
Authors: | ธันยากานต์ วรเศรษฐวัฒน์ |
Advisors: | ดรุณวรรณ สุขสม ฮิโรฟุมิ ทานากะ สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Subjects: | การออกกำลังกาย -- แง่สรีรวิทยา แอโรบิก (กายบริหาร) โรคอ้วน Exercise -- Physiological aspects Aerobic exercises Obesity |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลฉับพลันและผลของการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยา การใช้พลังงาน การทำงานของหลอดเลือด และสมรรถภาพทางกายในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง สำหรับการศึกษาผลฉับพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและหญิง มีอายุตั้งแต่ 18-50 ปี แบ่งเป็น ผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กิโลกรัม/เมตร2 จำนวน 12 คน และผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 37.5 กิโลกรัม/เมตร จำนวน 12 คน ก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง และแบบสลับช่วง ทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา การทำงานของหลอดเลือด การใช้พลังงาน และคะแนนความสนุกสนาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (2x3) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยวิธี LSD ที่ระดับ .05 จากนั้นนำผลที่ได้จากการศึกษาที่ 1 มาใช้ในการศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายในการศึกษาที่ 2 สำหรับการศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและหญิง อายุ 18-50 ปี จำนวน 26 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กิโลกรัม/เมตร2 จำนวน 14 คน และ กลุ่มผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 37.5 กิโลกรัม/เมตร จำนวน 12 คน ทำการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงโดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วง 1-6 สัปดาห์ ออกกำลังกายระดับความหนักสูงที่ 75-85 % อัตราการเต้นหัวใจสำรอง (HRR) เป็นเวลา 1 นาที สลับกับช่วงออกกำลังกายระดับเบาที่ 45-55 % HRR เป็นเวลา 4 นาที จำนวน 6 รอบ ระยะที่ 2 ช่วง 7-12 สัปดาห์ ออกกำลังกายที่ความหนักเท่าเดิมแต่เพิ่มรอบการออกกำลังกายเป็น 8 รอบ 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และในการฝึกออกกำลังกายแต่ละครั้งมีการอบอุ่นร่างกาย 10 นาที และคลายอุ่น 15 นาที ทดสอบตัวแปรด้านองค์ประกอบของร่างกาย การทำงานของหลอดเลือด สมรรถภาพทางกาย สารชีวเคมีในโลหิต และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังฝึก 12 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (2x2) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยวิธี LSD ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย มีดังนี้ การศึกษาผลฉับพลันของการออกกำลังกาย พบว่า ผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรงมีการใช้พลังงานในระหว่างการออกกำลังกายแบบต่อเนื่องและการออกกำลังกายแบบสลับช่วงสูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ความสนุกสนานของกิจกรรมการออกกำลังกายแบบสลับช่วงสูงกว่าการออกกำลังกายแบบต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการขยายตัวของหลอดเลือดหลังการปิดกั้นการไหลเวียนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทั้งในกลุ่มผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรงและกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักปกติ การศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วง พบว่า ผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรงมีมวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก และมีเปอร์เซ็นต์การขยายตัวของหลอดเลือดเมื่อถูกปิดกั้นการไหลเวียนเพิ่มสูงขึ้นและมีความหนาของผนังหลอดเลือดลดลง ผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรงมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ โดยมีความอดทนของกล้ามเนื้อ (การลุกนั่ง 60 วินาที) และความอ่อนตัวสูงขึ้น สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดมีค่าสูงขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักปกติ อัตราการเผาผลาญพลังงานขณะพักและการเผาผลาญไขมันเพิ่มมากขึ้นในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง โลวเดนซิตี้ไลโปโปรตีนลดลงในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง เลปตินลดลง อะดิโพเนคตินและไฮเดนซิตี้ไลโปโปรตีนเพิ่มสูงขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักปกติ คุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรงมีคะแนนน้อยกว่ากลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สรุปได้ว่า การออกกำลังกายแบบสลับช่วงสามารถนำไปใช้ในการออกกำลังกายในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรงได้โดยสามารถพัฒนาองค์ประกอบของร่างกาย การทำงานของหลอดเลือด และความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อ โดยไม่เป็นอันตราย ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและมีความสนุกสนาน |
Other Abstract: | The purpose of this study was to compare the acute and chronic effects of interval training on physiological responses, energy expenditure, vascular function, and physical fitness in participants with morbid obesity. In the acute exercise study, 12 lean (BMI 18.5-22.9 kg/m2) and 12 obese (BMI ≥37.5 kg/m2) males and females, aged 18-50 years, performed an acute bout of continuous training and interval training. The physiological variables, vascular function, energy expenditure and enjoyment score were measured before and after the acute exercise. A 2x3 ANOVA with repeated measures was applied to analyze the data followed by LSD’s multiple comparisons. The results from study 1 were used to set exercise intensity in the chronic exercise study. In the chronic exercise study, twenty-six males and females were divided into 2 groups based on their BMI: lean group, BMI 18.5-22.9 kg/m2 (n=26) and obese group with BMI ≥37.5 kg/m2 (n=12). Both groups performed high-intensity interval training 5 times per week for 12 weeks. In the first 1-6 weeks, the training comprised of six sets alternating between high intensity (1 minute at 75-85% HRR) and low intensity (4 minutes at 45-55% HRR). In the 7-12 week, participants performed exercise at intensity-level as session 1 but add 2 more sets (8 sets). Every training started with 10-minute warm-up, and ended with 15-minute cool-down. Body composition, vascular function, physical fitness, blood biochemical data, and quality of life were measured before and after the 12-week trainings. A 2x3 ANOVA with repeated measurement was applied to analyze the data followed by LSD’s multiple comparisons. The results of the study were as follows: In the acute exercise study, obese participants had higher energy expenditure than lean participants during both continuous training and interval training (p<0.05). The enjoyment score was significantly higher in high intensity interval training than in continuous training (p<0.05), and flow-mediate dilation was increased in both groups (p<0.05). In the chronic exercise study, the obese group increased muscle mass and bone mass density after the training (p<0.05). Flow-mediated dilation, an index of endothelium dependent vasodilation was increased, but intima-media thickness decreased in the obese group (all p<0.05). The obese group had higher muscle strength than the lean group. Muscle endurance (1 minute sit to stand test) and flexibility, maximal oxygen uptake were all increased in the lean group (all p<0.05). Resting metabolic rate and fat oxidation were reduced in the obese group (all p<0.05). Low density lipoprotein cholesterol decreased in the obese group (p<0.05). Plasma concentration of Leptin decreased but adiponectin and high-density lipoprotein cholesterol were increased in the lean group (all p<0.05). Quality of life scores in obese participants were significantly lower than lean participants (p<0.05) In conclusion, interval training can be a feasible and effective exercise for enhancing body composition vascular function and muscle strength and endurance in morbidly obese adults. The interval training is safe, noninducing injury and enjoyable training. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75664 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1001 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1001 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6078603039.pdf | 17.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.