Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75681
Title: ผลของการฝึกรำไทยแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพปอดและสุขสมรรถนะในสตรีวัยหมดประจำเดือน
Other Titles: Effects of aerobic Thai dance training on pulmonary function and health - related physical fitness in menopausal women
Authors: สญชัย พลเสน
Advisors: วรรณพร ทองตะโก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Subjects: รำไทย
การเต้นแอโรบิก
สมรรถภาพทางกายสำหรับสตรีวัยกลางคน
การออกกำลังกายสำหรับสตรีวัยกลางคน
Aerobic dancing
Physical fitness for middle-aged women
Exercise for middle-aged women
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกรำไทยแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพปอดและสุขสมรรถนะในสตรีวัยหมดประจำเดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีวัยหมดประจำเดือน อายุ 45-59 ปี จำนวน 24 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ไม่ได้รับการฝึกใด ๆ กลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกรำไทยแอโรบิก ครั้งละ 60 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และตัวแปรด้านสุขสมรรถนะ จากนั้นนำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง โดยการทดสอบค่าทีแบรายคู่ (Paired-t test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent-T test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มฝึกรำไทยแอโรบิกมีการลดลงของอัตราการหายใจ แตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนตัวแปรสมรรถภาพปอดมีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FVC) ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FEV1) ค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที (MVV) ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด (MIP) และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด (MEP) เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับตัวแปรด้านสุขสมรรถนะ พบว่ากลุ่มฝึกรำไทยแอโรบิกมีค่าแรงบีบมือ ความทนทานของกล้ามเนื้อแขน ความทนทานของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และความอ่อนตัว เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเพิ่มขึ้นของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง ความทนทานของกล้ามเนื้อขา และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกรำไทยแอโรบิกเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และสุขสมรรถนะในสตรีวัยหมดประจำเดือนได้ 
Other Abstract: The purpose of this study was to determine the effects of aerobic Thai dance training on pulmonary function and health – related physical fitness in menopausal women Twenty-four menopausal women aged 45-59 years were randomized into 2 groups: control group (CON; n=10) and training group (TG; n=12). Participants in CON group had normal daily living and were not receive training program. Those in TG group recieved complete three times a week of aerobic Thai dance program for ten weeks (60 minutes/time). The physiological data, pulmonary function, respiratory muscle strength, and health – related physical fitness variables were analyzed during the pre- and post-tests. The dependent variables between pre-test and post-tests were analyzed using paired t-test. An independent t-test was used to compare the variables between groups. Differences were considered to be significant at p < .05. The results indicated that after ten weeks, in the TG group increased respiratory rate compared to pre-test (p < .05). The TG group had significantly higher FVC, FEV1, MVV MIP, and MEP than pre-test and The CON group. (p < .05). In addition, the TG group increased significantly in health – related physical fitness variable such as hand grip, arms endurance, abdominal endurance, and flexibility compared to pre-test (p<.05). Moreover, the TG group increased significantly in legs strength, back strength, legs endurance, and VO2peak when compared with pre-test and the CON group (p < 0.05). In conclusion, the present finding demonstrated that aerobic Thai dance training improved pulmonary function, respiratory muscle strength, and health – related physical fitness in menopausal women.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75681
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1013
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1013
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270028339.pdf8.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.